บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    บัญชี ภาษี
2.5K
3 นาที
28 มกราคม 2562
วิธีลดหย่อนภาษี และสิทธิประโยชน์ดีๆ SMEs ควรรู้!

 
วันนี้ผมจะพูดถึง วิธีลดหย่อนภาษี และสิทธิประโยชน์ดีๆ ที่บริษัท SMEs ควรรู้

เชื่อว่าการทำธุรกิจเป็นของตนเอง คงเป็นอีกหนึ่งความฝันของใครหลายๆ คน ด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์ตัวเอง ทำตามความฝัน หรือการมุ่งหวังสร้างผลกำไรที่สวยงาม บวกกับเทคโนโลยีและนโยบายภาครัฐที่เป็นประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการผุดขึ้นมามากมาย แน่นอนว่าจุดประสงค์พื้นฐานของการทำธุรกิจ คงหนีไม่พ้นเรื่องกำไร อะไรที่สามารถทำให้ธุรกิจของเราลดรายจ่ายและเพิ่มเป็นกำไรขึ้นมาได้ คงไม่มีใครไม่อยากรู้จริงไหมครับ
 
วันนี้เราจะมาเจาะประเด็นสำคัญสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ กับความสงสัยเรื่องการเสียภาษี และการทำยังไงให้จ่ายภาษีต่ำที่สุดในขอบเขตกฎหมายหรือเรียกง่ายๆ ว่าลดหย่อนภาษีนั่นเอง เพราะการมีกำไรมากขึ้น ย่อมนำมาซึ่งการเสียภาษีที่มากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าคุณจะประกอบธุรกิจในรูปแบบใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการแบบ SMEs นั่นเอง
ธุรกิจเราเป็น SMEs รึเปล่า?
 
ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจว่าทำยังไงให้สามารถลดหย่อนภาษีได้ เรามาทำความเข้าใจกับลักษณะ SMEs แบบคร่าวๆ กันดีกว่า ธุรกิจ SMEs เป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือเป็นนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น แต่ต้องมีขนาดตามที่กำหนดคือ มีจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่รวมที่ดินสูงสุดไม่เกิน 200 ล้านบาท
 
เพิ่มเติมสำหรับ SMEs ที่จดทะเบียนบริษัท จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามนโยบายของกรมสรรพากร หลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่กรมสรรพากรจะดูจากธุรกิจของคุณคือ จะต้องเป็นธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และในรอบบัญชีนั้นมีรายได้ไม่เกิด 30 ล้านบาท
ลดหย่อนภาษี
 
ทีนี้เรามาดูในประเด็นที่หลายๆ คนสนใจกันดีกว่า ว่าเราจะสามารถลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทของเราได้อย่างไรบ้าง
ดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ถูกต้อง
 
สิ่งแรกที่เราสามารถจัดการได้เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษีให้กับธุรกิจของเรา คือการตัดสินใจตั้งแต่เริ่มแรกว่าธุรกิจของเราจะดำเนินการไปในรูปแบบใด ทั้ง SMEs แบบบุคคลธรรมดา หรือSMEs แบบนิติบุคคล คำถามต่อมาคือ แล้วลือกจากอะไรล่ะ? เนื่องจากทั้ง 2 รูปแบบมีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนั้นให้เราคิดง่ายๆ จากรายได้สุทธิหรือกำไร
 
หากตอนนี้คุณดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา และมีรายได้สุทธิตั้งแต่ 750,001 บาท ขึ้นไป แนะนำให้ไปจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลในรูปแบบ SMEs เนื่องจากหากเป็น “บุคคลธรรมดา” จะเสียภาษีในอัตราภาษี 20% ในขณะที่การเป็น “นิติบุคคล” เสียภาษีที่ 15% 
วางแผนบัญชีดี…ลดหย่อนภาษีได้
 
จริงๆแล้วภาษีสามารถทุเลาลงได้โดยไม่ใช้วิธีที่ผิดกฎหมายภาษีอากร หรือการลบหนีภาษีนะครับ ซึ่งหลายๆ ครั้งที่เจ้าของธุรกิจ SMEs อย่างเราๆ ละเลยเรื่องของบัญชี ก็เป็นอีกจุดบอดที่ทำให้เราเสียภาษีมากเกินจำเป็น ดังนั้นเราควรวางแผนการทำบัญชีบริษัท ระยะเวลาเสียภาษีให้รัดกุมและถูกต้อง เก็บเอกสารค่าใช้จ่ายอย่างถูกวิธีและครบถ้วน เพียงแค่นี้ก็เป็นการลดเรื่องค่าปรับต่างๆ ไปได้เปราะหนึ่งแล้ว นอกจากนี้กรมสรรพากรยังมีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้จัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง 
 
ใช่ครับ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย (ตามประเภท บุคคล หรือ นิติบุคคล) นำกำไร มาคำนวณ เพื่อเสียภาษี
 
ลืมจดภาษีมูลค่าเพิ่มไปหรือเปล่า
 
สำหรับใครที่เลือกได้แล้วว่าเราจะดำเนินธุรกิจ SMEs แบบนิติบุคคล และมีรายได้สุทธิเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องไปจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด Vat 7% อีกด้วยนะครับ

เจ้าของธุรกิจจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดโดยดูจากการประมาณการรายได้ของธุรกิจ หรือเมื่อรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทแล้ว
 
ให้รีบไปจดภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้เงินถึง 1.8 ล้านบาท เพราะเมื่อถึงรอบบัญชีที่ต้องจ่ายภาษี และกรมสรรพากรพบว่าบริษัทของเราละเลยในจุดนี้ไป จากลดหย่อนภาระทางภาษีจะกลายเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจได้ เพราะสรรพากรจะเก็บภาษีเพิ่มเป็น 2 เท่า และเรียกเก็บภาษีเพิ่มได้อีก 1.5% ต่อเดือน
สิทธิประโยชน์ทาง(ลดหย่อน)ภาษีบริษัท SMEs
 
เป็นที่ทราบกันดีว่าบุคคลธรรมดา มีการลดหย่อนภาษีด้วยวิธีต่างๆ มากมาย เช่น ลดหย่อนภาษีบุตร คู่สมรส พ่อแม่ หรือพวกกองทุนต่างๆ สำหรับฝั่งนิติบุคคลก็มีเช่นกันนั่นคือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีนิติบุคคล (SMEs) เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อยากแนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลาย สละเวลามาศึกษาในส่วนนี้ เพราะเป็นอีกวิธีในการช่วยลดหย่อนภาษีให้กับบริษัท
 
เนื่องจากหลักการคิดภาษีนิติบุคคลคือ (รายได้-รายจ่าย=กำไร) และนำกำไรไปคิดภาษีที่ต้องจ่าย หากมีสิ่งที่สามารถเพิ่มรายจ่ายนอกเหนือจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงให้กับบริษัท ย่อมทำให้กำไรดูน้อยลง เมื่อนำกำไรที่น้อยลงถูกนำไปคิดภาษี จึงเป็นที่มาของการจ่ายภาษีที่น้อยลงนั่นเอง
 
 วันนี้หากเราพิจารณาดีๆ บางทีสิ่งที่บริษัทของเราทำอยู่อาจจะเข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้
เด็กฝึกงานสายบัญชี
 
การลดหย่อนภาษีธุรกิจ SMEs (นิติบุคคล) ด้วยสิทธิประโยชน์แรก คือ บริษัทใดที่มีค่าใช้จ่ายในการจ้างเด็กฝึกงานสายบัญชีเข้ามาทำงานในกิจการ สามารถนำค่าใช้จ่ายมาคิดเป็น 2 เท่าได้ โดยค่าใช้จ่ายนี้จะต้องเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2561 
 
เข้าใจว่าปี 2562 น่าจะนำกลับมาให้สิทธิ ต่อ รอประกาศจากสรรพากรนะคราบ
@hyong/sbs คราบพี่ย้ง แล้วแต่กรณี อบรมภายในบริษัทก็ทำได้ ต้องไปขึ้นทะเบียนก่อน
 
cp ทำลดใช้ถุงได้ 3เด้ง 
  1. ลดต้นทุน
  2. csr
  3. บริจาคเพื่อการแพทย์ได้หัก คชจ 3 เท่า
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ลดหย่อนภาษีได้
 
ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งนโยบายของกรมสรรพากรที่ออกมาสนับสนุน SMEs เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี โดยธุรกิจ SMEs ใดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือมีการจ้างทำโปรแกรม ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สามารถนำมาคิดเป็นรายจ่ายเพื่อหักภาษีได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท และต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 ม.ค. 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2562
@hyong/sbs ใช ้เค้าใช้เทคนิคการวางแผนภาษี ที่ถูกต้อง นะคราบ วางกลยุทธดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
 
มิใช่ หนีภาษี หรือ ซื้อบิล หรือ หลบรายได้ หรือ สร้างค่าใช้จ่ายเท็จ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งผิดนะคราบ ไม่ควรทำ เพราะสรรพากรกำลังจะเอาจริงแล้ว
ลดหย่อนภาษีด้วยค่าเสื่อมและค่าสึกหรอ
 
เนื่องจากการทำธุรกิจจะต้องประกอบไปด้วยทรัพย์สินต่างๆ อยู่แล้ว สำหรับบริษัท SMEs ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีจากค่าเสื่อมและสึกหรอของสิ่งของต่างๆ ได้ โดยทรัพย์สินที่นำมาคิดมีทั้ง
  • ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอม และโปรแกรมคอมฯ คิดค่าสึกหรอได้ถึง 40% จากต้นทุนในวันที่ได้มา ที่เหลือทยอยหักภายใน 3 ปี
  • ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน คิดค่าสึกหรอได้ถึง 25% จากต้นทุนในวันที่ได้มา ที่เหลือทยอยหักภายใน 20 ปี
  • ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องจักร คิดค่าสึกหรอได้ถึง 40% จากต้นทุนในวันที่ได้มา ที่เหลือทยอยหักภายใน 5 ปี

ลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค
สำหรับนิติบุคคลประเภท SMEs
 
 สายบริจาค สามารลดหย่อนภาษีจากการบริจาคให้กับองค์กร หรือที่ต่างๆ และสามารถนำเงินบริจาคมาคิดเป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้
  • บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถหักรายจ่ายเท่าจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคจริง แต่เมื่อเทียบกับกำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าบริจาคจะต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไร
  • บริจาคให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สามารถนำเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคจริงมาคิดค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักค่าใช้จ่ายเพื่อการกุศล
ค่าจ้างงานคนชราสามารถลดหย่อนภาษีได้
 
สำหรับบริษัทที่มองเห็นโอกาสและมอบโอกาสให้กับคนชราที่มีศักยภาพในการทำงานให้กับองค์กรของตน การจ้างงานพนักงานที่เป็นวัยชรา สามารถนำค่าแรงมาคิดรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า แต่มีเงื่อนไขอื่นๆ ดังนี้
  • พนักงานจะต้องอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างอยู่ก่อนแล้ว หรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างพนักงานคนชราจะต้องไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน
  • จ้างได้ไม่เกิน 10% ของลูกจ้างทั้งหมด
  • ไม่เคยเป็นกรรมการฯบริษัท หรือบริษัทในเครือมาก่อน
ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ท่านวางแผนกลยุทธการทำธุรกิจได้ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทของตนเอง ถึงแม้การจดทะเบียนบริษัทจะทำให้เราไม่มีสิทธิ์เรื่องลดหย่อนภาษีเหมือนตอนเป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าเราศึกษาให้ดี จะพบว่ามีสิทธิประโยชน์จากจุดนี้อีกมากมาย เพียงแค่ผู้ประกอบให้ความสนใจการวางโครงสร้างบัญชีและภาษี หวังว่าในรอบการเสียภาษีครั้งหน้า ทุกคนจะสามารถหาวิธีลดหย่อนภาษี และจ่ายภาษีได้น้อยลงนะคราบ
 
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคราบ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,776
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,372
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
638
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
590
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
548
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
478
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด