บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
6.3K
2 นาที
4 เมษายน 2562
10 องค์กรรัฐที่พร้อมสนับสนุนคนทำธุรกิจ SMEs
 

ข้อได้เปรียบของการลงทุนทำธุรกิจในยุคนี้ คือมีหน่วยงานราชการที่พร้อมสนับสนุนมากมาย หลายเรื่องหน่วยงานรัฐช่วยให้เราสามารถดำเนินธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไหนจะเรื่องเทคโนโลยียุคใหม่ที่ก้าวล้ำนำหน้า บางครั้งสามารถกรอกข้อมูลออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลาก็ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรจะเรียนรู้ว่า เป็นSMEs ยุคนี้มีหน่วยงานรัฐอะไรบ้างที่เราต้องรู้จักเอาไว้ www.ThaiFranchiseCenter.com รวบรวมมา 10 องค์กรที่ผู้ลงทุนทุกคนต้องรู้จักและรู้จักใช้ประโยชน์จากองค์กรเหล่านี้เพื่อให้ธุรกิจของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
1.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 


สำหรับผู้ประกอบที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจสิ่งแรกที่จะต้องทำ คือ การจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันสามารถทำการ จดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th นอกจากนนี้การบริการแนะนำ ส่งเสริม และเผยแพร่มาตรฐานในการจัดทำบัญชีแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้คำปรึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนหรือการขออนุญาตตามกฏหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและงานอื่นตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
 
2.กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
 

เป็นหน่วยงานพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เสริมสร้างความรู้ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียน คุ้มครอง และป้องกันสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบเครื่องหมายการค้าออนไลน์ ในส่วนทำการจดเครื่องหมายการค้าสามารถยื่นคำขอทางเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th  กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องส่งต้นฉบับคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบไปยัง กรมฯ ภายใน 15 วัน โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
 
3.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/boithailandnews/

เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 
 
4.กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/familyditp

ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ นำเข้า – ส่งออก สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่จัดเพื่อช่วยเหลือ SME เช่น งานสัมมนา อบรม หรือเทรดแฟร์ต่างๆ นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ Thaitrade.com เว็บไซต์นี้รวบนวมสินค้าของเมืองไทยที่ที่ทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ หากมีผู้สนใจ ผู้ประกอบการสามารถทำการซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ได้โดยตรง DITP ยังมี ระบบ e-Learning เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการส่งออกได้ที่ www.ditp.go.th
 
5.กรมศุลกากร 
 
ภาพจาก  bit.ly/2uKR9rS

สำหรับผู้นำเข้าสินค้า จำเป็นต้องยื่นเรื่องกับกรมศุลกากรเพื่อบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสินค้าเพื่อให้กรมศุลกากรออกใบเลขที่ส่งสินค้าขาเข้า และผู้ประกอบการสามารถนำใบขนสินค้านี้ไปชำระภาษีอากร www.customs.go.th
 
6.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 
 
ภาพจาก bit.ly/2K2IkEc

ให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม โดยให้บริการปรึกษาผ่านหน่วยงานที่มีชื่อว่า BSC หรือ Business Service Center ซึ่งมีสาขาถึง 14 แห่ง BSC มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การผลิต เทคโนโลยี การเงินการบัญชี ให้ข้อมูลทางอุตสาหกรรม การลงทุน โอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ยังมีการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ SMEs อยู่เป็นประจำ
 
7.หอการค้าไทย 
 
ภาพจาก www.facebook.com/ThaiChamber

เป็นองค์กรกลางในการอำนวยประโยชน์ให้แก่พ้อค้าและนักธุรกิจไทย โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนอีกทั้งร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ บริการจับคู่ธุรกิจ (business matching) โดยผู้ประกอบการสามารถแสดงความประสงค์ได้ว่าต้องการทำการค้ากับประเทศใด และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การค้า ของแต่ละประเทศ
 
8.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
 

สมอ. คือหน่วยงานให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และรับรองคุณภาพให้กับองค์กรต่างๆ ตามมาตรฐาน ISO, OHS, HACCP ฯลฯ ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ จะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าสินค้านั้นจำเป็นต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานใดบ้าง โดยสามารถดูคู่มือการขอรับใบอนุญาตได้ที่ www.tisi.go.th 
 
9.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
 
ภาพจาก bit.ly/2UrKph8

ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร, ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์, วัตถุอันตราย (ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางการสาธารณสุข), หรือ วัตถุเสพติด (วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและยาเสพติดให้โทษ) จะต้องทำการขอเครื่องหมายอ.ย. เพื่อสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย
 
10.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 
 
ภาพจาก www.facebook.com/OSMEP

ให้บริการ one-stop-service เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ SMEs ในการเข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ เครือข่ายธุรกิจแบบครบวงจร ผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ และงานสัมมนาที่ทางสสว. จัดเพื่อหาความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มเติม ผู้ประกอบการยังสามารถลงทะเบียนผู้ประกอบการ เพื่อรับข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจต่างประเทศที่สสว.เป็นพันธมิตร หรือได้รับสิทธิเข้าร่วมนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดย สสว. เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.sme.go.th 
 
ซึ่งนอกจาก 10 องค์กรที่กล่าวมานี้ก็ยังมีอีกหลายองค์กรที่น่าสนใจเช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เป็นต้น

หน่วยงานเหล่านี้ตั้งขึ้นมาทำในหลากหลายหน้าที่แต่มีเป้าหมายคล้ายกันคือผลักดันและสนับสนุนการทำธุรกิจให้มีความก้าวหน้าทันสมัย ซึ่งคนทำธุรกิจยุคใหม่ควรสนใจและใส่ใจองค์กรเหล่านี้ไม่ใช่คิดเอง ทำเอง มั่นใจในตัวเองแบบการทำธุรกิจยุคเก่า
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด