บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
2.4K
6 นาที
26 มีนาคม 2563
ส่องมาตรการธนาคารไทย ช่วยลูกค้าสู้พิษโควิด-19


 
เชื่อว่าหลายๆ ธุรกิจจำนวนไม่น้อย รวมถึงผู้ประกอบการ พนักงาน ลูกจ้าง ต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจ กิจการร้านค้า ต้องปิดกิจการชั่วคราว รวมถึงผู้บริหาร พนักงานต่างๆ ต้องตกงาน หรือลดค่าจ้าง นั่นจึงส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้เงินกู้ต่างๆ รวมถึงสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินหรือธนาคาร
 
แต่ไม่ใช่ปัญหาเพราะทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของไทย ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าในช่วงวิกฤตโควิด-19 วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้า รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ได้รับกระทบในเรื่องการทำงาน ยากต่อการชำระหนี้
 
ธนาคารไทยพาณิชย์


ภาพจาก bit.ly/2WIl3fr
 
ธนาคารพาณิชย์ได้ออก 3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ “ช่วยพัก ช่วยขาย ช่วยลดต้นทุน” กล่าวคือ 
  • ช่วยพัก ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงินโดยพักชำระเงินต้นให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระในเบื้องต้นให้กับผู้ประกอบการแล้ว
     
  • ช่วยขาย ด้วยเข้าใจในปัญหาที่ผู้ประกอบการกำลังเผชิญซึ่งอาจกระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ธนาคารจึงจับมือกับพันธมิตร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) และสมาคมโรงแรมไทย (THA) จัดงาน “SCB เที่ยวไทย ไปด้วยกัน” เพื่อช่วยกระตุ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวในประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการกว่า 50 ราย ที่ได้รับผลกระทบเสนอขายแพ็กเกจ มอบส่วนลดสูงสุดถึง 60% สำหรับโรงแรม ที่พัก โปรแกรมท่องเที่ยว ร้านอาหาร ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยโดยตรง พร้อมแคมเปญพิเศษจากธนาคาร 

สำหรับผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของ SCB ใช้คะแนนเท่ายอดซื้อแลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% ซึ่งสามารถเห็นผลด้านยอดขายและรายได้ทันที พร้อมกันนี้ยังได้วางแผนที่จะต่อยอดกิจกรรมนี้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายด้วยการจัด Roadshow สัญจรไปยังสำนักงานองค์กรพันธมิตรต่างๆ 
 
ซึ่งมีทั้งกลุ่มพนักงานและลูกค้าที่พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวไทยก้าวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน และธนาคารพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการตลาดอื่นๆ เช่น การทำโปรโมชั่นพิเศษร่วมกันกับลูกค้า รวมถึงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ของธนาคารช่วยลูกค้าโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขายได้ในอีกทางหนึ่ง
  • ช่วยลดต้นทุน ธนาคารพยายามใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางธุรกิจที่วางไว้มาช่วยลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรด้านต่างๆ เพื่อช่วยธุรกิจลดต้นทุนในระยะยาวผ่านการทำ Business Matching เปิดเวทีให้ผู้ประกอบการโรงแรมและท่องเที่ยวจับคู่เจรจาธุรกิจกับกลุ่มคู่ค้าทางธุรกิจ 
 
อาทิ Online Travel Agents ชั้นนำที่จะช่วยเปิดประตูให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อชดเชยนักท่องเที่ยวจีน รวมทั้งคู่ค้าผู้พัฒนาเทคโนโลยีในการบริหารจัดการธุรกิจซึ่งมีประสิทธิภาพ อาทิ ระบบบริหารจัดการห้องพัก ระบบประหยัดพลังงาน ระบบบัญชี เป็นต้น
 
ธนาคารกรุงไทย


ภาพจาก bit.ly/2QMFCUj
 
ธนาคารกรุงไทยได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระลูกค้าอย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างหนี้และเสริมสภาพคล่อง ลูกค้ารายย่อยที่กู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบุคคล ธนาคารพักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน นอกจากนี้ ยังสามารถขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมจากสินเชื่อ Home for Cash โดยใช้หลักประกันเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีกับธนาคาร
 
สำหรับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โรงแรม การส่งออกสินค้าไปยังจีนและประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กโดยได้พักชำระหนี้และขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดกลาง เป็นกรณีเร่งด่วนไปแล้วกว่า 200 ราย วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท
 
ธนาคารยูโอบี


ภาพจาก facebook.com/uob.th
 
ธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอันส่งผลกระทบต่อลูกค้า โดยมีมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ขยายเวลาการชำระหนี้ ลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำและสินเชื่อบุคคล นานสูงสุด 12 เดือน 
 
ธนาคารกสิกรไทย


ภาพจาก bit.ly/3am31Uh
 
ลูกค้าธุรกิจ
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้) : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
  • วงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว) : ขยายตั๋วได้ไม่เกิน 12 เดือน   
  • สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
ลูกค้ารายย่อย
  • สินเชื่อบ้านกสิกรไทย และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยอื่นที่มีหลักประกัน : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
  • สินเชื่อบัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย ถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563
  • สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน
 
ธนาคารออมสิน


ภาพจาก bit.ly/2vSXtSk
 
ธนาคารออมสิน ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ถือบัตรเครดิต และสินเชื่อบัตรเงินสด ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตไวรัส COVID-19 ออมสินช่วยคุณได้ ผ่อนหนักเป็นเบา กับ มาตรการช่วยเหลือผู้ถือบัตรเครดิต และสินเชื่อบัตรเงินสด (ลูกค้าที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน) ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตไวรัส COVID-19 
 
ธนาคารกรุงเทพ


ภาพจาก bit.ly/2wtq4y0
 
สำหรับลูกค้าสินเชื่อบัตรเครดิต ธนาคารช่วยเหลือในการปรับเงื่อนไขผ่อนผันให้ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บไม่เกิน 3 รอบบัญชี ปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำให้ต่ำกว่า 10% ของยอดคงค้าง และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ 50% ไม่เกินเดือนธันวาคม 2564 และยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ ซึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 
 
สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคลอื่นๆ ธนาคารได้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามความเหมาะสม ผ่อนผันให้ปลอดการชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ปรับยอดผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% สูงสุดไม่เกิน 24 เดือน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ระยะเวลาหนึ่งตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี และยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด ซึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
 
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SME Bank

ภาพจาก bit.ly/3dt4IkM
 
สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการ “พัก-ขยาย-เติม” สามารถเลือกใช้สิทธิ์ต่างๆ ได้ ประกอบด้วย
 
1. มาตรการ “พัก” ชำระหนี้เงินต้น สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรง นานสูงสุด 12 เดือน และลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม นานสูงสุด 6 เดือน เพื่อช่วยลดภาระการชำระหนี้และมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเริ่มพักชำระนับจากเดือนถัดไปที่ได้รับการอนุมัติพักชำระหนี้เงินต้น
 
2. มาตรการ “ขยาย” เวลาชำระหนี้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจ และสำหรับลูกค้าที่ใช้ บสย.ค้ำประกันเดิม (โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 5-7 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทำหน้าที่เป็นหลักทรัพย์ช่วยค้ำประกันให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อได้คล่องตัวขึ้น) สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
 
3. มาตรการ “เติม” ทุนดอกเบี้ยถูกเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้ลูกค้ามีเงินทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจ คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นิติบุคคล 3%ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 1 ล้านบาทต่อราย และบุคคลธรรมดา 5%ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 5 แสนบาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 7 ปี
 
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

 
ธอส.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้าธนาคาร 10,000 ล้านบาท โดยจัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กรอบวงเงินสินเชื่อลูกค้า 10,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าทุกวัตถุประสงค์การกู้ ทั้งที่ยังมีสถานะผ่อนชำระปกติ และมีสถานะค้างชำระเงินงวดตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 แต่รายได้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 1.00% ต่อปี พร้อมลดเงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 4 เดือน และให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน
 
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)


ภาพจาก bit.ly/2y7jJIN
 
ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ สงครามการค้า ภัยแล้ง น้ำท่วม ราคาผลผลิตตกต่ำ และการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ปลอดชำระต้นเงินใน 3 ปีแรก พร้อมเติมสินเชื่อใหม่โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินมาตรการ 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 – 31 ธ.ค. 2564 ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
 
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย


ภาพจาก bit.ly/2WLNY2e
 
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้ารับผลกระทบจากโควิด-19 ให้ลูกค้าด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและชำระเฉพาะกำไรนาน 12 เดือน พร้อมยกเว้นค่าชดเชยผิดนัดฯ พิจารณาวงเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจะรับพิจาณาช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ 
  • พักชำระหนี้เงินต้นและชำระเฉพาะกำไรนานสูงสุด 12 เดือน
  • ขยายระยะเวลาสินเชื่อออกไปตามระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้น
  • ยกเว้นค่าชดเชยผิดนัดการชำระหนี้ที่เกิดขึ้น
 
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)


ภาพจาก bit.ly/2UBr8HX
 
สำหรับลูกค้าองค์กรระดับใหญ่ ธนาคารจะพิจารณามาตรการการให้ความช่วยเหลือตามระดับผลกระทบเป็นรายกรณี ดังนี้
  • พักชำระหนี้เงินต้น และ/หรือปรับลดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน
  • ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
 
ธนาคารเกียรตินาคิน


ภาพจาก bit.ly/3bs5rkk
 
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งประกอบด้วย การพักชำระหนี้เงินต้น ตั้งแต่ 9 – 18 เดือนโดยไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจโรงแรมที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งหมด 
 
ลูกหนี้รายย่อย
  • พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
  • ส่วนลดดอกเบี้ย
  • ขยายระยะเวลาชำระหนี้ 
 
ธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต

 
ธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาตมีความห่วงใยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งกลุ่มที่ได้รับเชื้อ หรือกิจการได้รับผลกระทบ ยอดขายลดลง จึงร่วมกันออกมาตรการ “ตั้งหลัก” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยซึ่งมีที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ที่อยู่สถานที่ทำงาน 
 
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี กระบี่ สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ และพังงา ครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตฝ่าวิกฤติครั้งนี้ต่อไปได้ ดังนี้
  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย - สินเชื่อบ้าน ลูกค้าทั้ง 2 ธนาคาร ขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี หากอยู่จังหวัดอื่นให้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
     
  • สินเชื่อรถยนต์ ธนชาต DRIVE ลูกค้าที่ค้างชำระหนี้ไม่เกิน 60 วัน ขอพักชำระหนี้ได้เพิ่มสูงสุด 60 วัน และขยายเวลาผ่อนชำระได้ไม่เกิน 96 งวด โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
     
  • บัตรเครดิต - บัตรกดเงินสด ลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดทีเอ็มบี ขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี โดยดอกเบี้ยยังเดินปกติ แต่ไม่ถูกบันทึกเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ด้านลูกค้าธนชาตสำหรับบัตรเครดิตขอลดยอดชำระขั้นต่ำได้จาก 10% เหลือ 5% นานสูงสุด 3 รอบบัญชี ส่วนลูกค้าบัตรกดเงินสดขอลดยอดชำระขั้นต่ำได้จาก 3% เหลือ 1 % นานสูงสุด 3 รอบบัญชี และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
     
  • สินเชื่อบุคคล ลูกค้าทั้ง 2 ธนาคารที่ได้รับผลกระทบขอพักชำระหนี้ได้นานสูงสุด 3 รอบบัญชี และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้เพิ่มขึ้นอีก 3 รอบบัญชี หรือจนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน
 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา


ภาพจาก bit.ly/3bvVv9H
 
ธนาคารพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างใกล้ชิด โดยพิจารณาตามสภาพการณ์ของธุรกิจและความเดือดร้อน เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแต่ละราย
 
สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ประกอบด้วย
  • ลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด
  • ลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด (แล้วแต่กรณี)
  • ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด
  • ลูกค้ากรุงศรี คอนซูมเมอร์ (สำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19)พักชำระหนี้ สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
หลังจากนั้น สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ลดอัตราการผ่อนชำระจาก 10% เป็น 5% และสำหรับลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล ลดอัตราการผ่อนชำระจาก 5% เป็น 3% หรือปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนเป็นรายกรณี
 
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์

 
ลูกหนี้ธุรกิจ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และ ขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลงหลังหมดช่วงปลอดเงินต้น
  • สนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม
  • ลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าในช่วงที่มีปัญหา สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน โดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป
  • ช่วยเหลืออื่นๆ ตามที่เห็นสมควรโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป
 
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

 
EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ทั้งด้านสินเชื่อและด้านรับประกันการส่งออก เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ประกอบด้วย
 
1. มาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ ลูกค้าสินเชื่อทั้งระยะยาวและระยะสั้น สามารถขอพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้สูงสุด 6 เดือน รวมทั้งขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินเกินเทอมที่ธนาคารอนุมัติ รวมกับอายุตั๋วเดิมแล้วไม่เกิน 360 วัน กรณีลูกค้าที่มีการค้ำประกันสินเชื่อโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
 
PGS ระยะที่ 5-7 สามารถขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ออกไปได้อีกสูงสุด 5 ปี โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ในส่วนที่ขยายออกไป 5 ปี นับจากวันที่หมดระยะเวลาการค้ำประกันที่มีกับโครงการเดิม ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบสามารถขอรับบริการภายใต้มาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2563
 
2. มาตรการสนับสนุนด้านรับประกันการส่งออก สำหรับลูกค้าประกันการส่งออกของ EXIM BANK ที่มีการส่งออกไปแล้ว หรือได้รับคำสั่งซื้อแล้วและกำลังเตรียมการส่งออก ประกอบด้วย 1) การขยายระยะเวลาการชำระเงินที่ EXIM BANK ให้ความคุ้มครองสูงสุดรวมกันไม่เกิน 270 วัน (กรณีไม่เกิน 180 วัน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) 2) การเพิ่มความคุ้มครองให้กับสินค้าที่เน่าเสียง่ายจากการที่ผู้ซื้อในจีนไม่รับมอบสินค้าเป็นกรณีพิเศษ ในอัตรา 50% ของมูลค่าใบกำกับสินค้า และ 3) การลดระยะเวลาการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน โดย EXIM BANK จะชดเชยให้ทันที โดยไม่ต้องขายหรือทำลายสินค้าก่อน ลูกค้าและผู้ส่งออกที่สนใจขอรับบริการภายใต้มาตรการสนับสนุนด้านรับประกันการส่งออกได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 กรกฎาคม 2563
 
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)


 
มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลา 12 เดือนสำหรับลูกค้า SMEs เดิม ของ บสย. ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก หรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นลูกค้า บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563
 
มาตรการขยายระยะเวลาการค้ำประกันโครงการค้ำประกัน PGS 5-7 ขยายระยะเวลาการค้ำประกันนานสูงสุด 5 ปี และไม่คิดค่าธรรมเนียมในช่วงเวลาต่อขยาย
 
มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” สำหรับลูกค้า SMEs ที่ต้องการสินเชื่อใหม่และได้รับการผ่อนปรับเงื่อนไขชำระหนี้ ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปี วงเงินค้ำประกันสูงสุด 30 ลบ.ต่อราย สินเชื่อใหม่ได้รับการค้ำประกันความเสียหาย เพิ่มขึ้นเป็น 40% ของสถาบันการเงิน
 
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงพนักงานทีไม่สามรรถผ่อนชำระสินเชื่อต่างๆ ให้กับธนาคารได้ สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่ธนาคารข้างต้นที่ทุกท่านได้ทำสัญญากันไว้ได้เลย  
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด