บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    การสร้างความเป็นผู้นำ
3.3K
2 นาที
10 กรกฎาคม 2562
ความเป็นผู้นำกับภาวะผู้นำ ในธุรกิจ SMEs แฟรนไชส์


เมื่อวานได้รับเกียรติไปนั่งฟังบรรดารุ่นพี่ที่เก๋าด้านธุรกิจแฟรนไชส์ เบอร์ต้นๆของเมืองไทยในการสรรหาตำแหน่งนายกคนใหม่มานั่งเป็นผู้นำสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ หรือ FLA คนที่ 3 แม้เราจะเด็กสุด แต่ก็อยู่กับสมาคมมา 5 ปีแล้วครับ พอเข้าใจวัฒนธรรมของสมาคมอย่างดี ได้รับโอกาสดีๆจากรุ่นพี่ๆให้มาร่วมวงด้วยครับ

เราคุยกันเรื่องคุณสมบัติของผู้นำของผู้ที่จะมาเป็นนายก เราไม่ได้เอนเอียงกันเลย แต่เราจะทำอย่างไรให้ได้นายกที่เหมาะสมและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสมาคมให้ประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกและสร้างความเชื่อถือให้กับธุรกิจแฟรนไชส์เมืองไทยดีขึ้น วันนี้จึงอยากจะนำเสนอเรื่อง “ ผู้นำ“ กันบ้างครับ


ความเป็นผู้นำกับภาวะผู้นำ ดูสั้นๆ ง่ายๆ ความหมายดี ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในทุกๆองค์กรผู้นำที่มีดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
  1. ความมุ่งมั่น (drive)
  2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
  3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
  4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
  5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
  6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
มาลองดูทฤษฎีของ Mintzberg’s Managerial Roles
1.Interpersonal การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร

  • Figurehead  เป็นหัวโขน : รับแขก แจกของ ร้องเพลง เปิดงาน ปิดงาน
  • Leader  เป็นผู้นำ  : จูงใจ ส่งเสริม พัฒนา ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • Liaison เป็นผู้ประสานงาน : ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2.Informational การสื่อสารหรือข้อมูลในองค์กรด้านข้อมูลข่าวสาร
  • Monitor เป็นผู้รับข้อมูล : เก็บรวบรวมติดตามข้อมูลมั้งภายในและภายนอกองค์การ
  • Disseminator เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล : ให้กับพนักงานและหน่วยงานต่างๆในองค์การ
  • Spokesperson เป็นผู้แถลงข่าว : เช่นนโยบาย แผนงาน ผลการดำเนินงานไปยังภายนอกองค์การ
3.Decisional (ด้านการตัดสินใจ)
  • Entrepreneur  เป็นผู้ประกอบการ : แสวงหาโอกาส ริเริ่มงานใหม่ๆ พิจารณาทบทวนงานปัจจุบัน
  • Disturbance Handler  เป็นผู้แก้ไขความขัดแย้ง : ทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ
  • Resource Allocation  เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร : ให้กับหน่วยงานต่างๆภายในองค์การ
  • Negotiator เป็นผู้เจรจาต่อรอง : ในทุกระดับพนักงาน สหภาพ คู่สัญญา รวมทั้งกับองค์การอื่นๆ
4.Dimensions ทักษะที่ความมีครบถ้วนทุกมิติ เรามักจะแบ่ง Skills ออกเป็น 4 มิติ 
Conceptual Skills
  • ความสามารถในการใช้ข้อมูลข่าวสารแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
  • ความสามารถในการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ
  • การตระหนักในกรอบของปัญหาและความสามารถในการดำเนินการแก้ไข
  • ความสามารถในการกลั่นกรองและเลือกสรรข้อมูลที่สำคัญที่จะนำมาใช้
  • ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ
  • ความเข้าใจในการกำหนดรูปแบบธุรกิจขององค์การ
Communication skills

  • ความสามารถในการแปลงความคิดเห็นเป็นคำพูดและการกระทำ
  • ได้รับความเชื่อถือในหมู่เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
  • มีความสามารถในการฟังและถามปัญหา
  • ความสามารถในการนำเสนอด้วยการพูดอย่างมีหลักการ
  • ความสามารถในการนำเสนอด้วยการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและรูปภาพ
Effectiveness Skills
  • ช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้พันธะกิจและจุดมุ่งหมายของหน่วยงานบรรลุผล
  • กิจกรรมต่างๆมุ่งที่ลูกค้าเป็นสำคัญ
  • สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน
  • มีความสามารถในการตรวจสอบการปฏิบัติงานและปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • กำหนดและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  • กำหนดกิจกรรมที่ควรทำก่อนหลังได้ถูกต้อง
  • รู้จักการบริหารเวลา
Interpersonal Skills
  • ความสามารถในการสอนและเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้คนที่หลากหลายและแตกต่างวัฒนธรรม
  • มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับผู้คนในองค์การ
  • สามารถทำงานเป็นทีม มีความผูกพันและความร่วมมือ
Why Study Management  ผู้บริหารทั้งหลายในทุกองค์การล้วนมีหน้าที่การจัดการเหมือนกัน วางแผน, จัดการองค์การ, การเป็นนำ การสร้างผู้นำ การสร้างผู้ตามหรือผู้ปฎิบัติงาน และสร้างระบบควบคุม มาจากวิชาการจัดการที่ผู้บริหารต้องเข้าใจกระบวนการทั้งองค์กร แต่ไม่จำเป็นต้องลึกมากก็ได้ เพราะผู้นำก็จะมีหน้าที่บริหารในส่วนงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
ส่วนอำนาจการตัดสินใจก็ต้องมีลำดับกันอย่างชัดเจน
  • Organizational Culture and Environment เมื่อวานเรามีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัฒนธรรมองค์การ และ สิ่งแวดล้อมองค์การเดิมกันก่อน การจะสร้างรูปแบบใหม่ๆเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้นำที่จะเข้ามาก็ต้องเข้าใจพื้นฐานเดิมขององค์กรนั้นๆให้ดีเสียก่อน มุมมองในอดีต สู่ ปัจจุบัน
Omnipotent View  : ผู้บริหารถูกมองว่ามีบทบาทต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ

Symbolic View :
ผู้บริหารเป็นเพียงสัญลักษณ์ขององค์การ เพราะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก ( ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ) ที่กระทบต่อต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การมากกว่าบทบาทของผู้บริหาร
 
Organizational Culture วัฒนธรรมองค์การ เป็นค่านิยม และ ความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น เปรียบได้กับ บุคลิกภาพ (Personality ) หรือ จิตวิญญาณ (Spirit) ขององค์การ

 
วัฒนธรรมองค์การ 7 ลักษณะ
  1. Attention to Detail เน้นให้พนักงานรู้จักศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียด
  2. Outcome Orientation มุ่งที่ผลงาน มากกว่าวิธีปฏิบัติ
  3. People Orientation   ให้ความสำคัญกับบุคลากรในการตัดสินใจต่างๆของผู้บริหาร
  4. Team Orientation มุ่งให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม มากกว่าตัวบุคคล
  5. Aggressiveness เน้นให้พนักงานคิดและทำงานในเชิงรุก มากกว่าออมชอม
  6. Stability เน้นรักษาความมั่นคงและสถานะภาพขององค์การ
  7. Innovation and Risk Taker เน้นส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และกล้าเสี่ยง
เมื่อได้ผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ดี การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่ดี เป้าหมายที่จะไปก็สำคัญยิ่งนัก การเปลี่ยนก็จำเป็นที่ทุกองค์กรก็ต้องพร้อมที่จะปรับไปตามสังคมและเทคโนโลยรที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาและสร้างสังคมขององค์กรให้มั่นคงและเติบโตต่อไป

 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด