บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
5.1K
2 นาที
21 ตุลาคม 2555
จับตากลุ่มประเทศ CLMV ตลาดเป้าหมายลงทุนไทย

ปัจจุบันสถานการณ์การเงินและการลงทุนมีความผันผวนค่อนข้างมาก!!
 
ก็เนื่องมาจากความไม่แน่นอนหลายประการ ทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะของหลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) ได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน 
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการร่อแร่ของกรีซ ซึ่งใช้จ่ายเงินเกินตัวมานานและเพิ่งจะมาเริ่มพยายามดำเนินการมาตรการรัดเข็มขัด ทำให้ประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศอื่นที่อยู่ภายในกลุ่ม EU ด้วยกันต้องพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย 
 
เพราะเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ! แล้วยังต้องพยายามรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและค่าเงินยูโรอีกด้วย 
 
เมื่อหันไปมองทางฝั่งสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจก็ยังไม่ค่อยดีนักแม้ตัวเลขสถิติการว่างงานจะลดลง อีกทั้งภาคการผลิตก็มีผลประกอบการที่ดูดีขึ้น รวมทั้งการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังคงใช้นโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) น่าจะทำให้ปัญหาต่างๆ ค่อยๆ คลี่คลาย หากก็ยังต้องใช้เวลาและคงต้องลุ้นกันต่อไป
 
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินการผลิตและส่งออกสินค้าหรือบริการต่างๆ บางบริษัทอาจจะได้รับผลกระทบอยู่บ้างในกรณีที่ลูกค้ารายใหญ่อยู่ในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นก็ย่อมทำให้เกิดการชะลอตัวในการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการ 
 
อย่างไรก็ตาม ทางออกของผู้ประกอบการไทยก็ยังมี นั่นคือ หันมามองตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รอบข้างให้มากขึ้นและพยายามมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ 
 
ไม่เพียงแต่คิดส่งออกสินค้าไปขายทั้งส่งออกทางอ้อมและทางตรงเท่านั้น แต่อาจจะไปตั้งสำนักงานสาขาย่อยหรือโรงงานผลิตสินค้า โดยสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศเหล่านั้นแล้วเข้าสู่ตลาดด้วยวิธีการร่วมทุน หรือทำสัญญาจ้างผลิต การทำแฟรนไชส์ เป็นต้น ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดที่กำลังพัฒนาและมีความน่าสนใจก็คือประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยทั้งสี่ประเทศมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทำธุรกิจเพื่อวางแผนกลยุทธ์อย่างเหมาะสม
 
กัมพูชาเป็นประเทศที่แม้จะมีขนาดของตลาดค่อนข้างเล็ก คือมีจำนวนประชากรเพียง 15 ล้านคน แต่ก็มีอัตราการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรดีกว่าลาว พม่า และเวียดนาม ประชากรมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างน้อย ยังเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อสินค้าและบริการประเภทต่างๆ มาก 
 
ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องของอุปสงค์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 760 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 23,200 บาท) เท่านั้น และประชากรประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์ยังอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน จึงต้องคำนึงเรื่องการตั้งราคาสินค้าและบริการโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป 
 
การพยายามลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยและตั้งราคาค่อนข้างต่ำเพื่อจูงใจผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าหรือบริการบางประเภทที่เน้นการสร้างความแตกต่างและมีคุณภาพสูง ก็สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าผู้ที่มีกำลังซื้อสูงซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งได้ 
 
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของกัมพูชาคือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ อัญมณี แมงกานีส ฟอสเฟต เป็นต้น และล่าสุดกัมพูชามีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง 
 
รวมทั้งมีอัตราการเจริญเติบโตของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย อุตสาหกรรมที่โดดเด่นของกัมพูชาคืออุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การประมง ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ยางพารา เป็นต้น แต่มีความจำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรกลต่างๆ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด