บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
1.8K
2 นาที
15 มกราคม 2562
แล้วคุณเลือกสายไหน iPhone vs Android
 

ต้องบอกก่อนว่าตอนนี้เวลาเจอใครมักถามกันก่อนว่า คุณอยู่สายไหน สาย iPhone หรือสาย Android จริง ๆ ส่วนตัวผมอยู่ฝั่ง Android มาตลอดเลย เพราะเป็นคนที่ใช้ Google suite ทั้ง Gmail, Calendar, Google Drive ที่ใช้ทั้ง Docs, Sheets, Slides และอื่น ๆ อีกหลายตัว แต่ก็ยังมีมือถืออีกเครื่องหนึ่งของฝั่ง Apple คือผมใช้ iPad เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน

ฉะนั้นจึงเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้ Android กับ iOS โดยเฉพาะคนที่ทำงานสายเทคโนโลยีจะอยู่ในสายใดสายหนึ่งเลยไม่ได้ บางครั้งก็ปวดหัวเวลาที่ต้องเป็นลูกครึ่งระหว่าง Android กับ iPhone ทำให้บางครั้งการทำอะไรบางอย่างก็จะเป็นลูกครึ่งด้วยเหมือนกัน 
 
ปัญหาเรื่องการใช้งานแบบลูกครึ่งสำหรับบางคนคือเรื่องของการส่งรูปภาพระหว่างเครื่องมือ เช่น รูปจากมือถือจะส่งไปไอแพด หรือไอแพดมามือถือหรือเข้าคอมพิวเตอร์ ต้องส่งกันไปมาหลายทอด ต้องอัปขึ้นคลาวด์ก่อน ฯลฯ หรือปัญหาอีกอย่างก็คือบางครั้งที่อยากที่จะใช้พวกนาฬิกา Apple Watch แต่มือถือหลักของเราเป็น Android  มันคุยกันไม่ได้ ซึ่งตัว Apple Watch ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวมานั้นน่าสนใจมากเลย

ตัวนี้เหมาะมากกับผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพราะมีความสามารถที่จะจับได้ว่าผู้ที่สวมใส่อยู่นั้นมีการล้มหรือไม่ หากมีการล้มลงลูกหลานหรือคนใกล้ชิดจะสามารถทราบได้ในทันที ผมอยากแนะนำให้ลองใช้แต่ติดอยู่ที่แค่ว่าต้องเชื่อมกับมือถือระบบ iOS เท่านั้น

 
เมื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวเราในวันนี้แบ่งออกเป็น 2 ค่ายหลัก ๆ คือ iPhone กับ Android และ iPhone เองก็เพิ่งเปิดตัวออกมาใหม่ 3 รุ่นคือ iPhone Xs, iPhone Xs Max และ iPhone Xr ในตอนนี้ iPhone X รุ่นก่อนหน้าได้เลิกผลิตไปแล้วด้วย ถ้าใครต้องการอยากจะใช้คงต้องมาใช้ตัว iPhone Xs หรือ iPhone Xs Max แทน หรือจะมาใช้ตัว iPhone Xr เลยก็ได้ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่าน่าสนใจมาก แต่การขยับของ Apple ในครั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการเข้า process ปกติของ Apple ซึ่งก็คือ minor change เป็นการเปลี่ยนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเยอะมาก

 
ข้อดีของ minor change คือฝ่ายการผลิต Value chain จะสามารถผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ เคส หน้าจอ ฯลฯ คล้ายของเดิมได้ ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยถูกลงไปมาก ดังนั้น การออกเป็นรุ่นย่อย ๆ ออกมาถือว่าเป็นการต่อยอดให้สินค้านั้นมีอายุต่อได้อีกหนึ่งปี ทำให้ระบบนิเวศของมือถือตัวนั้นสามารถอยู่ต่อได้ สังเกตให้ดี ๆ ทาง Samsung เองก็เริ่มที่จะมาในแนวทางนี้ด้วยเหมือนกัน

สังเกตจากฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ทางซัมซุงออกมาแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันนิดเดียว ซึ่งเมื่อก่อน Samsung จะเป็นการเปลี่ยนแบบ major change ในทุก ๆ ปีซึ่งก็จะพบปัญหาว่าอุปกรณ์ใช้กับตัวเดิมไม่ได้ นี่คือความชาญฉลาดของการคำนึงถึงระบบ supply chain ในการผลิตว่าทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีกำไรมากที่สุด ซึ่งทิม คุก เก่งมากในเรื่องพวกนี้ 

 
ฉะนั้น ในแง่ของโทรศัพท์จะเห็นว่าโลกได้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน แต่ทั้งสองฝ่ายมันต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องของระบบนิเวศหรือภาพรวมทั้งหมด ฝั่ง Apple ผลิตโทรศัพท์เอง ควบคุมการผลิตเองทุกอย่าง รายได้เป็นของ Apple เองทั้งหมด

ในขณะที่ฝั่ง Google เป็นเพียงผู้ผลิต OS ขึ้นมาไม่ได้ลงในส่วนของฮาร์ดแวร์มากเท่าใดนัก หน้าที่ของ Google คือพยายามผลิตระบบนิเวศ ทำซอฟต์แวร์ให้ดีที่สุดเพื่อผู้ผลิตมือถือจะสามารถเอาซอฟต์แวร์ของตนเองเข้าไปใช้ได้ Google จะมีรายได้จากการที่คนเข้ามาใช้ซอฟต์แวร์ของตนเอง เช่น Google Map, Gmail, Hangouts, Chrome ฯลฯ

จะสังเกตว่าในฝั่งของ Google จะมีแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดและจำนวนคนใช้ทะลุเกินคนพันล้านคนอยู่หลายตัวมาก ภาพรวมหากเปรียบเทียบง่าย ๆ คือในฝั่ง Google จะเก่งเรื่องซอฟต์แวร์มากแต่ในฝั่ง Apple จะเก่งในทางฮาร์ดแวร์มาก ทางฝั่ง Apple เองก็พยายามพัฒนาตัวเองให้เก่งด้านซอฟต์แวร์ด้วย และเช่นกัน Google เองก็พยายามพัฒนาให้เก่งฮาร์ดแวร์และพยายามจะเป็นระบบเปิดด้วยเหมือนกัน

 
ตรงนี้แหละคือคำถามว่าคุณจะอยู่ในฝั่งไหน ซึ่งผมว่าถ้าหากต้องการความง่าย ความสะดวกก็อยู่ในฝั่ง Apple แต่ข้อเสียก็คือคุณก็ต้องถูกผูกอยู่ในระบบ ออกมาข้างนอกไม่ได้ ซึ่งหากใช้อุปกรณ์ทุกอย่างของ Apple ข้อดีก็คือทุกอย่างจะผสานเข้าด้วยกันหมดแล้ว แต่ถ้าใช้ Android ทุกอย่างอาจจะกระจัดกระจายสักหน่อย เพราะเขาเป็นเพียงผู้ผลิต OS จึงไม่สามารถควบคุมระบบนิเวศทั้งหมดได้

จึงขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะใช้ตัวไหน การที่ Apple ออก iPhone ซีรีส์ใหม่นั้นเป็นการตอกย้ำความพยายามที่จะฉีกตัวเองว่า ฉันคือไฮเอนด์แบรนด์มาก ๆ แม้ว่าราคาเกือบ ๆ ครึ่งแสนคนก็ยังจะซื้อ แต่ทาง Apple เองก็มีอีกกลยุทธ์หนึ่งคือพยายามปล่อยรุ่นก่อนหน้าอย่าง iPhone 7 หรือ iPhone  8 ให้มีราคาที่ต่ำลงเพื่อให้เป็น fighting brand คือถ้าลูกค้ามีเงินไม่มากนักก็ยังซื้อเวอร์ชันเหล่านี้ได้ 
 
ราคา iPhone ในสมัยสตีฟ จ็อบส์กับสมัยนี้ต่างกันลิบลับ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลายท่านก็ยังจะซื้อเพราะนี่เป็น iPhone ตัวใหม่และยังจอใหญ่อีกด้วย คนเป็นสาวกอย่างไรก็ยังซื้อยังจะชอบอยู่ ซึ่งบอกได้ชัดเลยว่าบางครั้งการถือโทรศัพท์สามารถแสดงอะไรบางอย่าง

อย่างตอนนี้ที่ iPhone พยายามเน้นเรื่องนี้คือบ่งบอกสถานะของผู้ใช้ว่า ฉันแตกต่างจากคนอื่น เพราะหากไปเจาะดูฮาร์ดแวร์แต่ละตัวที่ Apple นำมาใช้เทียบกันดูจะเห็นว่าไม่ได้แตกต่างจากของ Android ที่ราคาแค่หมื่นต้น ๆ เทคโนโลยีของฝั่ง Apple หากเอามาเทียบกับฝั่ง Android บางอย่างช้ากว่าด้วยซ้ำไป

 
แต่หากว่าคุณไม่ได้รีบร้อนมากนัก สามารถรอได้หรือรอให้ technology cycle ประมาณหนึ่งปีคุณจะจ่ายถูกกว่าเดิมเกือบครึ่งหนึ่งเลย โดยเฉพาะฝั่ง Android ราคาจะตกลงเร็วมากซึ่งผู้ซื้อต้องทำใจเพราะคู่แข่งเยอะกว่า

ในขณะที่ฝั่ง Apple เป็นแบรนด์ที่ทำอยู่คนเดียว สามารถควบคุมกลไกราคาได้ ควบคุมร้านค้าที่จะนำไปขายได้ เป็นความได้เปรียบที่สามารถควบคุมระบบนิเวศ ระบบการทำธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จได้ตามคอนเซปต์ของสตีฟ จ็อบส์ ที่ธุรกิจทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำสามารถควบคุมได้หมดทุกอย่าง นี่คือการต่อสู้กันของ 2 business model คือของฝั่ง Google ที่เป็นแบบเปิด และของฝั่ง Apple ที่เป็นระบบปิด 
 
สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่ที่คุณเองแหละว่า อยากใช้แบบไหน หรือ อยากจะอยู่ฝั่งใคร อย่าเพิ่งปวดหัวกันไปซะก่อนนะครับ
 

รูปภาพจาก  goo.gl/zW1tYH
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามร้านสะดวกซื้อ 6 แบรนด์ ในมือ 5 เจ้าสัวไทย
923
สุกี้ไทยเปลี่ยนมือ MK รายได้วูบ สุกี้ตี๋น้อย แซง..
626
CJ ปั้น “เถียน เถียน” ไอศกรีมและชาผลไม้สัญชาติไท..
475
ค้าปลีก 2568! เปิดเกมรุกด้วย “Localized Marketing”
392
เปิดสูตร “เงินทุนหมุนเวียน” คำนวณให้ดี ร้านจะได้..
346
ตัวเล็กแต่ทรงพลัง! โลตัส โกเฟรซ! มินิบิ๊กซี! ร้า..
336
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด