บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.6K
3 นาที
26 กรกฎาคม 2562
การศึกษาความเป็นไปได้ของการร่วมทุนเพื่อพัฒนาองค์กร
 

ภาพจาก https://pixabay.com

หลายๆ ที่เราได้แค่เรียนรู้ รับรู้ แต่ขาดการลงมือทำ นั้น คือ อุปสรรคในการเริ่มต้นการทำงาน บทความนี้ตัวผู้เขียนเองเริ่มต้นจากการลงมือทำก่อนที่จะได้รับรู้เรื่องวิธีการหรือทฤษฎีที่จำเป็นต้องรู้ หลังจากได้เข้าปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ในรั่วมหาลัย ปริญญาโท อีก ครั้ง ทำให้เราเข้าใจมิติและศาสตร์แห่งการบริหารองค์กรมากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จึงอยากเก็บประสบการณ์ที่ทำงานด้านที่ปรึกษามาแบ่งปันกัน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างทางธุรกิจ
  2. เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นไปได้ทางเทคนิค การปฏิบัติงานเศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย
  3. เพื่อให้รู้จักการบริหารโครงการโดยใช้ผังแกนท์ และ แผนภาพเพิร์ธ
  4. เพื่อให้สามารถเขียนผังแกนท์ และแผนภาพเพิร์ธ
  5. เพื่อให้สามารถวางแผนงานและควบคุมโครงการ
  6. เพื่อให้สามารถพิจารณาความคุ้มทุนในการพิจารณาโครงการ
การเข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
 

ภาพจาก https://pixabay.com

วัฎจักรการพัฒนาระบบงาน ( System development Life Cycle : SDLC ) คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการในการพัฒนาระบบงาน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในการทํางานและจุดสิ้นสุดของการปฏิบัติงาน การพัฒนาจะประกอบไปด้วยกลุ่มกิจกรรม 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน 
  • การวิเคราะห์ (Analysis) 
  • การออกแบบ (Design) 
  • การนำไปใช้ (Implementation)
 *** สำคัญอย่างมากที่ต้องนำตัวเข้าไปในงานแล้วจะเข้าใจปัญหาที่แท้จริง ***
 
สัญญาณบ่งชี้และแหล่งของปัญหา
  • สัญญาณที่บ่งบอกปัญหา 
  • แหล่งปัจจัยภายใน 
  • แหล่งปัจจัยภายนอก 
การกำหนดปัญหา (Problem Definition)


ภาพจาก https://pixabay.com
  • กำหนดหัวเรื่องของปัญหา (Subject) กำหนดว่าระบบที่กำลังจะศึกษามีปัญหาอะไร โดย SA ต้องแสดงส่วนที่ก่อปัญหา และที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล พร้อมนิยามปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน (แยกอาการกับปัญหา) เช่น พนักงานในองค์กรไม่สามารถทำงานต่างๆ ให้เสร็จหมดใน 1 วัน
  • กำหนดขอบเขตของการศึกษา (Scope) เป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการศึกษา โดยกำหนดว่าจะศึกษาระบบเพียงใด จะทำการศึกษาในฝ่ายใดบ้าง กลุ่มบุคคลที่จะเก็บข้อมูลเป็นใครบ้าง เป็นต้น
  • กำหนดเป้าหมายของการศึกษา (Objectives) สิ่งที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้
การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)


ภาพจาก https://pixabay.com

การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หมายถึง การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปว่าควรพัฒนาระบบงานหรือไม่ และควรพัฒนาด้านใด (บางงานในระบบเดิมอาจจะดีอยู่แล้ว) การศึกษาความเป็นไปได้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
 
1.ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ของการสร้างระบบใหม่ โดยนำเทคโนโลยีที่มีในระบบปัจจุบันมาใช้งาน หรือ การอัปเกรดเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือ ควรใช้เทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด  เทคโนโลยี ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ต้องมั่นใจว่าเทคโนโลยีนั้นมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ ง่ายต่อการใช้ 
 
2.ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน  (Operational Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ของระบบใหม่ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงความต้องการของผู้ใช้ การคำนึงถึงทัศนคติและทักษะของผู้ใช้งานกับระบบใหม่ที่มีการปรับโครงสร้างการทำงานว่าเป็นที่พอใจและยอมรับหรือไม่ อาจศึกษาว่า ระบบใหม่สามารถเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ถูกต้องหรือไม่  ต้องตรวจสอบว่า  ระบบใหม่สามารถติดตั้งรวมกับการทำงานของระบบปัจจุบันได้หรือไม่  และจะใช้งานร่วมกันอย่างไร ในการติดตั้งระบบใหม่ งานใดบ้างที่ต้องปรับโครงสร้างการทำงานใหม่  หรืองานใดบ้างที่ต้องฝึกอบรมการทำงานใหม่
 
3.ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economical Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์  (Economical Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ในทางการเงินและเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ ความคุ้มค่าของระบบประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้สำหรับการทำโครงการ อาจแยกเป็น  ค่าใช้จ่ายในการศึกษาระบบ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

รวมถึงการบำรุงรักษาระบบ ผลประโยชน์ที่จะได้รับในรูปแบบของการลดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายของระบบเดิมที่ยังไม่พัฒนา เทียบกับระบบที่กำลังจะพัฒนาค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร คือค่าจ้างแรงงานที่จะจ่ายหลังจากพัฒนาระบบเสร็จแล้วค่าใช้จ่ายด้านติดตั้งระบบ เช่น ค่าสถานที่ เฟอร์นิเจอร์ จัดทำข้อมูล จัดทำเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ, ค่าอบรม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติงาน เช่น ค่าไฟฟ้า อาคารสถานที่ เป็นต้น
 
4.ความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย (Legal Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย (Legal Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ในด้านระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ว่าระบบที่จะพัฒนานั้นต้องไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย และขององค์กรที่มีอยู่ 
 
การบริหารโครงการ (Project Management) 
 

ภาพจาก https://pixabay.com

โครงการ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน มีหลายขั้นตอน แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ ทั้งในเรื่องของเวลา งบประมาณ ทรัพยากรดังนั้นต้องมีการวางแผนกิจกรรม อาจอยู่ในรูปของตาราง จะใช้ แกนต์ชาร์ต (gantt chart) มาช่วยในการวางแผนและกำหนดเวลาในการทำงานของโครงการ จะเขียนในรูปกราฟของกิจกรรม โดยที่ แกน Y แทนกิจกรรมต่างๆ ที่มีในโครงการ แกน X แทนเวลาในการทำงานของแต่ละกิจกรรม
 
การควบคุมโครงการ
 
จะใช้ PERT Diagram (หรือ Program Evaluation and Review Technique) มาช่วยในการบริหารโครงการด้วยการวางแผน ควบคุม โดยเน้นด้านเวลาในการดำเนินโครงการ
  • Node   – ใช้แทนจุดเริ่มต้น/จุดสิ้นสุดกิจกรรม
  • เส้นตรง – ใช้แทนกิจกรรม
  • เส้นประ – ใช้แทนกิจกรรมสมมติ (Dummy Activity)
การประมาณต้นทุนและกำไร
ต้นทุน (Cost) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. ต้นทุนที่แสดงให้เห็นเด่นชัด คือค่าใช้จ่ายที่สามารถประมาณการได้ เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายโดยตรงในการทำโครงการ เช่น ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ค่าจ้างพนักงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เวลาที่ SA ใช้ เวลาที่ Programmer และค่าเช่าสำนักงาน
  2. ต้นทุนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด คือค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้แน่นอน เช่น การสูญเสียระดับการแข่งขัน การสูญเสียความเป็นที่รู้จักในตอนแรกของการสร้างนวัตกรรมใหม่การตัดสินใจบางอย่างที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถใช้สารสนเทศได้
กำไร (Benefit) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ


ภาพจาก https://pixabay.com
  1. กำไรที่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด  คือ กำไรที่สามารถวัดค่า หรือตีค่าออกมาอย่างชัดเจน อาจตีค่าเป็นหน่วยเงิน จำนวนทรัพยากร หรือเวลา เช่น การเพิ่มความเร็วในการประมาณผล, ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การช่วยให้พนักงานทำงานเสร็จโดยใช้เวลาน้อยลง การเพิ่มยอดการขาย, การเพิ่มอัตราการผลิต เป็นต้น
  2. กำไรที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด เป็นกำไรที่ไม่สามารถจะวัดค่าได้อย่างแน่นอน เช่น กำไรของการตัดสินใจที่ดีกว่าในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้, กำไรที่ได้จากการทำให้ภาพพจน์ของธุรกิจดีขึ้น เป็นต้น
การพิจารณาความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ
 
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์การถือเป็นงานที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งหมายถึงต้องมีการลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในอนาคต ดังนั้นเงินทุนที่ได้ลงทุนไปจึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ว่า ประกอบด้วยต้นทุนอะไรบ้าง และความคุ้มค่าจากการลงทุนที่เกินจากการพัฒนาระบบใหม่ จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้วนานเท่าใด ต้องใช้ระยะเวลาเท่าใดในการคืนทุน เป็นต้นซึ่งมีวิธีการพิจารณาที่เป็นที่นิยมอยู่ 3 แบบ คือ
  1. การวิเคราะห์โดยพิจารณาจุดคุ้มทุน (Break-even analysis)
  2. การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback analysis)
  3. การวิเคราะห์มูลค่าของเงินปัจจุบัน (Present value analysis)
1.การวิเคราะห์โดยพิจารณาจุดคุ้มทุน (Break-even analysis) เป็นการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการในระบบปัจจุบันกับค่าใช้จ่ายของโครงการใหม่ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าเมื่อระบบมีการเติบโตแล้วค่าใช้จ่ายก็ย่อมเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนต่อระบบใหม่ยังคงเดิม ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจไม่เป็นจริงต่อระบบธุรกิจ แต่จะใกล้เคียงความเป็นจริงเมื่อเป็นระบบงานของรัฐเนื่องจากรัฐไม่มุ่งเน้นหากำไร
 
2.การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback analysis) วิธีนี้จะพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาภายหลังจากการใช้งานระบบใหม่ 
 
3.การวิเคราะห์มูลค่าของเงินปัจจุบัน (Present value analysis) ค่าเงินในปัจจุบัน และอนาคตจะมีค่าไม่เท่ากัน เช่น เงิน 100 บาทในปัจจุบัน หากเวลาผ่านไป 5 ปี ค่าของเงิน 100 บาทก็จะลดลง


ภาพจาก https://pixabay.com
 
มูลค่าปัจจุบัน  = (กำไรปีที่ n)* (ปัจจัยส่วนลด)
ปัจจัยส่วนลด  = 1/ (1+r/100) n (เมื่อ r คืออัตราดอกเบี้ย)

จากตัวอย่างหลายๆหัวข้อ แม้จะออกเชิงวิชาการ แต่เข้าใจได้ไม่ยากนัก “ การพิจารณาความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ “ ต่างต้องอาศัยข้อมูล เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ในธุรกิจหรือในอุตสาหกรรมของเราเอง เพื่อแสวงหาช่องทางหรือรูปแบบของเราในการแข่งขันในตลาดเดียวกัน

ติดตามบทความถัดไปที่จะหาเคสตัวอย่างมานำเสนอเพื่อนๆสมาชิกกันครับ


 
อาจารย์อ๊อด  น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด