บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
2 นาที
26 สิงหาคม 2562
ผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้! มาตรการกระตุ้นการลงทุนและการท่องเที่ยวในไทย
 

หลาย ๆ ท่านคงจะทราบกันดีว่าช่วงนี้เศรษฐกิจมีการชะลอตัว ความผันผวนในเศรษฐกิจโลกค่อนข้างสูง ซึ่งก็ส่งผลกระทบถึงบริษัทรายใหญ่ รายย่อย  ซึ่งแน่นอนว่าทุก ๆ คนที่ทำธุรกิจอยู่ขณะนี้ต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับความผันผวนดังกล่าวให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดพนักงาน เปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การตลาดต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอดและกระตุ้นกำไร รวมถึงเหล่าผู้บริโภคที่ก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยหรือออกไปเที่ยว เพราะกลัวปัญหาด้านการเงิน ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหรือร้านค้าที่เคยคึกคักกลับซบเซาลง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูมาตรการจากสำนักงานเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง ปี 2562 ที่ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยให้สามารถดำรงชีพได้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 


ภาพจาก bit.ly/320vqL2
 
ภายในมาตรการนี้นั้นประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่
  1. มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้าน
  2. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2562 และเกษตรกรรายย่อย
  3. มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่คุณผู้อ่านได้ทราบกันก่อน
 
มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ


ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว และส่งเสริมการลงทุนของ SMEs และภาคเอกชนผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษี โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
 
3.1 มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ

ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

“ชิมช้อปใช้” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) โดยผู้สนใจเข้าร่วมมาตรการจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านเว็บไซต์ 
 
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 


ภาพจาก bit.ly/2zilUGW
  1. รัฐบาลสนับสนุนวงเงินจำนวน 1,000 บาท ต่อคน เพื่อเป็นสิทธิในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการโดยไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้
     
  2. หากผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ ในการซื้อสินค้าและบริการดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่รับชำระเงินด้วยแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
 
3.2 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


ภาพจาก bit.ly/2KWWeGc
 
โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อสนับสนุน SMEs ทั่วไปให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุน SMEs ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม ขยายกิจการ และยกระดับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ
 
3.3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme


ภาพจาก bit.ly/2U1VAu8
 
โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS8) วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ต้องการสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่มีหลักประกันไม่เพียงพอ 
 
ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี โดย บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 30 และรัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี หรือร้อยละ 3.5 ของวงเงินค้ำประกัน
 
3.4 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน


ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง (หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 1 เท่าตามปกติ และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มอีก 0.5 เท่า โดยเฉลี่ยเท่ากันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) สำหรับการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
 
นอกเหนือจากโครงการ/มาตรการสนับสนุนการลงทุนของ SMEs และการลงทุนของภาคเอกชนผ่านมาตรการด้านสินเชื่อ การค้ำประกันสินเชื่อ และมาตรการภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังมีมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนเพื่อสนับสนุน SMEs และที่อยู่อาศัย เพื่อสนับสนุน SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อ SMEs และวงเงิน 52,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
 
สำหรับมาตรการใหม่นี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ก็เห็นว่าเป็นมาตรการที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะประชาชนจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลคนละ 1,000 บาท โดยสามารถใช้ได้กับร้านค้า แหล่งท่องเที่ยวที่ร่วมรายการในหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งก็เป็นส่วนกระตุ้นให้ประชาชนได้ออกมาท่องเที่ยว เพื่อให้รายได้กระจายสู่ท้องที่ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักไม่ซบเซาแบบที่ผ่าน ๆ มา แถมยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายเล็กทั่วประเทศให้เข้าถึงเงินทุน เพื่อให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และสร้างแรงส่ง (Momentum) ให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 และปี 2563 ให้เติบเพิ่มสูงขึ้น
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด