บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
3 นาที
23 สิงหาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ธุรกิจเพลงไทย
 

จากเพลงลูกทุ่ง สู่เพลงลูกกรุง สู่เพลงสตริง และสู่เพลงอีกสารพัดแนวที่ได้เห็นในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของวงการเพลงไทย การรับเอาวัฒนธรรมตะวันตก การเข้ามาของเทคโนโลยี ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการเพลงได้ทั้งสิ้น
 
กว่า 45 ปีที่คนไทยได้รู้จักกับคำว่า “วงการเพลง” จากวงสุนทราภรณ์ สู่นักร้องชั้นนำต่างๆ มากมาย เราเชื่อว่ามีหลายเรื่องมากมายเกี่ยวกับวงการเพลงที่น่าสนใจ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมมาเป็น10เรื่องจริงวงการเพลงไทยที่คุณยังไม่รู้ มีอะไรบ้างลองไปดูกัน!
 
1. ศิลปินเพลงสตริงไทยวงแรก


ภาพจาก bit.ly/30nhdHO
 
“The Impossible” เป็นศิลปินเพลงสตริงไทยวงแรกๆ ที่มีรูปแบบคล้ายศิลปินต่างประเทศ ทั้งเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ, ซาวด์เพลง, การแต่งกายที่สร้างกระแสแฟชันฮิตในยุคนั้น และที่สำคัญเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้วงการเพลงไทย ก้าวเข้าสู่ยุคการเป็น “ธุรกิจเพลง”
 
2. สู่ยุคเพลงไทยยอดขายล้านตลับ


ภาพจาก bit.ly/2Zja1iB
 
จาก The Impossible ผ่านไป 15 ปี ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่วงการเพลงไทย นั่นคือ การเกิดขึ้นของอัลบั้ม “เมดอินไทยแลนด์” ของคาราบาว ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ในช่วงปี 2527 สาเหตุที่ทำให้อัลบั้มนี้ดังเป็นพลุแตกเพราะเป็นช่วงรัฐบาลส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และเพลงนี้ถูกเปิดในสถานีวิทยุ ทั้ง FM และ AM บวกกับเนื้อหาโดนใจคนไทย สร้างสถิติยอดขาย 3 ล้านตลับซึ่งถือว่าเป็นยอดขายที่สูงมากๆในยุคนั้น
 
3. เปิดตัวค่ายเพลง Grammy, RS และ คีตา


ภาพจาก bit.ly/2zfghJr
 
ก่อนหน้านั้นธุรกิจเพลงไทย เป็นระบบนายห้าง คือ คนทำเพลงเขียนเพลงเสร็จ ขายให้นายห้าง โดยตกลงมูลค่าการซื้อขาย เมื่อขายให้แล้ว สิทธิ์ในเพลงนั้นๆ อยู่กับนายห้าง จนกระทั่งเมื่อการผลิตเทปยุคนั้น บูมถึงจุดหนึ่ง จึงมีการตั้ง “ค่ายเพลง” ขึ้นมา มีผู้บริหารเป็นนักธุรกิจ และคนทำเพลงร่วมกัน ทำให้มีการผสมผสานทั้งวิธีการคิดแบบคนทำธุรกิจ และคนทำเพลงเป็นโมเดลของธุรกิจเพลงยุคใหม่และก่อเกิดค่ายเพลงชื่อดังมากมายทั้ง Grammy ,RS และ คีตา และอีกหลายค่ายที่เกิดตามมาหลังจากนี้
 
4. กระแส “อินดี้” เริ่มเข้ามา


ภาพจาก bit.ly/2ZkVSNL
 
ค่ายใหญ่ครองวงการเพลงไทย เป็นระยะเวลา 20 ปีโดยประมาณ กระทั่งวงการเพลงเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเกิดวง “Modern Dog” ของศิลปินวง Modern Dog ค่ายเบเกอรี่ มิวสิค
 
ช่วงปี 2537 ประกอบกับการทำการตลาดที่เปลี่ยนไป ด้วยการเจาะกลุ่มคนที่ไม่ใช่ Generation เดิมๆ ไม่ได้คิดว่าต้องขายได้ล้านตลับ แต่คิดว่า เอาเพลงเป็นตัวนำ และเอาศิลปินที่มีความเก่งจริง ปล่อยออกไป เป็นการมองธุรกิจที่ฉีก และกล้าในยุคที่ค่ายเพลงครองประเทศไทยในเวลานั้น และหลังจากเกิดค่ายเบเกอรี่ มิวสิค ในช่วงปี 2537 – 2541 มีค่ายอินดี้เกิดตามมาอีกเพียบไม่ต่ำกว่า 40 – 50 ค่าย
 
5. ยุคเทปผี-ซีดีเถื่อนระบาดหนัก


ภาพจาก bit.ly/33JtWqa
 
วงกลางเพลงไทยได้รับผลกระทบครั้งยิ่งใหญ่เมื่อมีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล Disrupt วงการ ด้วยพายุลูกแรกคือ MP3 ที่ทำให้คนฟังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยมองว่าเพลงคือสิ่งที่เข้าถึงง่าย ทำไมต้องจ่ายแพง และเป็นของฟรี ไม่จำเป็นต้องซื้ออีกต่อไป โหลดเถื่อนก็ได้ สวนทางกับผู้ประกอบธุรกิจที่บอกว่ายุคทำซีดีแรกๆ การทำซีดี ค่ายผู้ผลิตต้องส่งไปที่โรงงานต่างประเทศ
 
และในช่วงนั้นถ้าเป็นเพลงไทย ราคาซีดีหน้าปกอยู่ที่ 350 บาท เพลงสากล 550 บาทต่อปก จากนั้นขยับลงมา 290 บาท จึงถือว่ามีต้นทุนต่อเพลงที่ค่อนข้างสูงเพราะยังไม่รวมค่าบริการจัดการที่กว่าจะได้มาแต่ละเพลง จึงไม่น่าแปลกใจที่ศิลปินอย่าง เสกโลโซ จะออกมาแต่งเพลงสะท้อนปัญหาอย่าง “เพลงพันธ์ทิพย์” ที่เชื่อว่าเป็นเพลงโด่งดังข้ามยุคมาถึงสมัยนี้
 
6. การเกิดขึ้นของ “เทศกาลดนตรี”


ภาพจาก bit.ly/33SuNFi
 
สมัยก่อนนักร้องก็คือนักร้อง ร้องเพลงกันอย่างเดียว แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน การร้องเพลงคือส่วนหนึ่งของธุรกิจค่ายเพลงนำมาสู่การพาศิลปินในสังกัดหารายได้ในอีกหลายช่องทาง ในช่วงปี 2544 ถือเป็นจุดเริ่มของคำว่า เทศกาลดนตรี ที่ค่ายเพลงจัดให้ศิลปินได้ไปเจอแฟนเพลง คนฟัง รวมถึงการให้ศิลปินมีการเล่นสด แสดงสด การขายของที่ระลึก เสื้อยืด แผ่นลิมิเตด สะท้อนให้เห็นทิศทางของธุรกิจที่แตกต่างไปจากวงการเพลงไทยในดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง
 
7.การเข้ามาของ Youtube


ภาพจาก bit.ly/2HjrvkE
 
การเกิดขึ้นของ “YouTube” เปรียบเป็นเวทีเปิดกว้างให้ใครก็ได้ที่อยากแสดงความสามารถด้านต่างๆ มาอยู่บนแพลตฟอร์มนี้ โดยที่ผู้ฟัง – ผู้ชม คือคนทั่วโลก ตัวอย่างของศิลปินที่เติบโตด้วยแพลตฟอร์มนี้คือ ศิลปินวง “Room 39” คนไทย 3 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แจ้งเกิดจากการ Cover เพลงดัง ทั้งไทย และสากลผ่าน YouTube จนเป็นที่รู้จักในคนไทย
 
จนวันหนึ่งมีเพลงเป็นของตัวเอง YouTube จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ศิลปิน หรือแม้คนธรรมดาอยากทำเพลง ทำขึ้นมา และอัพขึ้นอยู่บน YouTube ซึ่งข้ามขั้นตอนมีเดียต่าง ตัดคนกลางไปอย่างรุนแรง
 
8. จุดชี้วัดเพลงยุคใหม่ไม่ใช่ยอดขายแต่เป็นยอด View


ภาพจาก bit.ly/2Z8lPoo
 
จากอดีตที่เราเคยอึ้งทึ่งกับคำว่ายอดขายล้านตลับ แต่ศิลปินยุคใหม่ไม่ได้มีการอัดเพลงลงตลับลงแผ่นซีดี แต่ส่วนใหญ่ใช้การปล่อย Single ทีละเพลงเพื่อเช็คกระแสความนิยมว่าคนสนใจไหม เพลงไหนฮิตก็จะมี Single ที่ 2 ตามมา ศิลปินไหนที่ปล่อยเพลงแรกออกมาแล้วไม่ปัง ก็ดับไปโดยปริยาย
 
เสน่ห์ของศิลปินยุคนี้จึงอยู่ที่ ยอด View กลยุทธ์ทางการตลาดให้ความสำคัญกับ คำว่า “ร้อยล้านวิว” ที่บางทีหลายคนอาจไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่ายอดวิวที่แสดงให้เห็นเกิดจากคนกดเข้าไปดูหรือเกิดจากการปั่นกระแสของค่ายเพลงเพื่อให้เพลงนั้นฮิตติดชาร์จ
 
9. Music Streaming


ภาพจาก bit.ly/2P3w2Of
 
Music Streaming คือแนวทางการฟังเพลงยุคใหม่ที่ให้ทุกคนสามารถฟังเพลงได้ตามต้องการ ด้วยการจัด Playlist ของตัวเอง โดยศิลปินที่ประสบความสำเร็จกับแนวทางนี้ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ “The Toy” ที่มีการปล่อยเพลงออกมาหมดแล้ว ทางค่ายตัดสินใจผลิตแผ่นออกมา เกิดปรากฏการณ์จองซีดี เป็นยุค Pre-order
 
10. Idol Model เขย่าวงการเพลงไทย


ภาพจาก bit.ly/2ZgX8kP
 
อุตสาหกรรมเพลงเดินทางมาถึงโมเดลใหม่ที่เขย่าธุรกิจเพลงในไทยอย่างรุนแรงเช่นกัน นั่นคือ การเกิดขึ้นของ “Idol Model” ที่สมาชิกในวงเป็น “Idol” ไม่ใช่เพียงการถือไมค์ร้องเพลง และเต้น ออกคอนเสิร์ตเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่เป็น “Idol”
 
ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ “BNK48” ที่สังกัดสร้างช่องทางสื่อสารให้แฟนคลับได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง และชู Story ของศิลปินในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความผูกพันระหว่างไอดอลกับแฟนคลับ ถือเป็นการเน้นไปที่ภาพลักษณ์โดยรวมเหมือนดูละครเรื่องหนึ่งแต่ไม่ได้เน้นที่เพลงซึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น
 
เชื่อได้เลยว่ายิ่งยุคสมัยเปลี่ยนอนาคตของวงการเพลงไทยก็จะมีอะไรให้พูดถึงอีกมาก สิ่งที่เราเห็นตอนนี้อาจจะกลายเป็นอดีตในอีก 10-15 ปีข้างหน้า เหมือนกับรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ชอบพูดเสมอว่านักร้องสมัยนี้ร้องเพลงอะไรฟังไม่รู้เรื่อง ในอนาคตเราก็อาจจะเป็นคนพูดประโยคเหล่านี้ให้ลูกฟังเหมือนกันว่า “เพลงอะไรสมัยนี้ ฟังไม่เห็นจะรู้เรื่อง” เหล่านี้คือวัฏจักรและการเปลี่ยนผ่านจากยุคหนึ่งไปสู่ยุคหนึ่งที่มองดีๆ ก็น่าสนุกและน่าติดตามเหลือเกิน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด