บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    กระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียน
6.6K
1 นาที
15 มิถุนายน 2556
วิธีคำนวณหาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัท

สภาพคล่องทางการเงินถูกจัดเป็นตัวแปรต้นที่มีความสำคัญมากที่สุดของระบบการเงินภายในบริษัท เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดนโยบายการลงทุนภายของบริษัททั้งหมดว่าสามารถดำเนินการในเรื่องใดได้บ้าง


และจะมีวิธีบริหารอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับสถานะทางการเงินที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งการค้นหาสภาพคล่องทางการเงินสามารถคำนวณได้จากสูตร “การหาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัท” หรือที่เรียกกันว่า “Current Ratio” โดยวิธีการ ดังนี้
 
การคำนวณหาสภาพคล่องทางการเงินด้วยวิธีการคำนวณหาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทนั้น ก่อนอื่นผู้ประกอบการจะต้องค้นหาข้อมูล 2 ตัวแปรนี้ก่อน นั่นคือ สินทรัพย์หมุนเวียนที่บริษัทมีอยู่ กับ หนี้สินหมุนเวียนภายในทั้งหมด ซึ่งหลังจากได้ข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาครบถ้วนแล้ว ก็ให้ผู้ประกอบการนำตัวเลขของสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นตัวตั้งแล้วนำมาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด ตามหลักสมการด้านล่างนี้
 
ซึ่งหากผลลัพธ์ที่ได้มามีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไปนั่นแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับที่ดีมาก ยิ่งหากตัวเลขผลลัพธ์มีค่าสูงมากเท่าไหร่นั่นจะยิ่งเป็นเรื่องดีเพราะสภาพคล่องทางการเงินก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ตามหลักทฤษฏีความคล่องตัวทางการเงิน
 
แต่ถ้าหากผลลัพธ์มีค่าที่ได้ต่ำกว่า 1 นั่นเป็นการบ่งบอกว่าตัวธุรกิจดังกล่าวกำลังประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และจะมากยิ่งขึ้นไปอีกหากตัวเลขลดระดับต่ำกว่า 1 ลงไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจะพัฒนากลายเป็นปัญหาทางการเงินชนิดดินพอกหางหมูและจะเป็นสาเหตุการล้มละลายของบริษัทไปในที่สุด
 
ตัวอย่างที่ 1

คุณพิศมัยเปิดธุรกิจส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ เธอต้องการทราบสภาพคล่องทางการเงินของกิจการตนเองว่ามีมากขนาดไหนเพื่อนำไปใช้วางแผนนโยบายทางการเงินให้บริษัท โดยบริษัทของคุณพิศมัยมีสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดอยู่ที่ 15,000,000 บาท มีหนี้สินหมุนเวียนทั้งระบบอยู่ที่ 4,000,000 บาท สามารถคำนวณหาสภาพคล่องทางการเงินด้วยการใช้สูตรค้นหาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทบริษัทโดยแทนที่ด้วยหลักสมการด้านล่างนี้
  
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือ 3.75 นั่นแสดงว่าธุรกิจส่งออกของคุณพิศมัยมีสภาพคล่องทางการเงินมากพอสมควร และคุณพิศมัยเองสามารถนำเงินมาลงทุนต่อส่วนขยายให้กิจการของตนเองได้ เนื่องจากมีเงินทุนเหลือให้ใช้มากพอ และไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องทางการเงินในอนาคต
 
ตัวอย่างที่ 2

คุณวิไลทำธุรกิจค้าขายของเก่าเธอต้องการทราบสภาพคล่องทางการเงินของตนเอง เพื่อใช้วางแผนการลงทุนในอนาคต โดยเธอทรัพย์สินหมุนเวียนสุทธิอยู่ที่ 3,000,000 บาทและหนี้สินทั้งระบบอยู่ที่ 2,850,000 บาท ซึ่งแทนที่สมการเพื่อหาสภาพคล่องได้ ดังนี้ c
 
จากผลลัพธ์ที่ได้คือ 1.052 ซึ่งถึงแม้จะมีค่าเฉลี่ยที่มากกว่า 1 แต่นั่นก็เพียงแค่ 0.052 เท่านั้น และนั่นก็เป็นตัวเลขค่าเฉลี่ยที่น้อยมากทางการเงิน สภาพคล่องทางธุรกิจจึงเป็นไปในลักษณะที่มีรูปแบบประคองตัวเท่านัน และยังไม่มีความพร้อมในการลงทุนด้วยเนื่องจากธุรกิจมันไม่ได้มีผลกำไรที่มากจนสามารถนำมาลงทุนได้โดยปราศจากความเสี่ยงและการกินทุน
 
ก่อนที่ผู้ประกอบการจะลงทุนต่อยอดในสิ่งใหม่ๆให้กับธุรกิจของตนเอง คุณควรจะต้องสำรวจเงินในกระเป๋าคุณเสียก่อนว่ามันเอื้ออำนวยให้กับโครงสร้างทางธุรกิจหรือไม่ มิเช่นนั้นรับรองได้เลยว่ากระเป๋าสตางค์ของผู้ประกอบการจะต้องฉีกและแฟบตัวลงอย่างแน่นอน และนี่คือคัมภีร์ทางการเงินที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปใช้ชั่วชีวิต

อ้างอิงจาก INCquity
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด