บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.6K
2 นาที
30 พฤษภาคม 2562
โมเดลธุรกิจ (Business Model) & คุณประโยชน์ที่สร้างให้ลูกค้า (Value Propositions)


ภาพจาก https://pixabay.com

ตั้งธงของการเขียนและการเรียนรู้เรื่องรูปแบบทางธุรกิจน่าจะช่วยขยายภาพให้ชัดขึ้น จุดมุ่งหมายของรูปแบบ ธุรกิจแบบแคนวาส สร้างคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับสินค้าและบริการที่นำเสนอให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าเราได้อย่างไรและรูปแบบธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจแบบไหนที่จะนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจอย่างยั้งยืนและจะเริ่มต้นทำได้อย่างไร

โมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิม

Business Model  คือ กระบวนการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท ในการสร้างและส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้าและบริการไปยังลูกค้าเป้าหมาย ที่เรามักจะได้ยิน Core Value ถือได้ว่าเป็นแกนหลักสำคัญในการวางแผนบริหารองค์กรธุรกิจ ที่จะสัมพันธ์ไปถึงการที่จะจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้เป็นแผนธุรกิจที่ดีและมีความสมบูรณ์ครบถ้วน กระบวนการในการคิด Creative Business Design เพื่อจัดทำ Develop Business Plan นี้ จะช่วยในการกำหนดการเริ่มต้นดำเนินการของธุรกิจ การปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการ หรือพัฒนาธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Business Model แปลเป็นภาษาไทย คือ รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายว่ากิจการธุรกิจ จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างไร โดยการสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า กิจการที่กำลังพิจารณานั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร

สำหรับลูกค้าและผู้ร่วมลงทุน รวมถึงองค์กร ความแตกต่างของโมเดลธุรกิจจะต่างจาก แผนธุรกิจตรงที่มีส่วนประกอบ ไม่ใช่ แผนธุรกิจที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดของการดำเนินการและการคาดหมายผลประกอบการของธุรกิจ รวมถึง Financial Projections ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้หากเราต้องการระดมเงินทุนจากนักลงทุนหรือกู้เงินจากสถาบันการเงิน


ภาพจาก https://pixabay.com

โมเดลธุรกิจแคนวาส จะเรียกว่า Business Blue Print ที่ทำให้กิจการใดกิจการหนึ่งมีฐานะทางการเงินแข็งแรงพอที่จะตั้งอยู่ได้ กิจการสามารถหาเงินได้มากพอที่จะทำให้อยู่รอดได้นั่นเอง เราเรียกว่าพิมพ์เขียวที่อธิบายวิธีการดำเนินงานขององค์กร ในการออกแบบโมเดลธุรกิจ
  • ลูกค้าคือใคร
  • งานที่ลูกค้าต้องการให้ทำคืออะไร
คนสำคัญที่ทำให้องค์กรอยู่ได้ คือ ลูกค้า
  • Business to Business  ( B2B )
  • Business to customer  ( B2C )
สิ่งที่ควรทำสร้างให้กับลูกค้า ก็คือ 
  • ลูกค้าแต่ล่ะรายมีความต้องการต่างกันทั้งในแง่สิ่งที่ต้องการอ ช่องทางการติดต่อ หรือการสร้างและรักษาความสัมพันธ์
  • ลูกค้าบางรายต้องจ่ายค่าบริการ แต่บางรายไม่ต้องจ่าย
  • องค์กรต่างๆมักจะทำเงินจากลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่าลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง

ภาพจาก https://pixabay.com

6 เทคนิคในการทำความเข้าใจลูกค้า
1. นักมานุษยวิทยา
 
ใช้การสังเกตกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรม ไม่ว่าจะสิ่งที่ทำให้อึดอัดหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่พวกเขาอยากได้รับ

จุดแข็ง ข้อมูลเที่ยงตรง ได้รู้พฤติกรรมจริง
จุดอ่อน อาจไม่พบข้อมูลที่ต้องการในการมองหาเรื่องของคุณค่า

2.นักสวมรอย
  • ทำตัวเป็นลูกค้า ทดลองใช้สินค้า
  • ถอดบทเรียนมาใช้กับของตัวเอง
จุดแข็ง ได้สัมผัสกับของจริง ไม่ว่าจะปัญหา ประโยชน์
จุดอ่อน ผู้สวมรอยอาจไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายจริงของตัวสินค้า 
 
3. นักสืบ
  • ศึกษาข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่
  • มองหาจากข้อมูลจากธุรกิจที่ใกล้เคียง
จุดแข็ง เป็นฐานที่ดีมากสำหรับการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
จุดอ่อน ข้อมูลขาดความลื่นไหลและมาจากบริบทที่ไม่เหมือนกัน
 
4. นักข่าว
  • ออกไปคุยกับลูกค้าโดยตรง
จุดแข็ง วิธีที่ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับการเรียนรู้ในช่วงแรก
จุดอ่อน ลูกค้าอาจไม่ได้รู้จักว่าตัวเองต้องการอะไร สิ่งที่ตอบอาจไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินใจ 
 
5. นักวิทยาศาสตร์
  • ดึงลูกค้ามาร่วมในการทดลอง (ทั้งอย่างรู้ตัวและ ไม่ รู้ตัว) และเรียนรู้จากผลลัพธ์ที่ได้
จุดแข็ง ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมจริงพร้อมทั้งมีหลักฐานสนับสนุน เหมาะสำหรับการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ
จุดอ่อน อาจทำได้ยากในองค์กรที่มั่นคงแล้ว เนื่องจากมีนโยบายที่เข้มงวดในเรื่องที่เกี่ยวกับลูกค้า
 
6. ผู้ร่วมสร้าง
  • ดึงลูกค้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างคุณค่าเพื่อเรียนรู้จากพวกเขา โดยร่วมมือกันสำรวจและพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ
จุดแข็ง การเรียนรู้อย่างใกล้ชิดทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น
จุดอ่อน สิ่งที่ได้เรียนรู้อาจไม่เหมาะสำหรับลูกค้าทุกคนหรือกลุ่มอื่นๆ


ภาพจาก https://pixabay.com
 
คุณประโยชน์ที่สร้างขึ้น (Value Propositions) ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการ
  • ความสะดวก 
  • ราคา
  • การออกแบบ
  • ยี่ห้อ หรือ สถานภาพ
  • การช่วยประหยัดต้นทุน
  • การลดความเสี่ยง
หลักเกณฑ์ใช้ในการประเมินการเสนอคุณค่า
  • เป็นโมเดลธุรกิจที่ยอดเยี่ยมไหม
  • ตรงไปที่งาน ปัญหา และประโยชน์ที่มีความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าหรือไม่
  • งานที่ยังไม่น่าพึงพอใจ ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และประโยชน์ที่ยังไม่มีใครสร้างขึ้นหรือไม่
  • จัดการกับปัญหาและสร้างประโยชน์เพียงไม่กี่อย่าง 
  • สร้างความรู้สึกและงานทางสังคมควบคู่ไปกับงานสร้างผลลัพธ์หรือไม่
  • วิธีวัดความสำเร็จของลูกค้า
  • งานแก้ปัญหา เกิดประโยชน์ของคนจำนวนมากหรือคนจำนวนน้อย
  • การเสนอคุณค่าของคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดหรือไม่
  • เหนือกว่าคู่แข่งแบบขาดลอยอย่างน้อยใน 1 ด้านหรือไม่
  • มันลอกเลียนแบบได้ยากหรือไม่

ภาพจาก https://pixabay.com

เปรียบเทียบการเสนอคุณค่าของคุณกับคู่แข่ง

การเสนอคุณค่าที่คุณอยากนำมาเปรียบเทียบ เลือกปัจจัยในการแข่งขัน ว่าคุณต้องการแข่งขันในเรื่องใด ได้ประโยชน์มากน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยการเขียนการเสนอคุณค่าของคู่แข่งลงบนกราฟ เลือกการเสนอคุณค่าที่เป็นตัวแทนของคู่แข่งทั้งหลายได้ดีที่สุด และอาจมีการนำเสนอทางแก้ไขของคุณค่าของคู่แข่ง (ประเมิณเอง) วิเคราะห์จุดที่คุณอยู่ วิเคราะห์กราฟและมองหาโอกาสที่ซ่อนอยู่

การเสนอคุณค่าของคุณแตกต่างจากคู่แข่งหรือไม่และแตกต่างแต่ละจุด เปรียบเทียบนั้นสอดคล้องกับงาน ปัญหา และประโยชน์ที่สำคัญในแผนภาพคุณลักษณะของลูกค้าการแก้ปัญหาและการสร้างประโยชน์ โดยยึดสิ่งที่สำคัญต่อลูกค้าเป็นหลัก
 
ทั้งหมดที่เขียนไว้ นำความรู้จากวิชาการจัดการนวัตกรรมใน Week ที่ 4. เมื่อเรียนแล้วมาย่อยให้อ่านง่ายขึ้น ยังมีความรู้ดีๆอีกมากที่จะนำมาเขียนในบทถัดไป ติดตามกันนะครับ
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด