บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.8K
2 นาที
13 มิถุนายน 2562
การบริหารความเสี่ยง Professional Risk Management
 
ภาพจาก https://bit.ly/2WDRjBO

อยากเขียนเรื่องนี้มากเลยนะครับ เพราะหลายๆองค์กรหรือ SME ส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ เคยเขียนเรื่อง Business Cycle ไปในหลายบทความแต่คนไม่เจอจะไม่รู้เลยว่าเรื่องนี้ คือ เรื่องที่ธุรกิจต้องเจอแน่นอนไม่ช้าก็เร็วตามอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้  https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=4507
 
ระบบ Safety ที่ดีของเครื่องบิน คือ จะต้อง มีอะไรบ้างที่เรารู้กัน ต้องมีเครื่องยนต์สำรองอย่างน้อย 2 เครื่องยนต์ เพื่อลดความเสี่ยงจากสิ่งที่อาการเครื่องบินขัดคร่อง อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจได้ให้กับผู้โดยสารไปด้วย ธุรกิจก็เช่นกัน
 
จำเป็นต้องมี 2 เครื่องยนต์ เพราะสามารถที่จะลดภาระความเสี่ยงได้ แต่การลดความเสี่ยงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้เจอประสบการณ์มาก่อนแล้วใช่ไหม ? ข้อนี้น่าสนใจมากนะครับกับ SME ที่ต้องสร้างระบบการบริหารความเสี่ยง ใครอยู่ในสายโรงงานผลิตอาหารเคยได้ยินคำว่า “ HACCP “ มันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกัน 
 
ภาพจาก https://bit.ly/31DS5xw

HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis Critical Control Point หมายถึง การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร

ทุกๆส่วนของอุตสาหกรรมก็มีส่วนของความเสี่ยงมาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้นในบทความนี้จะเล่าถึงความเสี่ยง จะอยู่ในส่วนที่ 9 ในแผนธุรกิจ : หัวข้อการวางแผนความเสี่ยง Risk management plan 
 
ปัจจัยความเสี่ยงที่ใช้ในการกำหนดระดับความเสี่ยงระดับประเทศ อาจจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
  1. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic Risk)
  2. ความเสี่ยงทางการเมือง (Political Risk)
  3. ความเสี่ยงของระบบการเงิน (Financial System Risk)
อยากให้เห็นภาพกว้างๆก่อนของธุรกิจ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความเสี่ยงของการเงินในหัวข้อความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งใช้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ และเงินบาท เป็นเงินสกุลหลักที่ใช้ในการดำเนินการ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คือความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการเนื่องจาก 

 
ภาพจาก https://bit.ly/2wQreQt
  • การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลให้ธุรกิจประสบปัญหาทางด้านการเงิน 
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความเสี่ยงที่ธุรกิจสามารถบริหารจัดการได้ 
  • การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนช่วยทำให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์รายได้และ  
ต้นทุนเพื่อการวางแผนธุรกิจ และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน แนวทางของบริษัทฯ ในการลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น บริษัทฯ ได้บริหารความเสี่ยงโดยการใช้เครื่องมือทางการเงินดังนี้
  1. ควบคุมปริมาณการขายสินค้าล่วงหน้า มีการทำสัญญาซื้ออัตราแลกเปลี่ยน -ล่วงหน้าไว้บางส่วน  
  2. มีการวางแผนใช้เงินสกุลต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกไปชำระค่าวัตถุดิบและวัสดุหีบห่อที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการบริหารด้วยวิธีป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า     
เราคงจำได้ว่าปี 40 หลายๆบริษัทเจอผิดของฟองสบู่แตก แบบไม่ทันต้องตัวหลายบริษัทถึงขั้นหมดตัวกันเลย    มันจึงเป็น  1 ปัจจัยที่มีผลกระทบจากภายนอกเข้ามาหาเราแบบไม่ได้มีแผนรองรับ

และต้องยอมรับสภาพแบบนั้นกันใช่ไหม เมื่อไม่ยอมเราต้องรู้อะไรกันบ้าง เราควรต้องรู้เป้าหมายขององค์กรเราก่อนเลย สิ่งที่อยากให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจเรื่องการรับรู้ความเสี่ยงอะไรบ้างขององค์กรเรา
 
โดยการประเมินความเสี่ยง และหาวิธีจัดการความเสี่ยง Basic เลยนะครับ  รับรู้ต้นทุนขององค์การที่เราเรียกว่า Fix Cost ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คงที่ ค่าพนักงาน ค่าเช่า และอีกส่วน คือ Variable Cost คือ ค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบต่างๆ ผลิตมากก็ค่าใช้จ่ายมาก การวางแผนจึงสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ จากต้นทุนที่แปรผัน การพยาการณ์ยอดขายต้องคำนวณให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่จะต้องผลิต มันจึงต้องเข้าใจในเรื่องของ Business Cycle


ภาพจาก https://pixabay.com
 
ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำเข้าสู่ตลาด (Introduction stage)
  1. ยอดขายจะต่ำ หรือ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
  2. ต้นทุนสูง( ผลิตน้อย )
  3. กำไรน้อยมาก( ต้นทุนสูง )
  4. การจัดจำหน่ายอยู่ในขอบเขตจำกัด
ขั้นที่ 2 ขั้นเจริญเติบโต (Growth stage) มีลักษณะคือ
  1. ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว( สินค้าเริ่มติดตลาด )
  2. กำไรสูงขึ้น ตามยอดขาย( ผลิตมากและเรียนรู้มาก )
  3. คู่แข่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ( คู่แข่งขันเริ่มเห็นว่าตลาดขยายตัว )
  4. มีการกระจายการจัดจำหน่ายให้กว้างขึ้น ( ตลาดขยายตัว )
ขั้นที่ 3 ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity stage)


ภาพจาก https://pixabay.com

ยอดขายเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุดและจะเริ่มลดลง เนื่องจากตลาดใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและมีคู่แข่งขันมากมีลักษณะดังนี้ คือ
  1. ยอดขาย และ กำไร จะสูงถึงจุดสูงสุด และเริ่มลดลง
  2. ต้นทุนลดลง(ผลิตมาก)
  3. เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย(เพื่อขายให้ได้มากขึ้น)
  4. ปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ(เพื่อยืดระยะเวลาให้สินค้าอยู่ในตลาดนานขึ้น)
ขั้นที่ 4 ขั้นตกต่ำ (Decline stage) มีลักษณะ ดังนี้
  1. ยอดขายลดลงมาก(สินค้าไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป)
  2. กำไรลดลง(ขายได้น้อย/ผลิตน้อย)
  3. คู่แข่งลดลง(ออกจากอุตสาหกรรมหรือเปลี่ยนแปลงสินค้า)
ทางออกของธุรกิจ คือ  


ภาพจาก https://pixabay.com
  • เลิกกิจการหรือเลิกผลิต(ขาย)สินค้าที่ไม่มีกำไร
  • เปลี่ยนตลาดหรือเปลี่ยนส่วนตลาด แก้ไขปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ทำไมถึงย้ำ เรื่องนี้ เพราะขายองค์การขายดี แต่ไม่มีแผน ไม่ได้เอากำไรไปต่อยอด เอาไปทำสิ่งที่ไม่ถนัดก็จะเกิดปัญหาภาระหนี้สิ้นมากกว่ารายได้  และ SME เมืองไทยส่วนใหญ่เจอสภาวะเช่นนี้
    
เพราะไม่ได้ออกแบบธุรกิจมาก่อนเริ่มต้น เรียนรู้จากสิ่งที่ตัวเองรู้และเข้าใจจากการเป็นลูกจ้างองค์การนั้นๆเคยทำงานในมุมเดิม อยากให้มองมุมกว้างมากขึ้น หรือ วิเคราะห์ปัญหาขององค์เก่าก่อนจะดีอย่างมากตวามเสี่ยงในบทนี้อยากให้เข้าใจเรื่องวงจรของธุรกิจก่อน เพราะเกือบทุกๆธุรกิจจะต้องเป็นเช่นนี้


อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด