บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
2 นาที
6 กันยายน 2562
6 เทคนิคเซ้งกิจการไม่ให้สูญเงินเปล่า สร้างยอดขายปังๆ


ปัจจุบันการทำธุรกิจ ถ้าใครไม่อยากสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเอง เพราะเสียเวลาลองผิดลองถูก ส่วนใหญ่ก็จะซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็มีอีกตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ก็คือ “เซ้งกิจการ” 
 
สำหรับการเซ้งกิจการ ก็คือ การเปลี่ยนเจ้าของธุรกิจ เป็นการเปลี่ยนจากเจ้าของเดิมที่ทำกิจการอยู่แล้ว ซึ่งมีการเช่าพื้นที่ตั้งกิจการจากเจ้าของพื้นที่ ให้มาเป็นกรรมสิทธิ์การดำเนินกิจการ โดยเจ้าของใหม่ซึ่งได้มีการทำสัญญาเช่าใหม่
 
โดยสิ่งที่ผู้เซ้งจะได้รับในการเซ้งกิจการต่อจากเจ้าของเดิม นอกเหนือไปจากตัวธุรกิจ ก็คือ ทำเล องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ วัสดุอุปกรณ์ใช้ในธุรกิจ หน้าร้าน ฐานลูกค้าเก่า รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในชื่อแบรนด์ ชื่อร้าน เป็นต้น 
 
แล้วเทคนิคการเซ้งกิจการหรือร้านไม่ให้สูญเงินเปล่า ทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จะมานำเสนอให้ทราบครับ
 
1.กิจการมีสัญญาเช่าหรือไม่
 
ภาพจาก bit.ly/2lVlJh8

หากเป็นกิจการที่มีสัญญาเช่า หรือต้องเช่าพื้นที่ ควรจะมีสัญญาเช่าที่ชัดเจน และต้องสามารถเปลี่ยนชื่อผู้เช่าในสัญญาได้ หากธุรกิจที่คุณจะเซ้งเป็นเช่นนั้น คุณก็วางใจได้ว่าคุณจะไม่สูญเงินเปล่า
แต่หากเป็นธุรกิจที่ไม่มีสัญญาเช่า ถ้าคุณเจอกิจการแบบนี้ คุณตกอยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลา เพราะถ้าเจ้าของพื้นที่ตรวจพบหรือเปลี่ยนนโยบายใหม่ คุณก็อาจะออกจากพื้นที่ได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ต้องศึกษาสัญญาเช่าให้ดี
 
2.ค่าใช้จ่ายในสัญญาเช่า คุ้มหรือไม่คุ้ม
 
ภาพจาก bit.ly/2lD6B83

ระยะเวลาสัญญาเช่า ถือว่าสำคัญมาก คุณควรจะดูและคำนวณให้ละเอียด เพราะมันคือต้นทุนแรกสุด ที่คุณจะตัดสินว่าถ้าเซ้งแล้วจะคุ้มหรือไม่ โดยคุณควรจะนำเอาค่าเซ้งมารวมกับค่าเช่าต่อเดือน เพื่อคำนวณ โดยนำจำนวนเดือนที่เหลือในสัญญาเช่าจากเจ้าของที่จริงมาคำนวณ แล้วคุณก็จะได้ต้นทุนหลักแต่ละเดือนว่า จะต้องเสียเท่าไร แต่อย่าลืมว่าต้นทุนคุณ ไม่ได้มีแค่เรื่องนี้อย่างเดียว ยังมีค่าอย่างอื่นอีก ถ้าต้นทุนแรกไม่คุ้มแล้ว คุณก็ไม่ควรเซ้งกิจการนั้นๆ
 
3.มีค่าเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่าหรือไม่
 
ภาพจาก bit.ly/2klKRNU

ถือเป็นต้นทุนอีกรายการเช่นกัน ควรจะเช็คเสียก่อนว่า หากต้องเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่า จะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้ามีค่าเปลี่ยนคิดราคาเท่าไร และใครเป็นคนรับผิดชอบระหว่างผู้ไปเซ้ง หรือผู้ให้เซ้งกิจการ

4.ตรวจวัสดุอุปกรณ์ในร้านที่จะได้จากการเซ้ง
 
ภาพจาก bit.ly/2lCge77

บางกรณีการเซ้งกิจการ อาจเป็นการเซ้งแบบรวมมูลค่าของอุปกรณ์ในร้านด้วย ก่อนจะเซ้งควรตรวจดูว่า อุปกรณ์จะได้รับราคาเท่าไร มีสภาพการใช้งานอย่างไร มีความจำเป็นสำหรับกิจการของคุณหรือไม่ 
ควรแยกแต่ละรายการอย่างละเอียดว่า อะไรใช้ได้ อะไรไม่ได้ใช้ และอะไรที่ขาด เพราะสิ่งเหล่านี้รวมอยู่ในต้นทุนเช่นกัน ยิ่งเซ้งกิจการพร้อมอุปกรณ์ในสภาพดี ถือว่าเป็นการลดต้นทุนการเริ่มธุรกิจของคุณได้อีกทาง แถมไม่เสียเวลาไปซื้อใหม่อีกด้วย
 
5.ค่าใช้จ่ายองค์ความรู้ในกิจการ
 
ภาพจาก bit.ly/2kxYt8y

การเซ้งกิจการ อาจจะรวมค่าความรู้ด้วย เช่น สูตรอาหาร สูตรน้ำ สูตรขนม หากคุณคิดว่าความรู้นั้นเป็นความรู้เฉพาะ หรือต้องใช้เวลาศึกษามันก็คุ้มค่าที่จะจ่าย แต่หากเป็นความรู้ที่คุณมีอยู่แล้ว หรือหาง่าย คุณอาจเลือกไม่เรียนเพื่อต่อรองราคาได้
 
6.ลงสำรวจร้านหรือสถานที่จริง
 
ภาพจาก bit.ly/2lC8q58

ถือว่าสำคัญหากคุณตัดสินใจเซ้งกิจการต่อ คุณต้องไปสำรวจพื้นที่ร้านหลายๆ ครั้ง เพราะมันคืออนาคตของกิจการ การลงพื้นที่จะทำให้คุณได้รู้ว่าสภาพกิจการเป็นอย่างไร บรรยากาศ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร ลูกค้าเยอะไหม ยอดขายดีไหม และควรจะสุ่มดูหลายๆ ช่วงเวลาเพื่อดูช่วงคึกคักและช่วงคนเงียบ เพื่อประกอบการตัดสินใจและที่สำคัญอย่าไปให้เจ้าของรู้ตัว
 
หลายคนทราบอยู่แล้วว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจ การเซ้งกิจการก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ที่ผู้ที่คิดจะเซ้ง ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ หากใจร้อน ไฟแรง ศึกษาไม่รอบคอบแล้วรีบเซ้ง คุณอาจจะไปคว้ากิจการที่เน่าและกำลังจะเจ๊งมารับช่วงต่อ ถ้าคุณไปเซ้งเอากิจการแบบนั้นมา อาจต้องเจ๊งตั้งแต่เริ่มต้นก็ได้ 
 
สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของร้านค้า ที่กำลังมองหาทำเลในการเปิดร้านทั่วไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

SMEs Tips
  1. กิจการมีสัญญาเช่าหรือไม่
  2. ค่าใช้จ่ายในสัญญาเช่า คุ้มหรือไม่คุ้ม 
  3. มีค่าเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่าหรือไม่
  4. ตรวจวัสดุอุปกรณ์ในร้านที่จะได้จากการเซ้ง
  5. มีค่าใช้จ่ายองค์ความรู้ในกิจการ
  6. ลงสำรวจร้านหรือสถานที่จริง
 
อ้างอิงข้อมูล
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด