บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.0K
2 นาที
22 กรกฎาคม 2562
เริ่มต้นสตาร์ทอัพ ทำอย่างไรให้รอดใน 5 ปี 
 

จากกรณีสตาร์ทอัพบริการสั่งของจากซูเปอร์มาร์เก็ตผ่านช่องทางออนไลน์ “ออนเนสบี” (honestbee) ยุติให้บริการในประเทศไทยไปแล้ววันนี้ (22 ก.ค.62) และพบว่าสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์กำลังวุ่น ผู้ร่วมก่อตั้งลาออกจากตำแหน่ง ก่อนปิดบริการส่งอาหาร-ซักอบรีด ส่วนผลประกอบการในไทยพบว่าเมื่อปี 2560 ขาดทุน 2 บริษัทเกือบ 100 ล้านบาท

ภาพจาก https://bit.ly/2SrbehK
 
ขณะที่ก่อนหน้านี้ Ofo สตาร์ทอัพเช่าจักรยานสาธารณะชื่อดังในจีน ก็ได้เผชิญปัญหาสภาพคล่องภายใน ทั้งกระเเสเงินสด เเละการเลิกจ้างพนักงาน วิกฤติรุนเเรงจนถึงขั้นอาจเตรียมขอยื่นล้มละลายต่อศาล และปิดให้บริการในไทยหลายแห่งไปแล้วเช่นกัน 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอเทคนิคและวิธีการทำสตาร์ทอัพ ให้อยู่รอดใน 5ปี และประสบความสำเร็จอย่างมั่นคง ซึ่ง พอล เกรแฮม (Paul Graham) จาก Y Combinator ศูนย์บ่มเพาะชื่อดัง Top 5 ของโลกในสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายไว้เพิ่มเติมว่า ธุรกิจที่จะสามารถเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 2 อย่างคือ


ภาพจาก  www.facebook.com/idealab/
  1. ทำธุรกิจที่นำเสนอสิ่งที่เป็นความต้องการของตลาดที่มีขนาดใหญ่ 
  2. ความสามารถในการเข้าถึงตลาดที่ใหญ่นั้นได้
ขณะที่ บิล กรอส (Bill Gross) นักลงทุนและผู้ก่อตั้งบริษัท Idealab ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและศึกษา พบว่าการที่สตาร์ทอัพจะประสบความสำเร็จ ต้องมีปัจจัย 5 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย แนวคิด ทีมงาน แผนธุรกิจ เงินทุน และจังหวะเวลา
 
1.แนวคิดหรือไอเดียในการทำธุรกิจ 
 
ต้องมีความแปลกใหม่ มีความน่าสนใจ ตอบโจทย์ปัญหา หรือ pain point ของผู้บริโภคได้ และสร้างความเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง ที่จะทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
 
2.ทีมงามสนับสนุน ทำงานเป็นทีม 
 

ภาพจาก www.idealab.com/

เมื่อมีไอเดียที่ดีแล้ว คุณจำเป็นต้องหาผู้ที่มาร่วมกันทำงานเป็นทีม เพราะธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว การคัดเลือกคนมาร่วมในทีมทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
 
3.กำหนดแผนธุรกิจให้มีความชัดเจน 
 
ว่าสินค้าหรือบริการของธุรกิจคืออะไร กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร จะสร้างรายได้จากจุดไหนได้บ้าง แผนธุรกิจที่ชัดเจนจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินไปในทางที่ถูกต้อง ธุรกิจที่คุณทำจะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ และสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคด้วย เพื่อการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน
 
4.มีเงินทุนและรู้จักบริหารเงินทุน 
 
ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นทำธุรกิจ เพราะหากไม่มีเงินทุนแล้วธุรกิจคงไปได้ยาก แต่หากวิเคราะห์ให้ลึกกว่านี้ การมีเงินทุนที่มากพอ ก็ไม่ได้รับรองว่าธุรกิจของคุณจะไปรอด เพราะนอกจากมีเงินทุนแล้ว การบริหารเงินทุน รวมถึงการจัดทำบัญชีอย่างรอบคอบ ก็เป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจเช่นกัน
 
5.ช่วงจังหวะเวลาเปิดตัวธุรกิจ 
 

ภาพจาก  www.facebook.com/idealab/

การทำธุรกิจต่อให้มีปัจจัยทั้ง 4 ที่กล่าวมาข้างต้นเพียบพร้อมแล้ว แต่ถ้าธุรกิจเปิดตัวและดำเนินการในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ในช่วงตลาดอิ่มตัว หรือมีตัวเลือกมาก ก็จะทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ บิล กรอส ได้ค้นพบจากการศึกษาและวิจัย Startup ที่ประสบความสำเร็จ คือ กระบวนการทำงานกับไอเดียนั้นสำคัญมาก แต่จังหวะเวลากลับสำคัญกว่าทุกอย่าง และวิธีที่ดีที่สุดที่จะประเมินจังหวะเวลาคือ 

ดูว่าเวลานั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ พร้อมหรือยังกับสิ่งที่คุณจะเสนอให้ ซึ่งต้องประเมินอย่างตรงไปตรงมา อย่าหลอกตัวเองกับผลลัพธ์ที่เห็น เพราะถ้าคุณมีสิ่งที่คุณรักจะทำและต้องการส่งมอบมัน คุณต้องประเมินผลลัพธ์อย่างซื่อสัตย์กับตัวเอง
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้านหน้าโรงงาน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

SMEs Tips
  1. แนวคิดหรือไอเดียในการทำธุรกิจ 
  2. มีทีมงานสนับสนุน ทำงานเป็นทีม
  3. กำหนดแผนธุรกิจให้มีความชัดเจน 
  4. มีเงินทุนและรู้จักบริหารเงินทุน  
  5. ช่วงจังหวะเวลาเปิดตัวธุรกิจ 
อ้างอิงข้อมูล
 

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด