บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    หน่วยงาน องค์กร ทางด้านเทคโนโลยี
1.6K
2 นาที
7 เมษายน 2563
อัปเดตการรวมกลุ่มสตาร์ทอัพ TCDG กับการรับมือวิกฤตโควิด19
 
จากการตั้งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำงานด้านดิจิทัล เกี่ยวกับไวรัส COVID19 ที่ชื่อ Thailand COVID19 Digital Group (TCDG) ตอนนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 กว่าคนแล้ว การเกิดขึ้นของกลุ่มนี้เกิดจากการที่ทุกคนมีเจตนาดี มีไอเดียดี และข้อมูลที่มีมากมายในโลกออนไลน์ แต่ยังไม่มีที่รวมศูนย์ ไม่มีพื้นที่ให้คนมารวมกัน หากมีพื้นที่ที่สามารถมาพูดคุย แลกเปลี่ยน และนำข้อมูลมารวมกัน ผมเชื่อว่าจะสามารถเริ่มต้นอะไรดี ๆ ได้


ภาพจาก bit.ly/3aPIF6b

ในช่วงแรกยังไม่มีการจัดการอะไรมากนักแต่ตอนนี้ได้เริ่มเปิดเป็นห้องย่อย ๆ พยายามดึงคนที่เป็นแกนนำเข้ามาคุย ตอนนี้ก็มีภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ เข้ามาช่วยด้วย เราพยายามแบ่งออกเป็นหลาย ๆ เรื่อง เช่น ที่เรากำลังสนใจมากก็คือแอปพลิเคชันในการติดตามผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง การประชาสัมพันธ์ว่าทำอย่างไรให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น ตำแหน่งร้านค้าที่ขายหน้ากาก แอลกอออล์ การทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐกับการเข้าถึงคนในชุมชน การทำตัวทดสอบ ฯลฯ 
 
ตอนนี้เราเริ่มออกแบบเฟรมเวิร์คขนาดใหญ่ขึ้นในเรื่องของดิจิทัล เช่น หากมีคนเข้ามาในประเทศเมื่อเจอ ตม. ใครจะเป็นคนเก็บข้อมูล จะมีเรื่องของ AOT มี NECTEC เข้ามา มีสตาร์ทอัพของไทยมาช่วยทำระบบการวิเคราะห์ มีเรื่องของ big data ฯลฯ


ภาพจาก bit.ly/2VewDNg
 
อย่างที่ผ่านมามีการเปิดตัวแอปพลิเคชันแผนที่ซึ่งระบุตำแหน่งว่ามีคนติดเชื้อโควิด-19 ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเรื่องดี แต่ผมก็แอบกังวลใจในเรื่องของการนำข้อมูลว่ามาจากไหน และหากข้อมูลไม่แม่นยำจริงอาจสร้างผลกระทบต่อบุคคลหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ร้านหรือสถานที่นั้นๆ เจ๊งได้เลย 
 
อยากฝากทุกคนไว้ว่า หากจะทำแอปในลักษณะนี้ต้องให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ใช้ต้องเป็นข้อมูลที่ official จริง ๆ หรือควรเป็นข้อมูลที่ได้มาจากภาครัฐ การจะระบุตำแหน่งบางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องระบุลึกจนเกินไป อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ต้องมีความเห็นใจในเรื่องนี้เช่นกัน เรื่องของ data privacy มีการพูดคุยกันมากทั้งในห้องประชุมของกระทรวงสาธารณสุขหรือในหลาย ๆ ห้องประชุม
 
ถึงวันนี้กลุ่ม TCDG ได้รวมตัวกันทำเฟรมเวิร์คด้านดิจิทัลทั้งหมดที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง และโดยส่วนตัวเฟรมเวิร์คที่ผมเคยเล่าไปบ้างแล้วเมื่อบทความก่อนขณะนี้ดูว่าจะเริ่มเดินหน้าแล้ว คือมีแอปพลิเคชันของ AOT ที่เริ่มติดตามนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยให้มีการกรอกข้อมูลลงมาในแอป AOT เพื่อที่จะได้ทำการติดตามบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้
 
สำหรับแอปพลิเคชัน AOT นี้สามารถระบุตำแหน่งที่นั่งบนเครื่องบินของบุคคลได้ และหากคนคนนี้มีการติดเชื้อโรคขึ้นมาก็สามารถวิเคราะห์ย้อนกลับได้ว่า เขามาโดยสายการบินใด นั่งตรงไหน มีใครอยู่รอบตัวเขา และมีใครอยู่ในลำนั้นบ้าง จุดนี้อาจดูเหมือนเป็นการไปละเมิดสิทธิ์ แต่จะมีการขอให้ยินยอมแจ้งข้อมูลไว้ก่อนแล้ว


ภาพจาก bit.ly/2JKGULF
 
ผมว่าประเทศไทยเราเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการเอาระบบติดตามผู้ป่วยในลักษณะนี้ ยกเว้นประเทศจีนที่มีเทคโนโลยีก้าวล้ำมาก คนอยู่ที่ไหนเขาจะรู้หมดอยู่แล้ว ตอนนี้เริ่มมีการพูดคุยกันถึงการนำข้อมูลจากโอเปอเรเตอร์มาใช้ เราจะได้ข้อมูลของคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 
 
แม้ว่าจะมีการให้คนกลุ่มเสี่ยงต้องลงแอปพลิเคชันไว้ก่อนแล้วก็จริง แต่การลงแอปพลิเคชันก็มีขั้นตอนพอสมควร แต่อีกวิธีหนึ่งคือ การรู้เบอร์โทรศัพท์เขาและได้รับความร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์ เราจะสามารถติดตามคนเหล่านั้นได้ไม่ยากเลย ตรงนี้ในกลุ่มเราได้เริ่มพูดคุยกันและพยายามตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันเครื่องมือตัวนี้ให้ออกมาได้โดยเร็วที่สุด วิธีการนี้มีข้อดีอีกอย่างก็คือแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์แต่ก็ยังสามารถติดตามได้ โดยเช็กจากเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขพาสปอร์ตที่ใช้ในการยืนยันตัวตนนั่นเอง
 
ผมว่านี่เป็นเรื่องดีที่หลายคนได้เริ่มทำอะไรบางอย่างแล้ว ตอนนี้ภายในกลุ่มเองมีคนเพิ่มจำนวนเยอะมากขึ้นเรื่อย ๆ เรากำลังเริ่มแบ่งกลุ่มออกเป็น project base พยายามโปรโมตลีดเดอร์ในแต่ละเรื่องขึ้นมา เช่น ระบบติดตาม การจัดการเรื่องหน้ากาก ฯลฯ และให้ช่วยดูแลกันเอง โดยให้ลีดเดอร์แต่ละกลุ่มมาคุยกัน ทั้งหมดผมเชื่อว่าทุกคนที่มาล้วนมีความตั้งใจที่ดีที่อยากมาช่วยกันเพื่อประเทศของเราครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,441
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
663
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
582
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
517
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด