บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
20 เมษายน 2563
อย่าให้โควิด-19 ทำความมั่นคงของชาติพังทลาย

เห็น ดร.ศุภชัย พูดถึงการแก้โควิด-19 แล้ว กลัวจะกลายเป็นการพังเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ ชาติอื่นเขาทำกันอย่างไรบ้าง เราต้องคิดให้ดีๆ
 
อันที่จริงไวรัสโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อย่ากลัวจนทำลายเศรษฐกิจ ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายหรืออัตราฆาตกรรมจากพิษเศรษฐกิจสูงกว่าไวรัสตัวนี้ อัตราการเสียชีวิตจากโรคเชื้อไวรัสโควิด-19 มีเพียง 2% พอๆ กับไข้หวัดใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ต่ำกว่าโรคซาร์สและโรคเมอร์ส ที่เสียชีวิตมากถึง 30% ณ วันที่ 14 เม.ย.2563 มีผู้ป่วยสะสม 1,934,754 รายทั่วโลก และเสียชีวิตไป 120,438 ราย หรือ 6.2% หายแล้ว 456,776 ราย ขณะนี้มีผู้ป่วยหนักอยู่ 51,151 (4%)

ภาพจาก bit.ly/2xxrrw5
 
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีต ผอ.องค์การการค้าโลก กล่าวว่า “วิกฤติครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา. . .ครั้งนี้ มาจากการระบาดของโรค ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทางการเงินมาแก้ได้ ดังนั้น. . . อย่ามองว่าเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ ให้ลืมเรื่องเศรษฐกิจไปก่อนเลย สิ่งที่ต้องทำขณะนี้ คือการทุ่มเททุกสรรพกำลังและทำทุกอย่างทุกวิถีทาง เพื่อควบคุม-จำกัดและหยุดการแพร่ระบาดของโรคให้ได้โดยเร็วที่สุด. . .”
 
ลองใช้สติตรองดูให้ดี ถ้าเราทุ่มเทเงินไปกับการแก้วิกฤตินี้ โดยเฉพาะไปอุ้มหุ้นกู้ ไปช่วยสถาบันการเงิน หรือไปช่วยวิสาหกิจขนาดใหญ่คงยิ่งทำให้ชาติเสียหาย เรากลัวจนเกินเหตุไปหรือไม่
 
กลุ่มเสี่ยงสุดๆ ที่ผู้คนเข้าใจ คือ กลุ่มคนเก็บขยะ คนคุ้ยขยะตามกองขยะ คนกวาดถนน มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือแม้แต่คนเร่ร่อน ก็แทบไม่ติดเชื้อเลยสักรายหนึ่ง
กลุ่มคนจนเมือง โดยเฉพาะในชุมชนแออัด ที่อยู่กันอย่างแออัดจริงๆ และมีโอกาสน้อยในการรักษาระยะห่างทางสังคม ก็แทบไม่มีปัญหาอะไรเลย
 
กลุ่มคนต่างจังหวัดที่แห่กลับกลับบ้านในช่วงปิดกรุงเทพมหานครเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาและทยอยกลับบ้านไปมากมายนั้น ก็แทบไม่มีข่าวว่าไปแพร่เชื้ออะไรนัก จังหวัดที่แพร่เชื้อหนักนอก กทม.และปริมณฑล ได้แก่ ภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว (178 ราย) ยะลา (85 ราย) ชลบุรี (81 ราย) ปัตตานี (77 ราย) สงขลา (56 ราย) เชียงใหม่ (40 ราย) และนราธิวาส (28 ราย) จะเห็นได้ว่าจังหวัดติดเชื้ออันดับสูงนอกจากจะเป็นเมืองท่องเที่ยว ก็คือจังหวัดที่มีพี่น้องมุสลิมไปแสวงบุญในต่างประเทศ จังหวัดอื่นในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล้วนติดเชื้อน้อยมาก
 
ไวรัสโควิด-19 ดูน่ากลัวเพราะยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แถมอาจไม่แสดงอาการและรู้ตัวอีกก็กลายเป็นตัวแพร่เชื้อ แต่ความจริงแล้วถ้าร่างกายแข็งแรง ไม่ได้อดนอนต่อเนื่อง รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีสุขนิสัยที่ดี เราก็ไม่ป่วย หรือป่วยเล็กน้อยแล้วก็สร้างภูมิต้านทานให้หายเองได้ ส่วนที่รักษาตัวในโรงพยาบาลก็ยังหายได้เป็นส่วนใหญ่ คงยกเว้นพวกที่ไปหาหมอตอนมีอาการหนักจริงๆ เป็นคนสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว

 
ภาพจาก bit.ly/2RSiGDF
 
เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์สากล (FIABCI) ได้จัดอภิปราย (ผ่าน Zoom) ในเรื่องนี้ ซึ่งผมในฐานะนายกสมาคม FIABCI ประเทศไทย ก็เข้าร่วมด้วย ได้ข้อสรุปดังนี้
 
กัมพูชา เชื่อว่าหลังวิกฤตินี้ความต้องการที่อยู่อาศัยจะกลับมาหลังจาก “อั้น” ไว้นาน ยกเว้นว่าเงินเก็บหมดเพราะเศรษฐกิจเสียหายไปเป็นต้น แต่ก่อนช่วงเกิดวิกฤติ ตลาดอสังหาริมทรัพย์กัมพูชากำลังเติบโตด้วยดี จึงน่าจะยังมีผู้สนใจมาลงทุถกอีกไม่น้อยในอนาคต
 
ฟิลิปปินส์ เชื่อว่าหลังการระบาด การฟื้นตัวจึงจะรวดเร็วกว่าอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามการที่ยุโรปและสหรัฐได้รับความเสียหายมาก ก็อาจทำให้กำลังซื้อจากต่างชาติลดลงการท่องเที่ยวจะลดลง ภาพรวมก็เหมือนประเทศอื่นๆ ที่จะมีการใช้ดิจิทัลมากขึ้น และการใช้ Outsourcing กันมากขึ้น
 
มาเลเซีย วิกฤติครั้งนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่มาเลเซียกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีจึงทำให้ได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะได้ทำงานจากบ้าน (Work from Home) มาระยะหนึ่งแล้วมาเลเซียคาดว่าสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้คงดำรงอยู่ไม่นาน ทำให้การเติบโตของตลาดในยุคใหม่จะตามมาอย่างรวดเร็ว
 
เวียดนาม ตอนนี้ได้รับผลกระทบมากโดยเฉพาะกิจการท่องเที่ยว-โรงแรม แต่เศรษฐกิจของเวียดนามค่อนข้างดีในช่วงก่อนหน้า จึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบน้อย ยังสามารถส่งออกได้มาก อสังหาริมทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรมยังแข็งแรง เพราะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในเวียดนามมาก
 
สิงคโปร์ ขณะนี้การซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติก็หยุดไปโดยปริยายเพราะสิงคโปร์ปิดประเทศอยู่ แต่ในอนาคตคาดว่ากำลังซื้อจะต่างประเทศจะกลับมาแม้แต่คนรวยๆ ในอินโดนีเซียยังพาครอบครัวมาพักที่สิงคโปร์ในระหว่างเกิดโรคระบาดเพื่อความปลอดภัยครับ
 
อินโดนีเซีย โรงแรมกระทบหนักสุด ศูนย์การค้าก็กระทบหนัก อาคารสำนักงานก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ที่อยู่อาศัยที่อาศัยกำลังซื้อภายในประเทศ ยังไปได้ในอนาคต

ภาพจาก bit.ly/34Pz64P
 
อาจกล่าวได้ว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่คาดว่าเศรษฐกิจของไทยจะหดตัวกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ดังนั้นการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจึงอาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดหวังได้มากนัก ในแง่ร้ายกำลังซื้ออาจจะหดหายไปได้เช่นกันเพราะครัวเรือนนำเงินไปใช้เพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤติ แต่ในอีกแง่หนึ่ง การไม่ได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเป็นเวลาครึ่งปี ก็อาจทำให้การโหมซื้อได้เช่นกัน
 
โควิด-19 จะทำให้การออกแบบอาคาร บ้าน ชุมชน ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นในการป้องกันโรค ความแออัดจะลดลง อาจมีความต้องการบ้านที่มีเฉลียง ระเบียงมากขึ้น การระบายอากาศอาจมีความจำเป็นมากขึ้นกว่าระบบปรับอากาศ ในอีกทางหนึ่งอาคารชุดและบ้านแบบเดิมๆ ที่เป็นบ้านที่สร้างเสร็จแล้วอาจมีความต้องการน้อยลง ทำให้ราคาลดลงไปได้ สินค้าใหม่จะได้เปรียบมากกว่า ผู้ประกอบการจึงควรออกแบบโครงการตามนิยามใหม่
 
ในอนาคตอันใกล้นี้จีนจะยิ่งใหญ่มาก เพราะโดยรวมแล้วได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมหาอำนาจอื่น เศรษฐกิจก็จะฟื้นก่อน นักท่องเที่ยวจีนก็จะมากขึ้น การ “ครองโลก” ของจีนก็จะมีโอกาสใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ จีนจะกลายเป็นอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้ประเทศไทยจะกลายเป็นดั่ง “มณฑล” หนึ่งของจีน กลายเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจไปได้
 
เราไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้ มันคงเป็นไปตามฤดูกาลที่มักมาในฤดูหนาว แต่ปัจจุบันนี้อากาศร้อนและอุ่นขึ้น การติดเชื้อต่างๆ จึงลดลง เราไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ถาวร การทุ่มเทสรรพกำลังหวังกำจัด จึงจะเป็นการสร้างวิกฤติชาติโดยตรง

ดังนั้นไทยต้องรีบกลับมาทำงานกันเช่นเดิมโดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีเจลล้างมือ เราก็จะสามารถป้องกันโรคได้ และพัฒนาสุขนิสัยในการบริโภค แต่ถ้าไม่เปิดทำงานใหม่ ประเทศชาติก็ต้องตกเป็นหนี้มหาศาล เป็นการสร้างวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติความมั่นคงของชาติ
 
อย่าลืม “ความกลัวทำให้เสื่อม”


ที่มา  : https://bit.ly/2XOkVvv
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
500
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด