บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
1.7K
2 นาที
23 เมษายน 2562
กฎหมาย E-Payment ในปีนี้กับผลกระทบในปีหน้า

ภาพจาก https://bit.ly/2Zs9Iz5

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ที่ผมเคยได้พูดถึงไปบ้างแล้วนั้นได้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที 21 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งผมขอพูดถึงอีกครั้งหนึ่งเผื่อใครที่พลาดไปไม่ได้อ่านจะได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มต้น
 
ทำไมต้องมีภาษีอีเพย์เมนต์
 
ภาพจาก bit.ly/2KVk33q
 
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นฐานกฎหมายตัวนี้เกิดจากการที่ภาครัฐต้องการหารายได้เข้าสู่ภาครัฐเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมองเห็นว่าขณะนี้คนทำธุรกิจการค้าขายบนออนไลน์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยได้มีการเสียภาษีเท่าใดนัก จึงน่าจะมีวิธีการในการดึงเม็ดเงินจากคนเหล่านี้เข้ามาโดยการเสียภาษีให้แก่รัฐ
 
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ สรรพากรเองพยายามที่จะทำเรื่องนี้มานานพอควร เพราะจริง ๆ อีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นมาในประเทศไทยเกือบ 20 ปีแล้ว ที่สุดแล้วสรรพากรจึงใช้วิธีการออกกฎหมายนี้เพื่อให้คนทำธุรกิจออนไลน์ที่มีรายได้เข้ามาถึงแม้จะเป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องมีการเสียภาษี เพราะคนทำธุรกิจออนไลน์บางครั้งไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัทการจะไปสอดส่องหรือไปติดตามเรื่องภาษีจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย
 
ในต่างประเทศส่วนใหญ่คนที่ทำธุรกิจจะมีการรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ตรง ๆ แต่คนเอเชียหลายคนมักไม่รู้ว่ารายได้เกิดขึ้นจากการค้าขายบนโลกออนไลน์หรือทำการค้าใดก็ตามจะต้องนำมาคำนวณตอนสิ้นปี รัฐจึงพยายามจะกระตุ้นกลุ่มคนที่ทำธุรกิจออนไลน์มาหลายปีแต่เมื่อไม่เป็นผล จึงออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้ดีกว่า
 
ปีหน้าความโกลาหลมาแน่ ๆ 
 
ภาพจาก bit.ly/2INrsPD

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซเริ่มกลายเป็นช่องทางที่คนไทยนิยมใช้กันมาก เห็นได้ว่าตัวเลขของคนไทยที่ขายของบนโลกออนไลน์มันโตขึ้นมาก เห็นได้จากข่าวว่าบางคนเป็นเด็กมหาวิทยาลัยแต่ทำธุรกิจบนโลกออนไลน์มียอดขายปีหนึ่งถึง 10-20 ล้านบาทแต่ก็ไม่เคยได้เสียภาษีเลย ฉะนั้นรัฐจึงตัดสินใจที่จะออกเป็นกฎหมายเสียเลย ซึ่งกฎหมายตัวนี้เกือบจะมีการออกมาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว จริง ๆ เริ่มมีการคุยและมีการทำประชาพิจารณ์กันมาตั้งแต่ก่อนปีที่แล้ว แต่จะว่าไปกฎหมายตัวนี้ถูกเร่งให้ออกมาเร็วมากเกินไปหน่อย 
 
ข้อกำหนดก็คือหากมีการฝากเงินหรือโอนเงินเข้าเกิน 3,000 ครั้งต่อปี หรือ 400 ครั้งต่อปีและมียอดรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปี ธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ อีวอลเลต มีหน้าที่ต้องรายงานหรือส่งข้อมูลให้กับสรรพากรเพื่อเอาไปตรวจสอบ โดยจะอ้างอิงจาก 1 เลขที่บัตรประชาชนต่อ 1 ธนาคาร ดังนั้น หากเรามีการฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีที่ผูกกับเลขบัตรประชาชนเดียวกันเกินจำนวนดังกล่าวใน 1 ธนาคารก็จะต้องถูกส่งข้อมูล ถึงแม้จะเป็นบัญชีที่เปิดคู่กับอีกบุคคลหนึ่งก็ต้องถูกนำมารวมด้วยเหมือนกัน 
 
สำหรับผู้ให้บริการวอลเลตจากต่างประเทศนั้นตอนนี้ยังไม่ถูกครอบคลุม ตรงนี้จะครอบคลุมกับผู้ให้บริการอีวอลเลตที่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีคนบางกลุ่มหนีไปใช้บริการของผู้ให้บริการต่างประเทศ
 
การนับ Transaction นั้นจะนับเฉพาะเงินเข้าเท่านั้น แต่ที่มีความน่ากลัวคือถึงแม้ว่าเราจะแค่ฝากเงินธนาคารและมีดอกเบี้ยเข้ามาก็ถูกนับด้วย หรือเปิดพอร์ตหุ้น 10 ตัวมีเงินปันผลเข้ามาก็นับเป็น 10 ครั้งเหมือนกัน ใครก็ตามที่บัญชีในธนาคารมีเงินเข้าเล็ก ๆ น้อย ๆ โอนเงินระหว่างกันไม่ว่าจะกรณีอะไรก็แล้วแต่ถ้าถึงเกณฑ์ก็จะโดนหมดเลย 
 
ที่สำคัญเรื่องของการสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อจ่ายเงินก็จะถูกนับจำนวนครั้งด้วย ตรงนี้จะกลายเป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกับการที่เราจะพยายามผลักดันให้สังคมไทยเข้าสู่ cashless society ปัญหาที่ตามมาคือตอนนี้บรรดาร้านค้าต่าง ๆ ที่เมื่อก่อนเคยรับเงินโอนด้วยคิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ หรือผ่านอีแบงค์กิ้งก็ไม่อยากรับ หลายร้านตอนนี้เก็บป้ายคิวอาร์โค้ดแล้ว จะเกิดเหตุการณ์ที่ร้านค้าขอรับเป็นเงินสดดีกว่าเพราะปลอดภัยกว่า ทำให้คนหลาย ๆ คนอยากย้อนกลับไปใช้เงินสดแบบเดิมมากกว่า 
 
คนบางกลุ่มจึงหันไปเปิดเป็นบริษัทให้มันถูกต้อง รับเงินเข้าบริษัทและเสียภาษีอย่างถูกต้อง หรือกลุ่มที่สองบางคนที่กลัวมากก็ไม่ใช่เลยทั้งคิวอาร์โค้ดหรือพร้อมเพย์ หรือบางคนก็จะใช้วิธีการเปิดบัญชีธนาคารไว้หลาย ๆ บัญชี ตอนนี้ประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด 20 ธนาคาร ถ้าเราเปิดบัญชีทุกธนาคารจะสามารถรับเงินได้ประมาณ 40 ล้านบาทเลยทีเดียว บอกได้เลยครับว่าหลังจากกฎหมายตัวนี้ออกมาจะมีปริมาณการเปิดบัญชีในธนาคารรายย่อยเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เป็นช่องทางในการรับเงินที่หลากหลายมากขึ้น 
 
สำหรับการค้าขายบนมาร์เก็ตเพลสที่จะมีการ Transaction เข้ามาเดือนละครั้งหรืออาทิตย์ละครั้ง ปีหนึ่งจะไม่ถึง 400 ครั้ง แม้ว่ายอดเงินจะเกิน 2 ล้านบาทก็ไม่เข้าข่ายถูกตรวจสอบซึ่งถือว่าเป็นผลดี เพราะยอดออเดอร์จะถูกรวมเป็นเงินก้อนเดียว เป็นการลดปริมาณการ Transaction ลงได้เหมือนกัน หรือวิธีการเก็บเงินปลายทางหรือใช้บริการพวกเพย์เมนต์เกตเวย์ก็เป็นการช่วยลด Transaction ได้ด้วยเหมือนกัน
 
มุมมองในแง่ของคนทำงานอีคอมเมิร์ซมองว่ารัฐออกกฎหมายนี้เร็วเกินไป เพราะตอนนี้ประเทศไทยกำลังค่อย ๆ ปรับเข้าสู่สังคมไร้เงินสดคนยังไม่ได้เริ่มใช้กันเท่าไหร่ พอออกกฎหมายนี้มาอาจทำให้คนเลิกใช้ แต่หากว่ารัฐรออีกสักสองปี รอให้ธุรกิจไทยใช้คิวอาร์โค้ด พร้อมเพย์ อีแบงก์กิ้ง ฯลฯ จนเป็นเรื่องปกติก่อนแล้วค่อยออกกฎหมายตัวนี้อันนี้ถึงโอเค
 
ความโกลาหลของกฎหมายตัวนี้จะค่อย ๆ เกิด ปีนี้อาจจะค่อย ๆ เริ่มมีคนตื่นตัวกันแต่จะไปตื่นตัวกันขนานใหญ่ในปีหน้าเมื่อมีคนโดนสรรพากรเรียกเพราะกฎหมายตัวนี้ เพราะปีนี้ได้เริ่มมีการเก็บข้อมูลแล้วและจะไปเริ่มบังคับใช้เดือนมีนาคมในปีหน้า ความโกลาหลจะเริ่มเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด