บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    แอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์
4.6K
2 นาที
3 สิงหาคม 2561
5 เทคนิคเอาร้านอาหารร่วมแอพ Food Delivery ให้รวยเร็ว
 

ตลาดบริการจัดส่งอาหาร หรือ Delivery เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของคนทำธุรกิจอาหารที่มีข้อดีคือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งที่มีจำนวนมาก การมีตัวเลือกบริการที่หลากหลายทำให้โอกาสในการเข้าถึงลูกค้ามีมากขึ้น สามารถเพิ่มยอดขายให้กับร้านได้มากขึ้น

ทั้งนี้ Food Delivery มีการเติบโตขึ้นมากมีผู้ลงทุนมากมายที่กระโดดมาแชร์ตลาดนี้ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าในปี2560 ตลาด Food Delivery มีมูลค่าประมาณ26,000-27,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2561 นี้ก็คาดว่าจะเติบโตได้มากยิ่งขึ้น

ภาพจาก goo.gl/Zw6U2w
 
ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าปัจจุบันมีผู้ลงทุนหลายรายที่ดำเนินธุรกิจนี้ เช่น Foodpanda, Lineman, UberEATS, honestbee, Grabfood เป็นต้น ซึ่งร้านอาหารส่วนใหญ่ที่เปิดใหม่หรือไม่มีประสบการณ์ในการจัดส่ง Delivery อาจมีปัญหาถ้าต้องดำเนินการเองการเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจเหล่านี้ก็ทำให้ง่ายขึ้นเพราะข้อดีของธุรกิจเหล่านี้คือมีฐานลูกค้าตัวเองอยู่มาก

หากเราเข้าร่วมก็เท่ากับเปิดโอกาสให้มีคนเห็นมากขึ้น โอกาสในการขายก็มากขึ้น แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นเราควรมาดู 5 วิธีก่อนจะเอาร้านของเราเข้าร่วมกับแอพเหล่านี้ต้องทำอะไรบ้าง
 
1.เลือกพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมกับตัวเอง
 
ภาพจาก goo.gl/SEZyoR

ผู้ประกอบการธุรกิจจัดส่งอาหารแบบ Delivery มีอยู่ไม่น้อยซึ่งแต่ละแบรนด์ก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ในฐานะร้านอาหารเราต้องรู้ว่าสินค้าที่เราขายคืออะไรจากนั้นศึกษาข้อมูลของแต่ละแบรนด์ว่ามีขอบเขตในการจัดส่งแค่ไหน จัดส่งอะไรได้บ้าง เช่น Skootar จัดส่งสินค้าในเขตกรุงเทพฯเท่านั้นและไม่รับส่งเค้กทุกชนิด หรือ GrabFood ให้ผู้ใช้งานเลือกสั่งอาหารจากร้านที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร

นอกจากนี้เราต้องรู้อัตราค่าบริการของแต่ละแบรนด์เพราะนั่นคือต้นทุนที่ลูกค้าสั่งอาหารต้องจ่ายหากมีการคิดอัตราค่าบริการที่สูงมาก ลูกค้าอาจเลือกเข้ามาใช้งานน้อยก็ทำให้เราได้รับผลกระทบด้วย
 
2.ลงทะเบียนร่วมเป็นพาร์ทเนอร์
 
ภาพจาก goo.gl/FwxqhE

การเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการให้ร้านอาหารไปลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของแบรนด์นั้นๆ เช่น หากต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Lineman ก็ต้องไปสมัครกับ Wongnai หรือหากต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ foodpanda, UberEATS, honestbee, GrabFood เราสามารถสมัครกับทางเว็บไซต์ของธุรกิจเหล่านี้โดยกรอกตามแบบฟอร์มของแต่ละแบรนด์ที่มีอยู่ในหน้าเว็บไซต์
 
3.ต้องปรับระบบการรับออร์เดอร์ให้รับลูกค้า 2 ทาง
 
การเข้าร่วมแอพ Delivery ต่างๆอาจไม่ใช่เรื่องยากแต่ที่ยากกว่าคือเราต้องปรับวิธีการรับออร์เดอร์ให้เหมาะสมสามารถรับลูกค้าได้ 2 ทาง คือลูกค้าจากหน้าร้านและลูกค้าจาก Delivery หากเกิดความผิดพลาดทางใดทางหนึ่งหรือให้น้ำหนักการรับออร์เดอร์ไม่ดีอาจทำให้เสียลูกค้าอีกทางหนึ่ง

ทางที่ดีควรมีพนักงานที่คอยรับออร์เดอร์ทั้ง 2 ทางแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ยิ่งเป็นร้านใหญ่ที่คนนิยมมาก การรับออร์เดอร์ต้องมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งการแข่งขันในด้านการบริการก็เป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการทำร้านอาหารให้อยู่รอดในยุคนี้
 
4.ปรับระบบครัวให้มีประสิทธิภาพ


ภาพจาก https://pixabay.com

ส่วนที่สัมพันธ์กับระบบรับออร์เดอร์ก็คือระบบครัวที่เป็นหัวใจของร้านอาหาร จะต้องไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีก็ให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นเช่นอาหารที่ควรใส่จานก็เอามาใส่กล่องทำให้เสียทรัพยากรและเปลืองต้นทุนโดยไม่จำเป็น

ในบางร้านที่มีความเป็นมืออาชีพชัดเจนและมีลูกค้ามาก อาจจะแยกครัวออกเป็น 2 ส่วนคือรับออร์เดอร์จากหน้าร้าน และรับออร์เดอร์จาก Delivery แต่หากร้านเรายังไม่ใหญ่โตขนาดนั้นก็ต้องใช้ระบบครัวเดียวแต่ต้องแยกเมนูให้ชัดเจน ที่สำคัญคุณภาพของอาหารต้องรักษามาตรฐานให้ดีที่สุดอย่าให้ลูกค้าตำหนิ เพราะยุคที่โซเชี่ยลรวดเร็วแบบนี้อาจทำให้ร้านอาหารเราเกิดหรือดับได้เพียงชั่วข้ามคืนเช่นกัน
 
5.แพคเกจจิ้งต้องดีกว่าเดิม

ภาพจาก https://pixabay.com

มาถึงช็อตประทับใจที่ไม่ว่าจะเลือกพาร์ทเนอร์ดีแค่ไหน ปรับโครงสร้างทางธุรกิจตัวเองดีอย่างไร สุดท้ายคนที่เห็นสินค้าเราก็คือคนสั่งอาหาร ดังนั้นโจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกว่ารับอาหารมาแล้วประทับใจสุดๆ นั้นคือแพคเกจต้องเนี๊ยบและดีอาจจะต้องดีไซน์ให้มากกว่าเป็นกล่องโฟมหรือถุงพลาสติก

ซึ่งข้อดีของการมีแพคเกจโดนใจลูกค้าที่ทำให้ประทับใจ แพคเกจที่ดียังช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เสียหายหรือแพคเกจที่ไม่ดีอาจเสียหายระหว่างการขนส่ง เมื่อถึงมือลูกค้าอาจมีรอยรั่ว หรือเสียหายทำให้รู้สึกไม่ประทับใจ เราจึงต้องเลือกปรับแพคเกจให้เหมาะสม หากคิดจะใช้ช่องทางตลาดแบบ Delivery ช่วยเพิ่มยอดขาย
 
นอกจากนี้ในยุคโซเชี่ยลก็มีข้อดีสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจอาหารแต่ไม่มีเงินทุนเปิดร้านที่อาจจะใช้ช่องทางขายออนไลน์โดยไม่ต้องลงทุนเปิดร้านซึ่งหากไม่ต้องการเปิดเว็บหรือเฟสบุ๊คขึ้นมาเองก็มีเว็บไซต์อาหารออนไลน์ให้เราเลือกใช้งานอย่าง 
 
zabdelivery.com ที่ให้เราโปรโมทร้านอาหารออนไลน์ของเราได้ฟรี และยังไม่มีสัญญาผูกมัดใดๆเพิ่มเติม  ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสอันดีของคนยุคนี้ที่มีโซเชี่ยลมาช่วยทำการตลาด แต่ทั้งนี้เราก็ต้องรู้จักใช้ให้เป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์มิเช่นนั้นของดีอาจกลายเป็นดาบสองคม ที่ทำให้เราปวดหัวหนักยิ่งกว่าเดิมก็ได้
 

SMEs Tips
  1. เลือกพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมกับตัวเอง
  2. ลงทะเบียนร่วมเป็นพาร์ทเนอร์
  3. ต้องปรับระบบการรับออร์เดอร์ให้รับลูกค้า 2 ทาง
  4. ปรับระบบครัวให้มีประสิทธิภาพ
  5. แพคเกจจิ้งต้องดีกว่าเดิม
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด