บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.1K
2 นาที
23 เมษายน 2563
กลยุทธ์ปรับตัวธุรกิจการศึกษา ช่วงโควิด-19


 
หากถามว่าธุรกิจไหนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในวิกฤตโควิด-19 คงหนีไม่พ้นธุรกิจการศึกษา เพราะนับตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโควิด โรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปิดเรียน เว้นระยะห่างทางสังคม ให้เด็กอยู่กับบ้าน ถือได้ว่าเป็นธุรกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤต 100% โรงเรียนเอกชน สถาบันกวดวิชาต่างๆ ต้องแบกภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากมาย อาจส่งผลให้สถาบันการศึกษาเอกชนหลายๆ แห่ง ต้องปิดกิจการ เลิกจ้างครู บุคลากร หากวิกฤตโควิด-19 ยังคงยืดเยื้อ
 
แล้วทางออกของธุรกิจการศึกษาจะไปทางไหน ปรับตัวอย่างไรให้รอดท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบสิ้นตอนไหน วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีกลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจการศึกษามานำเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ  


ภาพจาก bit.ly/3aqi7aA
 
ก่อนอ่านขอบอกได้เลยว่า วิกฤตโควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งทำให้เกิด Digital Disruption ทำให้ผู้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ต้องสร้างระยะห่างทางสังคม ทำให้ธุรกิจหลายอย่างที่ดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักในเวลานี้ แม้แต่ร้านอาหารต่างๆ หากไม่เปลี่ยนรูปแบบการขายแบบเดลิเวอรี่ก็ขายไม่ได้ หรืองานประชุม สัมมนา ก็ประชุมผ่านออนไลน์ หรือ Work Form Home 
 
ส่วนธุรกิจการศึกษาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูก Disrupt ไปมากที่สุดจากวิกฤตของโควิด-19 ผู้เกี่ยวข้องอาจจะต้องมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนอาจไม่จำเป็นจะต้องพึ่งสถานศึกษาหรือผู้สอนแบบเดิมๆ แต่สามารถจะเรียนกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ตราบใดที่ผู้สอนมีความรู้จริงๆ ขณะที่สถาบันการศึกษาในรูปแบบแฟรนไชส์ ก็ควรหันมาสอนผ่านออนไลน์ เพราะจะง่ายกว่าการให้เด็กมารวมตัวเสี่ยงติดโรค รวมถึงเจรจาเจ้าของพื้นที่ในการลดค่าเช่าพื้นที่ไปก่อนในช่วงโควิด-19 


ภาพจาก Star Maths Center
 
วิกฤตโควิด-19 จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กล่าวคือ ผู้บริโภคจะต้องการความมั่นใจมากขึ้นในเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความปลอดภัยของสินค้า พฤติกรรมการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนมาอยู่บ้าน และทำงานที่บ้านมากขึ้น แม้แต่เด็กๆ เอง ก็จะเปลี่ยนมาเรียนหนังสือและกวดวิชาออนไลน์ เพราะโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างปิดในช่วงวิกฤตของการระบาดโควิด-19
 
ในประเทศจีนนั้น แพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดังรายต่างๆ ของจีนก็ได้แปลงวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการของจีน พัฒนา “คลังคอร์สออนไลน์แห่งชาติ” เพื่อให้โรงเรียนประถมและมัธยม ที่ยังไม่มีความพร้อมในการสอนออนไลน์สามารถใช้ประโยชน์จากคอร์สออนไลน์เหล่านี้ บางโรงเรียนอาจให้เด็กดูคลิปการสอนผ่านระบบนี้ 
 
แล้วค่อยนัดพบผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อตอบข้อซักถามหรือเสริมบทเรียน การทำแบบนี้นอกจากแพลตฟอร์มวิดีโอต่างๆ ของจีนจะได้ประโยชน์จากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ยังได้ใจประชาชนจีนที่ได้ร่วมช่วยเหลือและขับเคลื่อนสังคมในยามยากอีกด้วย แถมยังเกิดเป็นผลผลิตคลังคอร์สออนไลน์แห่งชาติ ที่คงอยู่เป็นชิ้นเป็นอันแม้หลังวิกฤตจบลง

ภาพจาก Daruno Kids English
 
สุดท้าย ไม่ว่าระบบการศึกษาจะมีการปฏิรูปไปสู่ออนไลน์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 แต่สถาบันการศึกษา โรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี และควรมีอย่างที่สุด เพราะการมีอยู่ของโรงเรียนนั้น ไม่ได้หมายถึงการเป็นแค่สถานศึกษาให้ความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย
  • สนใจลงทุนแฟรนไชส์การศึกษาชั้นนำ คลิก https://bit.ly/3bwHEjO

ภาพจาก บ้านรักภาษา

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล
 
จากการระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งกระทบอย่างรุนแรงกับธุรกิจต่างๆ ไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากการประกาศ ปิดเมือง ปิดพื้นที่เสี่ยง ห้ามเดินทาง ห้ามออกนอกบ้าน และขอความร่วมมือประชาชนให้ “อยู่บ้าน” หรือ ทำงานจากที่บ้านส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคหลา..
51months ago   2,930  5 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด