บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.7K
3 นาที
12 มิถุนายน 2562
“เมียนมา” ขุมทรัพย์ผู้ประกอบการไทย หลังแก้ กม.ลงทุนต่างชาติ  


เวลานี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ที่มีโอกาสทางด้านการค้าและการลงทุนมากมาย แม้ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเมียนมาลดลงในช่วง 2 ปีก่อน เพราะส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลเมียนมาต้องการพิจารณาโครงการต่างๆ อย่างรอบคอบ รวมไปถึงการออกกฎระเบียบและกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทำให้โครงการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาเผชิญภาวะชะลอตัวลงบ้างในช่วงที่ผ่านมา
 
แต่ถึงอย่างไรปัจจัยดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เมียนมาลดความน่าสนใจ ในการเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทย ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ต่างทยอยเข้าไปลงทุนในเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 112 ราย มีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 3.74 แสนล้านบาท และมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาโดยรวมในปี 2561 ประมาณ 2.48 แสนล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 2 ในเมียนมา รองจากจีน ส่วนสิงคโปร์ และเวียดนามตามมาติดๆ 
 
สำหรับผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจไทยรายอื่นๆ ที่สนใจอยากทำการค้าและลงทุนในเมียนมา แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ติดต่อใคร หรือหาข้อมูลการค้าและลงทุนจากไหน วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ “คุณกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์” ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจในเมียนมามากกว่า 20 ปี มานำเสนอให้ทราบ 
 
เมียนมาแก้กฎหมาย รับนักลงทุนต่างชาติ


คุณกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์
 
คุณกริช เป็นผู้คร่ำหวอดในวงการค้าและการลงทุนในประเทศเมียนมา ในฐานะผู้จัดจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง ปลากระป๋องตรา 3 แม่ครัว รวมถึงสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย จึงอยากถ่ายทอดแนวทางการลงทุนในเมียนมา ให้ผู้ประกอบการและนักทุนไทยที่สนใจเข้าไปทำการค้าและลงทุนทำธุรกิจในเมียนมา เพื่อเตรียมความพร้อมได้อย่างถูกต้อง รู้เขา รู้เขาก่อน 
 
คุณกริช เล่าว่า ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการลงทุนด้านต่างๆ สำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ 100% ขณะที่ราคาที่ดินก็ถูกลงมาก 
 
ขณะเดียวกัน ก็อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติ สามารถร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในการทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นธุรกิจสงวนของประเทศเมียนมา แต่สินค้าที่นำมาจำหน่ายยังคงต้องนำเข้าผ่านผู้ประกอบการท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น การเปิดเสรีการลงทุนในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกครั้งนี้ จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงการเปิดประตูรับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น
 
“ไทย-เมียนมา เทรดเซ็นเตอร์” ลดอุปสรรคการค้า-การลงทุน


สำหรับผู้ประกอบการไทย ต้องติดตามพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างใกล้ชิด เยี่ยมชมพื้นที่ พบปะหารือกับรัฐบาลและเอกชนท้องถิ่น พบปะหารือกับสภาธุรกิจไทยในเมียนมา และหน่วยงานภาครัฐเอกชนของไทยในเมียนมา เช่น สถานเอกอัครราชทูต และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ซึ่งพร้อมสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการเข้าสู่ตลาดเมียนมา
 
โดยเฉพาะสภาธุรกิจไทย-เมียนมานั้น ถือเป็นองค์กรเอกชนที่พร้อมสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย เข้าไปทำการค้าและลงทุนในเมียนมาได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการสร้างอาคารไทย-เมียนมา เทรดเซ็นเตอร์ขึ้นที่ย่างกุ้ง เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการเมียมาส่งออกสินค้า มีการลงทุนมากขึ้น ช่วยกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน 


สำหรับผู้ประกอบการไทย สามารถนำสินค้ามาจัดแสดงในอาคารไทย-เมียนมา เทรดเซ็นเตอร์ได้ เพื่อเพิ่มโอกาสการค้าขาย การส่งออกสินค้าเข้าตลาดเมียนมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาคารดังกล่าวจะสร้างโอกาส และประโยชน์ที่เกิดจากการค้าการลงทุน ซึ่งจะเป็นเฟืองจักรส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การค้าการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศเติบโตไปพร้อมกัน 
 
โดยสินค้าของไทยที่สามารถนำไปจัดแสดงในอาคารไทย-เมียนมา เทรดเซ็นเตอร์บริเวณชั้น 1 ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่ม และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ 
 
ส่วนชั้นที่ 2 เปิดเป็นลานกิจกรรม การแสดงสินค้าสำหรับโชว์ให้ลูกค้าเมียนมารับรู้สินค้าไทย และผู้ประกอบไทยรู้จักสินค้าที่ผลิตในเมียนมามากขึ้น โดยจะเป็นพื้นที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการไทยและเมียนมาสลับกันทุกเดือน โดยมุ่งเน้นที่สินค้าชุมชน สินค้าโอท็อป โดยด้านหลังของชั้นที่ 2 จะถูกจัดเป็นสถานที่โชว์สินค้าของเมียนมาที่สามารถโชว์สินค้าได้ถึง 100 บริษัท
 
โอกาสธุรกิจร้านอาหารไทยในเมียนมา


ภาพจาก bit.ly/2I8jzn0
 
คุณกริช กล่าวว่า ปัญหาการเปิดร้านอาหารไทยในย่างกุ้ง คือ ค่าเช่าแพง หากรายได้ไม่ดีเจ๊งแน่นอน ถ้าคิดทำร้านอาหารในย่างกุ้งต้องตั้งราคาแพงๆ ไปเลย เพราะเมียนมาคนรวยก็รวยล้นฟ้า มักจะหาซื้อสินค้าที่มีระดับ คนจนจะบริโภคข้าวใส่ปิ่นโต ดังนั้น การเปิดร้านอาหารในเมียนมาต้องจับผู้บริโภคระดับบน ตกแต่งร้านอาหารให้สวยงาม วัตถุดิบมีคุณภาพ รสชาติอร่อยทานแล้วติดใจ บริการดี เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าทำได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว 
 
หากใครคิดเปิดร้านอาหารในเมียนมา ไม่ควรทำร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ เพราะคนเมียนมาจะทานเยอะมาก ที่ผ่านมาคุณกริชเคยทำร้านอาหารหมูกระทะขายดีมาก ทุกวัยจะมีคนมาทานประมาณ 200-300 คน แต่ยิ่งขายเยอะ ยิ่งเจ๊งเร็ว เพราะจัดเต็มเรื่องอาหารเอาเข้าไลน์ เติมกุ้งหลายๆ กิโลกรัม ไม่นานก็หมดถาด เรียกว่าเมนูทุกอย่างที่วางไว้หมดเร็ว ลูกค้าทานเยอะจนเจ๊ง แต่ทั้งนี้พื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเปิดร้านอาหารในเมียนมา ก็คือ เมียนมา เพราะลูกค้าจะมีรายได้สูง 
 
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนบุกตลาดเมียนมา


ภาพจาก bit.ly/2KIHMSx
 
คุณกริช เล่าว่า การบุกตลาดต่างประเทศ ไม่เฉพาะเมียนมาเท่านั้นก็จะเหมือนกัน มีทั้งยาก ทั้งง่าย เพราะพฤติกรรมของผูบริโภคแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ก่อนอื่นผู้ประกอบการไทบควรสำรวจดูความพร้อมของตนเองก่อนเป็นอันดับแรก คือ
  1. ความพร้อมด้านเงินทุน
  2. ความพร้อมด้านตัวสินค้า
  3. ความพร้อมด้านเทคโนโลยี
  4. ความพร้อมด้านภาษา
  5. ความพร้อมด้านกฎหมาย
  6. ความพร้อมด้านคอนเน็คชั่น
  7. ความพร้อมด้านการตลาด ฯลฯ
 
สำหรับความพร้อมด้านตัวสินค้า ผู้ประกอบการไทยควรทดลองขายภายในประเทศดูก่อนว่าขายได้หรือเปล่า ถ้าขายได้ก็ดูต่อว่าสินค้ามีความแข็งแรงหรือยัง เพราะหากขายในตลาดภายในประเทศแล้ว การผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการ หรือผลิตแล้วขายไม่ได้สินค้าล้นตลาด ก็ยังพอแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยังไม่ยากเท่าตลาดต่างประเทศ สิ่งสำคัญในการบุกตลาดเมียนมา ผู้ประกอบการไทยต้องมีความรู้เรื่องของภาษาอังกฤษหรือเมียนมาเป็นอย่างดี เพราะจะสื่อสารได้ง่ายขึ้น 
 
สินค้าไทยมาที่หนึ่งในใจเมียนมา


ภาพจาก bit.ly/2F4SIX8
 
คุณกริช เล่าต่อว่า แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเมียนมาที่อยู่ในประเทศไทย พอกลับไปอยู่บ้านเขา เขาจะคุ้นเคยและรู้จักสินค้าของไทยเป็นอย่างดี อีกอย่างในช่วงที่เขาอยู่ในประเทศไทย เขาได้รับเอาข้อมูลข่าวสาร โฆษณาถูกกรอกเข้าหูอยู่ทุกวัน ดังนั้น แรงงานเหล่านี้ พอกลับถึงประเทศเมียนมา ก็จะเป็นพาหะที่ดีในการนำเอา Products Knowledge หรือความรู้ในตัวสินค้ากลับไปเผยแพร่ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สินค้าไทยได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ 
 
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปเมียนมา ผู้ประกอบไทยจะได้เปรียบประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางบก อีกทั้งยังได้เปรียบเรื่องของภาษีนำเข้า ที่ประเทศคู่แข่งหลายๆ ประเทศต้องขนส่งทางเรือเดินสมุทร เพื่อส่งสินค้าเข้าไปขาย 


จะเห็นได้ว่าด้วยขนาดของตลาดเมียนมา ที่มีประชากรจำนวนราวๆ กว่า 54 ล้านคน และการที่เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวถึงราวร้อยละ 7 ต่อปี ทำให้การผ่อนคลายกฎระเบียบการลงทุนต่างๆ น่าจะทำให้เมียนมาเป็นประเทศที่เนื้อหอมประเทศหนึ่งในสายตาของนักลงทุนจากทั่วโลก 
 
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมให้ดีก่อนบุกตลาดเมียนมา สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนและผู้บริโภคเมียนมา อย่าถูกคนเมียนมา ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบ แล้วสุดท้ายคุณก็จะทำธุรกิจในเมียนมาได้ยั่งยืน  
 
ผู้ประกอบการสนใจบุกตลาดเมียนมา ติดต่อ สภาธุรกิจไทย-เมียนมา bit.ly/2XLcBtO
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
อ่านจดหมายข่าวบุคคลอื่นๆ www.thaifranchisecenter.com/newsletter/index.php
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด