บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
6.4K
2 นาที
1 กันยายน 2554
ยุทธวิธี 'อาชีพเกษตร'

“อาชีพเกษตรกรอย่างพวกเรา จำเป็นต้องพยายามศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เพื่อนำมาพัฒนาการเพาะปลูก วิธีไหนดีก็นำมาใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญสำหรับเกษตรกร จะต้องปรับวิธีคิดและการใช้ชีวิตกันใหม่ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น” …เป็นเสียงของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายหนึ่งที่ จ.ลพบุรี อีกหนึ่งผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งจะทำอย่างไรให้ชีวิตดีขึ้น ลองดูกรณีศึกษารายนี้…
   
ประคอง นาคภู่ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ต.ดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี เกษตรกรคนเก่ง ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เล่าว่า ทำไร่อ้อยมากว่า 10 ปี เริ่มจากทำแค่ 10 ไร่ จนปัจจุบันขยายพื้นที่ทำถึง 65 ไร่ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทน

แต่ขณะเดียวกันการปลูกอ้อยนั้นถ้าขาดทุนก็ขาดทุนเยอะ ถ้าฝนแล้งก็แย่ น้ำฝนเยอะ-มาเร็วก็ท่วมไร่ ขาดทุนเสียหายทั้งหมด ซึ่งอ้อยนั้นจะเริ่มปลูกกันในช่วงหน้าฝน การปลูกอ้อยจึงมีความเสี่ยงต่อสภาพอากาศมาก
   
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้ศึกษาวิธีการปลูกโดยใช้วิธีการปลูกแบบน้ำหยด ทำให้เริ่มปลูกกันตั้งแต่หน้าแล้งได้แล้ว และการปลูกอ้อยแบบน้ำหยดยังลดต้นทุนได้เยอะ ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียหายได้ ผลผลิตก็ได้เยอะกว่าการปลูกแบบเดิม ๆ ปลูกแบบเดิมจะได้ผลผลิตประมาณ  5-15 ตันต่อไร่ แต่ปลูกแบบน้ำหยดจะได้ราว  20-25 ตันต่อไร่
   
การปลูกแบบระบบน้ำหยดนั้นลงทุนประมาณ 9,000 บาทต่อไร่ รายได้อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อไร่ อ้อยจะเริ่มตัดขายได้ประมาณช่วงเดือน พ.ย. ไปถึงประมาณเดือน เม.ย. เป็นช่วงที่จะมีรายได้เข้ามาใช้จ่ายภายในครัวเรือน
   
“มีความจำเป็นอย่างมากที่เกษตรกรอย่างพวกเรา ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาพัฒนาการปลูกพืชผลให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น ลดต้นทุนการผลิตลง แต่ถึงจะมีรายได้ที่สูงขึ้น เกษตรกรก็จะมีรายได้ปีละครั้งเป็นส่วนใหญ่ ถึงจะเป็นเงินก้อนใหญ่ แต่ช่วงที่ไม่มีรายได้เราก็ต้องใช้จ่าย บางครั้งไม่พอจ่ายก็ต้องเป็นหนี้ ไปกู้มาลงทุนในการทำการเพาะปลูกครั้งต่อไปอีก เพราะฉะนั้นพวกเราเกษตรกรจะต้องมาปรับแนวคิด และวิธีการใช้ชีวิตกันใหม่” ประคองกล่าว
   
พร้อมทั้งบอกอีกว่า เกษตรกรมักเป็นอย่างที่บอก หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็จะใช้เงินที่ได้มาจนหมดไป ทำให้ไม่มีเงินเก็บ แถมยังต้องเป็นหนี้เป็นสินอีกต่างหาก บางรายไม่ไหวต้องขายไร่ขายนาเพื่อใช้หนี้ก็มี ซึ่งตัวประคองเองแต่ก่อนเงินก็ไม่พอใช้จ่ายในบ้าน แถมยังต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนในการทำไร่ครั้งต่อไป แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกแล้ว
 
ประคองบอกว่า ถ้าจะให้การทำอาชีพเกษตรกรรมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากจะต้องศึกษาพัฒนาการปลูกให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้อง ปรับแนวคิดกันใหม่ โดยเริ่มจาก ทำบัญชีครัวเรือน จะได้รู้ว่ามีรายได้เข้าเท่าไหร่ ใช้เงินซื้ออะไรไปบ้าง จะได้รู้ว่าเราเสียเงินซื้อของที่ไม่จำเป็นไปเยอะหรือไม่ ถ้าใช่ก็ต้องลดการใช้จ่ายลง
   
ช่วงที่ว่างจากการทำไร่ก็พยายามหาอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่ม
   
ส่วนลูก ๆ ก็จะต้องฝึกให้พวกเขารู้ถึงคุณค่าของเงิน ให้รู้จักอดออม เพราะส่วนใหญ่ลูก ๆ มักจะเห็นแต่ตอนที่เรามีรายได้เข้า ไม่รู้ว่ามีรายจ่ายมากเท่าไหร่ ก็ต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้เขาเห็น เขาจะเอาเงินไปซื้ออะไรก็ต้องจดไว้ เขาจะได้รู้ จากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มรู้คุณค่าของเงินมากขึ้น เขาอยากได้อะไรก็จะทำงานหาเงินเองมากขึ้น รู้จักใช้จ่ายมากขึ้น 
 
เป็นการ ’สร้างระเบียบวินัยในการใช้เงิน“ ’หลังจากที่เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตใหม่ ก็ทำให้ครอบครัวเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พอจะมีเงินเก็บเงินออมบ้าง“ ประคอง เกษตรกรไร่อ้อย เกษตรกรคนเก่ง ธ.ก.ส. กล่าวทิ้งท้าย และนี่ก็เป็นหนึ่งในกรณีศึกษา "อาชีพเกษตรกรรม" กับ "ยุทธวิธี...เพื่อให้มีกิน-มีใช้-มีเก็บ"

อ้างอิงจาก เดลินิวส์
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,610
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,301
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
509
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
501
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
437
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
428
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด