บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
2.1K
3 นาที
11 มกราคม 2562
10 ไอเดียของ startup ระดับเอเชีย
 
ในปี 2017 มี Startup ถึง 57 รายที่สามารถไต่เพดานธุรกิจจนได้เงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากมายไปจนถึงระดับ Unicorn คือ มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญ หรือ 35,000 ล้านบาทโดยที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ทอัพในฝั่งยุโรปและอเมริกาแต่ที่ฮือฮาคือ Toutiao Media Startup ของประเทศจีนนั้นมีสินทรัพย์เป็นมูลค่าถึง 20 ล้านเหรียญ
 
ในปี 2018 ที่ผ่านมา Pitchbook ได้อัพเดทลิสต์รายชื่อ Unicorn หน้าใหม่ แม้จะนำโด่งในฝั่งสหรัฐเช่นเคยแต่ในระดับเอเชียก็มีที่น่าสนใจอย่างในจีนมีสตาร์อัพระดับ Unicorn ถึง 19 ราย เช่น Bitmain ,Meicai  เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะในแถบเอเชียเราจะพบว่ามี สตาร์ทอัพมากมายที่ใช้ไอเดียสร้างธุรกิจขึ้นมาให้เหมาะกับความต้องการของคนในภูมิภาคซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com รวบรวมมาเป็น 10 ไอเดียสตาร์ทอัพระดับเอเชียที่น่าสนใจดังนี้
 
1.Omise

ภาพจาก www.omise.co/th

เป็น Startup ของเมืองไทยที่เริ่มต้นทำธุรกิจ Fintech โดยให้บริการ Online Payment  ที่หวังเข้ามาช่วยตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานจ่ายเงินผ่านออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร  ซึ่ง Omise เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของระบบ Payment ของ True Corporation  และร้านอาหารในเครือ Minor International นอกจากนี้ยังมีลูกค้าระดับชั้นนำอย่าง aCommerce, Kaidee, Ookbee และ Weloveshopping เป็นต้น 
 
2.Sea Group
 
ภาพจาก www.seagroup.com

เป็นยูนิคอร์นสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนจากสิงค์โปร์เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทเกม Garena ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ขยายไปในประเทศต่างๆ และเข้ามาในประเทศไทยปี 2012เริ่มแรกทำโปรดักต์เกี่ยวกับเกมออนไลน์ยอดฮิตอย่าง ROV, HON, LOL ฯลฯ

จากนั้นได้ขยายธุรกิจด้วยการเปิดตัว AirPay บริการชำระเงินที่มาแก้ปัญหาการเติมเงินในเกม จ่ายค่าสาธารณูปโภคและจุดเด่นอย่างการซื้อตั๋วหนังก็ได้ใจผู้ใช้งานอย่างมาก SEA Group มีนักลงทุนที่สนใจและหนุนให้กิจการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนสามารถนำพาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2017 ด้วยมูลค่าบริษัทราว 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
3.Shopee 
 
ภาพจาก shopee.co.th

รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับแอปพลิเคชั่นสำหรับสั่งซื้อและขายของออนไลน์จากสิงค์โปร ทั้งยังเป็นแอปพลิเคชั่นเจ้าแรกๆที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อขายสินค้าได้โดยง่ายผ่านสมาร์ทโฟน อีกทั้งระบบยังให้บริการการชำระเงินที่ปลอดภัย เรียกว่า “Shopee Guarantee” ซึ่งเมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้น ระบบจะทำการโอนเงินของผู้ซื้อไปที่บัญชีธนาคารแยกของ Shopee และผู้ขายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยแล้ว ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้มั่นใจในการซื้อขายของผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ว่าลูกค้าจะสามารถได้รับสินค้าอย่างแน่นอน
 
4.Xiaomi
 
ภาพจาก www.mi.com

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ในปัจจุบัน Xiaomi กลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจาก Apple และ Samsung จากการเติบโตที่รวดเร็วทำให้มีอัตราการจ้างงานสูงมาก และบริษัทก็มีมูลค่าธุรกิจกว่าพันล้านเหรียญ
 
Xiaomi เป็นแบรนด์เทคโนโลยีที่ไม่ได้ขายเพียงแค่มือถือ แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Smart watch, Powerbank โดย CEO ของบริษัทบอกว่าอยากทำสินค้าที่ดี แต่สามารถซื้อได้ในราคาแค่ครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง Xiaomi ได้รับการขนานนามว่าเป็น “China Apple” ที่เคยขายโทรศัพท์มือถือ 15,000 เครื่องหมดภายใน 2 วินาที จนลง Guinness World Record เพราะสเปคที่ลูกค้าได้นั้นคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา  
 
5.Flipkart

ภาพจาก www.flipkart.com

บริษัท Startup ที่ให้บริการเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์เจ้าใหญ่ในตลาดอินเดีย ก่อตั้งโดยอดีตวิศวกรของ Amazon สามารถพัฒนาตัวเองให้เติบโตจนกลายมาเป็นคู่แข่งของ Amazon ในประเทศอินเดียได้  เติบโตมาจากการขายหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์  จากนั้นก็แตกไลน์สินค้าออกไปมากกว่า 80 หมวด มีสินค้าจำหน่ายกว่า 80 ล้านชิ้น มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วมากกว่า 100 ล้านคนและมีพนักงานมากกว่า 30,000 คน
 
6.Kheyti
 
ภาพจาก kheyti.com

สตาร์ทอัพของอินเดีย ประดิษฐ์โรงเรือนต้นทุนต่ำเพื่อควบคุมผลผลิตจากสภาพอากาศและป้องกันศัตรูพืช จากข้อมูลพบว่า ในอินเดียมีเกษตรกรกว่า 120 ล้านราย โรงเรือนของ Kheyti เรียบง่าย เพราะใช้วัสดุน้อยชิ้น และมีขนาดเล็ก โรงเรือนนี้มากับระบบน้ำหยดที่จะช่วยลดอุณหภูมิให้กับพืช ลดการใช้น้ำได้มากถึง 90% พร้อมความสามารถในการป้องกันโรคของพืช และป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย

เกษตรกรจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ราคาอยู่ที่ 2,000 เหรียญหรือประมาณ 70,000 บาท แต่ Kheyti ร่วมมือกับธนาคารให้มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเกษตรกรที่มีรายได้น้อย โดยเปิดให้วางเงินดาวน์เริ่มต้นที่ 400 เหรียญหรือประมาณ 14,000 บาท หลังจากนั้นให้ชำระเงินเป็นไตรมาส ไตรมาสละ 175 เหรียญหรือราว 6,000 บาท ภายใน 3 ปีก็จะครบ
 
7.Go-Jek
 
ภาพจาก www.go-jek.com

บริษัท Startup จากอินโดนีเซีย ก่อตั้งเมื่อปี 2010 มีผู้ก่อตั้งคือ Nadiem Makarim มีเป้าหมายว่าอยากแก้ปัญหาคมนาคมในเมืองจาการ์ตา ที่มีสภาพการจราจรสุดแสนเลวร้าย ทำให้เขาเริ่มธุรกิจ call center ที่ให้บริการ Ojek หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีคนขับ 20 คน  ก่อนจะพัฒนามาให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Go-Jek (มาจาก Ojek)  และได้รับความนิยมอย่างมาก หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการใช้รถสามล้อรับจ้าง จนเวลาผ่านไป 7 ปี Go-Jek สามารถขยายธุรกิจออกไปยัง 25 เมืองใหญ่ในอินโดนีเซีย จนนับได้ว่าเป็น Startup ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากนั้นยังขยายไปให้บริการรถแท็กซี่  พร้อมทั้งแตกไลน์ไปยังบริการขนส่งที่หลากหลาย ซึ่งทุกบริการที่มีนั้นเน้นการส่งตรงถึงบ้าน เพื่อลดการเดินทางของประชาชน
 
8.Ola Cabs
 
ภาพจาก goo.gl/4wUGvx

บริษัท Startup จากอินเดียที่ให้บริการ Bike Sharing เพื่อรองรับเทรนด์และการเติบโตของธุรกิจ Bike Sharing ได้รับแรงบันดาลใจมากจากประเทศจีน โดยผู้ใช้งานเพียงค้นหาจักรยานผ่านแอปพลิเคชั่นด้วยระบบ GPRS และสแกนรหัสสำหรับปลดล็อก หลังจากชำระค่าเช่าแล้ว ก็สามารถปั่นไปได้เลย เมื่อใช้เสร็จก็สามารถจอดไว้ข้างทางและจักรยานจะล็อกเองเมื่อหมดเวลาเช่า ด้วยประชากรในอินเดียที่มีจำนวนมหาศาลไม่แพ้จีน Ola จะยังคงมีอนาคตที่สดใสต่อไป โดยตอนนี้ได้เปิดตัวให้บริการในเขตของมหาวิทยาลัยในอินเดียก่อน ซึ่ง Ola มีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้จักรยานว่า เหมาะสำหรับระยะทางที่สั้นเกินกว่าจะนั่งรถแท็กซี่ แต่ก็ไกลเกินกว่าที่จะเดิน
 
9.VIPKID
 
ภาพจาก www.facebook.com/VIPKID

เป็นสตาร์ทอัพจากประเทศจีน ที่ต้องการให้เด็กอายุ 4-12 ปีทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษากับครูชาวอเมริกัน จนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม VIPKID  ที่มีการสอนทั้งวิชาภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และอีกหลากหลายวิชา โดยก้าวข้ามขีดจำกัดที่หลายคนมักมองกันว่าการเรียนออนไลน์นั้น ไม่ได้ผลดีเท่ากับการเรียนการสอนแบบเจอหน้ากัน และ VIPKID สามารถเติบโตจนมีนักลงทุนอีกมากมายที่ให้ความสนใจ

ไม่ว่าจะเป็น Sequoia Capital China, Tencent Holdings, Sinovation Ventures, Zhen Fund และ Yunfeng Capital ของ Jackma โดย 3 ปีก่อน VIPKID เริ่มต้นจากการมีคุณครูเพียง 400 คนและนักเรียนในระบบเพียง 3,300 คน  แต่ปัจจุบันมีคุณครูในระบบกว่า 60,000 คน และมีนักเรียนในแพลตฟอร์มถึง 500,000 คน 
 
10.ClearTax 
 

ภาพจาก  www.facebook.com/ClearTax

สตาร์ทอัพอินเดียที่จะช่วยให้เรื่องภาษีในอินเดียเป็นเรื่องเบาๆ ก่อตั้งโดย Archit Gupta, Srivatsan Chari และ Ankit Solanki ด้วยแพลทฟอร์มของ ClearTax ที่ช่วยจัดการด้านภาษีที่อดีตมีความซับซ้อน แต่ละรัฐในอินเดียจัดการต่างกัน ClearTax ได้เข้ามาแก้ปัญหาภาษีนี้อย่างครบวงจร โดยให้บริการทั้งบุคคลทั่วไป ธุรกิจ และผู้ตรวจสอบบัญชี
 
สิ่งที่เรามองเห็นจากสตาร์ทอัพเหล่านี้คือการ หยิบเอาปัญหามาแก้ไขและทำให้เป็นธุรกิจ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มลงทุนแบบไหนอย่างไรดี ให้สำรวจรอบๆตัวเองว่ามีปัญหาอะไรที่ยังแก้ไขไม่ได้ ลองคิดและพยายามแก้ปัญหาเหล่านั้นของคนส่วนใหญ่ให้ได้ จุดเริ่มของสตาร์ทอัพมาจากตรงนั้นส่วนจะต่อยอดได้มากขนาดไหนก็อยู่ที่การบริหารและการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
 

SMEs Tips
  1. Omise
  2. Sea Group
  3. Shopee 
  4. Xiaomi
  5. Flipkart
  6. Kheyti
  7. Go-Jek
  8. Ola Cabs
  9. VIPKID
  10. ClearTax
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise
 

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามร้านสะดวกซื้อ 6 แบรนด์ ในมือ 5 เจ้าสัวไทย
821
สุกี้ไทยเปลี่ยนมือ MK รายได้วูบ สุกี้ตี๋น้อย แซง..
596
CJ ปั้น “เถียน เถียน” ไอศกรีมและชาผลไม้สัญชาติไท..
409
ค้าปลีก 2568! เปิดเกมรุกด้วย “Localized Marketing”
375
เปิดสูตร “เงินทุนหมุนเวียน” คำนวณให้ดี ร้านจะได้..
337
ตัวเล็กแต่ทรงพลัง! โลตัส โกเฟรซ! มินิบิ๊กซี! ร้า..
332
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด