บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
9.1K
2 นาที
16 กรกฎาคม 2555
เริ่มต้นธุรกิจ SMEs สำหรับมือใหม่ ภาค1

ธุรกิจ SMEs ดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เริ่มต้น คนเหล่านี้มักมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่าควรเริ่มต้นจากจุดไหนก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไปจึงจะประสบความสำเร็จ แนวทางการเริ่มต้นธุรกิจเราควรเริ่มจากการหาข้อมูลใน 3 ด้านใหญ่ๆ คือ กำลังของตนเอง ตลาดลูกค้าและคู่แข่ง จากนั้น จึงไปสู่การจัดตั้งองค์กร ซึ่งในแต่ละด้านมีรายละเอียดปลีกย่อย ดังนี้
 
วัดกำลังตนเอง 
  1. การรู้จักตน โดยประเมินว่าตนเองมีคุณสมบัติที่จะทำธุรกิจนั้นๆหรือไม่ เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ ยอมรับความเสี่ยงในด้านต่างๆดังเช่น กล้านำเงินออมที่เก็บทั้งชีวิตมาลงทุน เป็นต้น และที่สำคัญคือ ต้องหนักแน่น จริงจัง และกล้าตัดสินใจ 
     
  2. เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง โดยดูจากความชอบ ความถนัด ความสนใจของตนเองเป็นหลัก เพราะงานที่ตนรักจะทำให้ผู้ประกอบการอยากแสวงหาความรู้ใหม่ๆทางธุรกิจ 
     
  3. สำรวจฐานะทางการเงินว่าตนเองมีเพียงพอหรือไม่ การเงินควรจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ เช่น แบ่งไว้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว แบ่งเป็นเงินฝากไว้กับธนาคารเพื่อใช้ในยามจำเป็น และแบ่งไว้สำหรับการออมเพื่อการลงทุน อาจเป็นการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เมื่อจัดแบ่งเป็นส่วนต่างๆแล้ว เราจะเห็นว่าตนเองมีเงินเพียงพอเพื่อทำธุรกิจหรือไม่ หรือต้องหาจากแหล่งเงินกู้อื่นๆ 
     
  4. มีทำเลที่ตั้ง ถ้าผู้เริ่มต้นธุรกิจมีสถานที่เป็นของตนเอง และอยู่ในทำเลที่ดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากผู้เริ่มต้นยังไม่มี ควรมองหาทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ย่านศูนย์การค้า ชุมชน อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น และเรายังต้องคำนึงต่อด้วยว่าทำเลควรใช้วิธีซื้อ หรือเช่าดี

    โดยดูที่เงินทุนว่ามีเพียงพอหรือไม่ หากเรามีเงินน้อยก็ควรใช้วิธีเช่าจะดีกว่า ทั้งนี้ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรดูถึงรายละเอียดของสัญญาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่เพียงไร
     
สอดส่องตลาดลูกค้า-คู่แข่ง 
  • รู้ข้อมูลของลูกค้า ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรสำรวจความต้องการสินค้าหรือบริการว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับลูกค้ากลุ่มใด วัยใด ชาย หรือหญิง เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการผลิตต่อไป 
     
  • รู้ข้อมูลของคู่แข่ง ธุรกิจในปัจจุบันมีมากมาย เราจำเป็นต้องทราบว่าคู่แข่งของเราเป็นอย่างไร จุดเด่น จุดด้อยของเขาอยู่ตรงไหน แต่การรู้มูลของคู่แข่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต่างฝ่ายต่างปิดบังข้อมูลเหล่านี้ 
 
การจัดตั้งธุรกิจ 

เมื่อเราประเมินตนเองและประเมินตลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดตั้งธุรกิจ วิธีจัดตั้งธุรกิจแบ่งเป็นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ 
  • การตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจ ต้องมีความชัดเจนว่าธุรกิจทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยผู้เริ่มต้นธุรกิจต้องคำนึงว่า เมื่อตั้งขึ้นมาแล้วจะสามารถทำตามได้หรือไม่ 
     
  • รูปแบบขององค์กร รูปแบบขององค์กรมีหลายลักษณะคือ เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ความรับผิดชอบของทั้ง 3 ลักษณะจะต่างกันไป คือ เจ้าของคนเดียว จะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในทุกเรื่อง ห้างหุ้นส่วนคือมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ความรับผิดชอบของแต่ละคนมากน้อยต่างกันไปตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ ส่วนผู้ที่ลงทุนด้วยรูปแบบบริษัท ก็ต้องมีสมาชิกก่อตั้งจำนวน 7 คนขึ้นไป และผลตอบแทนที่ได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล 
  •  
  • การหาแหล่งเงินทุน ปกติเงินทุนมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ เงินทุนที่อยู่ในมือ และเงินทุนที่มาจากการกู้ยืม สำหรับการขอกู้เงิน หากเป็นนักลงทุนรายใหม่อาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไม่ได้รับความเชื่อถือ ดังนั้นการสร้างเครดิตหรือความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสิ่งที่ยืนยันความน่าเชื่อถือของเราได้คือ ผลการดำเนินงานของกิจการที่ผ่านมา รวมถึงสถานะทางการเงิน เช่นงบการเงินต่างๆ ประมาณการกำไรที่คาดว่าจะได้รับ 
     
  • สินค้าหรือบริการที่จะผลิต ต้องสอดคล้องกับข้อมูลความต้องการของลูกค้า และที่สำคัญ สินค้าควรมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่เหมือนใคร 
     
  • การจัดจำหน่ายสินค้า ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรดูความเหมาะสมของตลาดว่า จะจัดจำหน่ายในลักษณะใด เช่น ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ผ่านพ่อค้าคนกลาง มีผู้แทนจำหน่าย หรือหลายวิธีรวมกัน เป็นต้น 
     
  • การจัดการทางการเงิน คือ การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เงินหมุนเวียนไหลคล่องตลอด สิ่งที่ช่วยให้รู้ฐานะการเงินของเราคือ การทำบัญชี งบการเงิน ไม่ว่าจะเป็น งบดุล งบกำไรขาดทุน ประมาณการรายรับรายจ่าย เป็นต้น

    นอกจากนี้ผู้เริ่มต้นธุรกิจยังต้องแบ่งส่วนเงินทุนหมุนเวียนไว้เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในกิจการ เช่น เงินเดือนพนักงาน เงินจัดซื้อวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เงินเหล่านี้ต้องควบคุมให้พอใช้ไม่ขาดมือ เพราะถ้าผู้ประกอบการสะดุดกับภาวะการเงิน กิจการอาจหยุดชะงักลงได้ 
     
  • พนักงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้านายจ้างสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พนักงานก็จะมีขวัญ และกำลังใจที่ดีในการทำงาน ผลที่ตามมา กิจการจะเจริญรุดหน้า
     
อ้างอิงจาก การดำเนินธุรกิจ SMEs คู่มือดำเนินธุรกิจ SMEs โดย นันทินาถ อมรประสิทธิ์

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,790
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด