บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม
1.4K
2 นาที
2 เมษายน 2563
การติดตามผู้ป่วย COVID-19 ในไทย ด้วย location + AI + Big Data + Social Data
 

ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยยังต้องจับตามองกันอยู่ ยังไว้วางใจไม่ได้เลย ทุกคนยังคงให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอด และโดยเฉพาะการมีข่าวคราวของคุณปู่ชาวไทยและคุณป้าชาวเกาหลีที่เชื่อกันว่าจะเป็น Super Spreader ของไวรัส COVID-19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนในสังคมมากเลยทีเดียว
 
ผมเคยพูดถึงวิธีการสังเกตตัวเองเมื่อยามป่วยไข้ว่าเราสามารถใช้อุปกรณ์ประเภท wearable ที่ช่วยตรวจเช็กสุขภาพในขั้นต้นรวมถึงการใช้วิธี Cloud Sourcing หรือการฟังความคิดเห็นจากคนรอบข้างเพื่อให้มี data หรือข้อมูลในการตัดสินใจไปบ้างแล้ว 
 
แต่ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ทั่วทั้งโลกอย่างตอนนี้เรียกว่าเข้าสู่ขั้นวิกฤตแล้วก็ว่าได้ มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคทุกทวีปแล้ว ที่น่ากังวลใจก็คือผู้ที่ได้รับเชื้อบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองมีความเสี่ยงและสร้างความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับผู้คนรอบข้างที่มีการติดต่อใกล้ชิด ไม่รวมถึงกรณีการปฏิเสธการตรวจรักษาและการปกปิดประวัติการเดินทางในประเทศกลุ่มเสี่ยง แต่หากเมื่อมีการตรวจพบว่ามีผู้ที่ติดเชื้อแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง 


ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb
 
จริง ๆ หากทราบว่าผู้ป่วยเป็นใครแล้วเราก็สามารถที่จะ track ผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ววิธีหนึ่งก็คือ ติดตามจากเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้ป่วย และดูจากข้อมูลพื้นที่ที่ผู้ป่วยเดินทางผ่านเสาโทรศัพท์ (cell site) หรือเสาสัญญาณในตึก (in-building) + WIFI หรือ Bluetooth ว่ามีเบอร์อะไรบ้างอยู่ในพื้นที่ไหน รวมไปถึง social data ในละแวกที่ผู้ป่วยคนนั้นผ่าน เช่น ภาพถ่ายจาก social จากในละแวกนั้น ๆ โดยใช้ Algorithm วิเคราะห์ลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหาคนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้
 
เราจะสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง อยู่ใกล้กับใครบ้าง จากสัญญาณมือถือของเขา หรืออุปกรณ์ที่ใกล้กัน และ track เส้นทางการเดินทางของเขาได้ชัดมากขึ้น แล้วพล็อตออกมาเป็นแผนที่การเดินทาง และดูความเสี่ยงของคนที่อยู่ในละแวกนั้น ๆ จากเบอร์มือถือ เราจะเห็นการกระจายตัวของกลุ่มคนที่มีเสี่ยงที่จะติดได้ชัดเจนมากขึ้น
 
 
ภาพจาก  bit.ly/39xEHhb
 
รวมไปถึงควรต้องส่งข้อมูลไปแจ้งแก่คนเหล่านั้นเพื่อให้มีการระวังตัว เก็บตัว ไปตรวจสุขภาพ เพื่อการติดตามได้ดีขึ้น นั่นคือเป็นการเอา Big Data + AI มาใช้วิเคราะห์ แต่อาจจะมีการกระทบไปถึงเรื่องของ privacy data ที่ต้องระมัดระวังให้ดีด้วยเช่นกัน แต่ถ้าสถานการณ์มันเกิดวิกฤตมาก ๆ ผมคิดว่าวิธีนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจนะครับ
 
วิธีการง่าย ๆ ที่จะทำได้ก็คืออาศัยความร่วมมือจากการนำข้อมูลของ Mobile Operator ทั้ง 3 เจ้าหลัก ๆ + WIFI operator + WISESIGHT (Social Data) + อาสาสมัคร Engineer + Data Analysts ทั้งหลายมาร่วมมือกันกับกระทรวงสาธารณสุข เปิด War Room ขึ้นมาแล้วช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ออกมา ผมว่าดูน่าจะมีประโยชน์และช่วยประเทศเราได้มากเลยทีเดียว
 
หรือวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือติดต่อไปทางบริษัท Facebook, LINE หรือ Google เราจะได้รู้ข้อมูลทั้งหมดที่ผมบอกมาข้างต้นในทันที (ถ้าเจ้าตัวยินยอม) หรือไปดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ออกมาจาก account ของผู้ป่วยเพื่อมาวิเคราะห์ต่อ (จริง ๆ มีช่องทางที่จะไปดึงออกมาได้ไม่ยากครับ)
 
** ข้อมูลเหล่านี้หากทำออกมาแล้ว บางส่วนต้องเป็น Privacy Data โดยเฉพาะข้อมูลของคนไข้ ที่มีตำแหน่งบ้าน ที่อยู่อาศัย จะต้องมีการควบคุมคนที่สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ข้อมูลเรื่องการเดินทาง การอยู่นอกสถานที่ ผมคิดว่าน่าที่จะพอเปิดเผยได้บ้าง ถ้าสนใจจะทำผมว่าทำได้ไม่ยากเลย ผมยินดีช่วยอย่างเต็มที่ครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด