บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การตลาดออนไลน์ SEO
1.3K
2 นาที
7 เมษายน 2563
ปีที่สินค้าไทยควรได้ส่งออกออนไลน์ของจริง
 

ภาพจาก pixabay.com

ปลายปีที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้พบกับตัวแทน Amazon.com ในประเทศไทย ที่ตอนนี้เริ่มบุกเข้ามาในตลาดไทยมากขึ้นและมุ่งที่จะนำผู้ประกอบการไทยออกไปขายของในตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดอเมริกาและสิงคโปร์ เขามองว่าสินค้าไทยยังมีโอกาสสูงที่จะขายได้ในอีกหลาย ๆ ตลาด
 
ประเทศไทยแม้ว่าจะมีสินค้าดีอยู่มากแต่ยังติดขัดในด้านระบบที่จะนำออกไปโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์หรือ Cross Border ซึ่งที่จริงแล้วสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อนบ้านอย่างลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า หรือแม้กระทั่งในจีนเอง สินค้าบางประเภทของเราก็เป็นที่นิยมมีวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่เต็มไปหมด 
 
ที่ผ่านมามีบางคนที่เห็นโอกาสนี้จึงมีการนำสินค้าไทยออกไปขายต่างประเทศผ่านทางเว็บไซต์อย่าง eBay หรือ Amazon รวมถึง Alibaba ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อยทีเดียว และดูเหมือนว่าในปีนี้การขายแบบ  Cross Border หรือการนำสินค้าไทยออกไปขายต่างประเทศด้วยช่องทางออนไลน์นี้จะได้รับความสนใจและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ  
 

ภาพจาก pixabay.com
 
ผมเห็นว่าภาครัฐควรให้ความร่วมมือและสนับสนุนบรรดาผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยด้วยกันและมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ และเมื่อช่วงปลายปี 62 มีการพูดถึงการการยกเว้นภาษีขาเข้าหรือการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่มีแวร์เฮ้าส์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ซึ่งทราบกันดีแล้วว่ากลุ่มอาลีบาบาเป็นผู้ที่เข้ามาลงทุนหลักในด้าน Infrastructure มีการสร้างแวร์เฮ้าส์เพื่อเก็บสินค้าและเป็นจุดกระจายสินค้าให้ออกไปทั่วอาเซียน 
 
การให้สิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรขาเข้านี้ อาจดูเหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้มาลงทุนใน EEC แต่หากถามว่าได้เปรียบมากหรือไม่ผมมองว่าก็ไม่ได้มากนัก ผมมองว่าภาครัฐคงพยายามให้ประโยชน์อะไรกับเขาบ้างแลกกับการแบกเงินมาลงทุนเป็นหมื่นล้าน
 
แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าก็คือ ปัจจุบันจำนวนสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนที่มีอยู่ในมาร์เก็ตเพลสใหญ่ทั้งสามของไทยคือ Lazada, Shopee และ JD Central (JSL) มีอยู่ถึง 135 ล้านชิ้น คิดเป็น 77% ในขณะที่ของผู้ค้าไทยมีอยู่ 39 ล้านชิ้นหรือ 23% เท่านั้น เห็นได้ว่าขณะนี้สินค้าจีนบุกเข้ามาในตลาดอย่างมากและสามารถขนส่งได้เร็วยิ่งขึ้น ปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งมาจากการเปิดของ EEC นั่นเอง
 

ภาพจาก pixabay.com
 
ในช่วงต้นปีผมมีโอกาสได้เข้าพบเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ดร. คณิศ แสงสุพรรณ พูดคุยกันถึงเรื่องของธุรกิจของจีนทางออนไลน์ และผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของไทย เพราะมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง 
 
นอกจากนี้ยังได้มีการพูดถึงแนวทาง กลยุทธ์ การสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยให้ในการแข่งขัน รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้มากขึ้น ซึ่งได้ทราบว่าทาง EEC เองกำลังประสานกับต่างประเทศอย่างระมัดระวังในการเจรจา เพื่อให้เกิดโซลูชั่นที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย
 
ทราบว่าทางจีนเองก็เปิดรับข้อเสนอให้ไทยใช้ Infrastructure ของเขาเป็นช่องทางนำสินค้าออกไปจีนได้ ซึ่งขณะนี้ผมและทาง EEC กำลังเตรียมแผนที่จะผลักดันสินค้าไทยออกไปจีนโดยใช้ความร่วมมือที่มีกับทางกลุ่ม Alibaba โดยผมร่างโครงการไว้หลายโครงการ และได้เริ่มพูดคุยเพื่อให้เห็นภาพไปแนวทางเดียวกัน 
 
ยังต้องมีการพูดคุยลงลึกในรายละเอียดกันมากกว่านี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และผลักงานนี้เข้าสู่สมาคม E-Commerce ต่อไป หวังว่าโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการไทยในการนำสินค้าไปขายในจีนได้มากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจาก EEC และภาครัฐ เราต้องช่วย ๆ กันครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
790
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
708
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
520
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด