บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
7.4K
2 นาที
21 มกราคม 2563
5 สิ่งที่ไม่ควรทำในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี


ขึ้นปี 2563 หลายคนมองว่าเศรษฐกิจไทยจะย่ำแย่มากกว่าปี 2562 ด้วยซ้ำไป มีทั้งโรงงานทยอยปิดกิจการ คนตกงาน นักศึกษาหางานทำไม่ได้หลายแสนคน การส่งออกชะลอตัวลง รวมถึงหนี้ครัวเรือนของคนไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ คนขายของไม่ได้ ประชาชนรัดเข็มขัดในการใช้จ่าย
 
แล้วในช่วงสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี เราจะทำอะไรบ้าง หรือเราไม่ควรทำอะไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำในช่วงสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี
 
1. อย่าค้ำประกันให้คนอื่น


ภาพจาก bit.ly/2RcIyKr
 
อย่าว่าแต่ในยามเศรษฐกิจไม่ดีเลย บางคนตั้งปณิธานไว้จะรักกันแค่ไหน ก็จะไม่ค้ำประกันให้ใครเด็ดขาด เพราะหลายคนต้องเจอบทเรียน บาดเจ็บ ชีวิตสะดุดจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น เข้าข่ายเนื้อไม่ได้กินแต่เอากระดูกมาแขวนคอ
 
ดังนั้นควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม จงอย่าค้ำประกันให้ใคร ส่วนใครที่จำเป็นจริงๆ ก็อ่านดูสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็นค้ำประกัน โดยทั่วไปจะแบ่งความรับผิดชอบหนี้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
  1. รับผิดชอบหนี้ไม่จำกัดจำนวน เสมือนเป็นลูกหนี้ทุกประการ ต้น-ดอก หรือหนี้อื่นๆ รับหมด
  2. จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึงรับผิดชอบหนี้ไม่ทั้งหมดของหนี้สิน รับผิดชอบเพียงบางส่วนเท่านั้น
 
พิจารณาให้ดี อย่าเซ็นให้ใครอย่างเด็ดขาด แม้ว่าอดีตหรือวันนี้ เขาอาจจะยังไม่เคยมีประวัติ หรือมีปัญหามาก่อน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตเขาจะไม่มีวันเบี้ยวหนี้
 
2. ชะลอการลงทุนเพิ่มในธุรกิจ


ภาพจาก bit.ly/2G60S1E
 
ในยามเศรษฐกิจไม่ดี การทำธุรกิจหรือการค้าการขาย ยอดขายและผลกำไรย่อมลดลง ผู้ประกอบการหลายรายต่างคิดหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพื่อดึงยอดขายและกำไรกลับมา

หนึ่งในวิธีการเพิ่มกำไรคือ การลงทุนเพิ่ม จะเป็นการเปิดสาขาใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออย่างอื่นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ตรงนี้ขอบอกว่าพักไว้ก่อนเพราะอาจเป็นความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง หากการลงทุนเพิ่มต้องกู้เงินเพิ่มหนี้ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะระยะเวลาการคุ้มทุนในยามเศรษฐกิจถดถอยย่อมมีมากขึ้น
 
หากต้องการเพิ่มยอดขายให้กลับมา อาจเริ่มที่การปรับลดรายจ่าย หรือถ้าเป็นคนค้าขายอาจขยายเวลาการปิด-เปิดออกไป สรุปปรับที่พฤติกรรมหรือเพิ่มโปรโมชั่นดีกว่าลงทุนเพิ่ม เพราะนั่นคือการเพิ่มความเสี่ยง
 
3. ไม่นำเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้โดยไม่จำเป็น


ภาพจาก bit.ly/2RDtMeK
 
เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่จะสามารถนำมาเยียวยาความฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นตกงาน ประสบอุบัติเหตุ ธุรกิจประสบปัญหา ฯลฯ บางคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือธุรกิจ 
 
หรืออาจยังไม่รู้สึกว่า ตนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ชะล่าใจ ควักเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น จนสุดท้ายในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในชีวิต อาจจะไม่มีเงินรองรับใช้ในยามฉุกเฉินได้
 
4. ไม่จำเป็นอย่าสร้างหนี้ใหม่เพิ่ม


ภาพจาก bit.ly/2v9jN9y
 
ไม่ว่าคุณจะวางแผนเปลี่ยนรถคันใหม่ หรือซื้อบ้านหลังที่สองไว้ตากอากาศ เพราะตอนเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ คุณควรถนอมเนื้อถนอมตัว รัดเข็มขัด ระวังการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นภาระตนเอง จะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบห่วงหน้าพะวงหลัง สร้างความไม่สบายใจเสียเปล่าๆ
 
5. อย่าลงทุนหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้


ภาพจาก Rabbit Finance
 
คนที่ตั้งหน้าตั้งตาจะหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำ โดยนำความโลภเป็นที่ตั้ง อาจนำพาตัวเองไปลงทุนในช่องทางที่หวือหวา โดยไม่มีความรู้ เช่น พวกหุ้นปั่นทั้งหลาย ช่องทางการลงทุนที่ไม่ชอบมาพากล เช่น พวกแชร์ลูกโซ่ หรือการหลอกให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่อาจไม่มีอยู่จริงโดยมีผลตอบแทนสูงเย้ายวนใจผู้ลงทุน
 
ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ และเป็นกอบเป็นกำในระยะเวลาอันรวดเร็ว ที่สำคัญอย่าลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้เป็นที่ดีที่สุด เพราะโอกาสผิดพลาดมีสูง เช่นเดียวกับการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวในยามเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้
 
หากคุณเห็นลู่ทางก็พอได้เงินเร็ว ขอให้เป็นธุรกิจที่คุณรู้จริง และอย่าเริ่มต้นด้วยการทุ่มเงินลงทุนมูลค่าสูงตั้งแต่แรก ให้เผื่อเหลือเผื่อขาดและเตรียมตัวเตรียมใจกับความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอเอาไว้ด้วย ลองวิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบอย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
SMEs Tips
  1. อย่าค้ำประกันให้คนอื่น
  2. ชะลอการลงทุนเพิ่มในธุรกิจ
  3. ไม่นำเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้โดยไม่จำเป็น
  4. ไม่จำเป็นอย่าสร้างหนี้ใหม่เพิ่ม
  5. อย่าลงทุนหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด