บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.6K
2 นาที
28 ตุลาคม 2563
#รีวิวหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น


รีวิวหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น ถ้าคนไทยมองว่าญี่ปุ่นคือต้นแบบของคนที่ทำงานอย่างมืออาชีพ คำถามกลับกันแล้วคนญี่ปุ่นมองชาติไหนเป็นต้นแบบในการทำงานบ้าง หนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น จะสะท้อนให้เราเห็นถึงสิ่งที่คนญี่ปุ่นคิด และวิธีการลงมือทำแบบคนเยอรมัน ซึ่งทั้ง 2 ชาติเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ถือเป็นหนังสือสาระดีๆ ที่คนไทยควรอ่าน

ผู้เขียน Kan Sumita (คัน ซุมิตะ)
ผู้แปล ทินภาส พาหะนิชย์
235.00 บาท
240 หน้า
 
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ขยัน จริงจัง และทำงานได้ดีเยี่ยมจนทั่วโลกยอมรับ แต่น้อยคนจะรู้ว่ามีชาติหนึ่งที่คนญี่ปุ่นยกย่องให้เป็น "แบบอย่าง" ของตน ชาตินั้นคือ "เยอรมัน" ซึ่งมีวิธีคิดและทำงานที่น่าทึ่ง "แต่จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้เรียนรู้วิธีคิดทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นในคราวเดียว?" 

 
"ซุมิตะ คัง" เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ทำงานในบริษัทการเงินเก่าแก่ 300 ปีของเยอรมนี เขาได้สัมผัสวิธีคิดแบบเยอรมัน และนำมาเทียบกับข้อดีของญี่ปุ่น เขาผสานสไตล์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวทางที่มหัศจรรย์ในหนังสือ "Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น" เล่มนี้ ที่จะพาคุณไปพบกับศิลปะการเพิ่ม Productivity ที่รวมทั้งเยอรมันและญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยคุณสร้างผลงาน และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
 
1.แนวคิดพื้นฐาน
 

ญี่ปุ่น พลเมือง คือผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องผู้บริโภค มองแรงงานเป็นสิ่งน่าเคารพมองความขยันเป็นคุณธรรมอันดียกให้งานมาเป็นอันดับ 1
 
เยอรมัน พลเมืองคือแรงงาน ให้คามสำคัญเรื่องสิทธิแรงงานคนเยอรมันจะไม่ทำงานมากเกินไปถึงจะขยัน ตั้งใจทำงาน แต่จะไม่ฝืนตัวเอง และยืดหยุ่นกับการทำงาน ยกให้ครอบครัวมาเป็นอันดับ 1
 
ผลิตภาพ (Productivity) คือ 
  • การวัดประสิทธิภาพ (Efficiency)
  • ของการผลิต (Production)
  • ตลอดจนทำงาน (Working)
  • การบริการ (Service)
เยอรมันมีผลิตภาพสูงกว่า ญี่ปุ่น 1.5 เท่า คนญี่ปุ่นทำงานเยอะ แต่สร้างผลงานน้อยกว่า
 
เศรษฐกิจ OECD ปี 2015 ระบุว่า
  • คนญี่ปุ่นทำงานปีละ 1719 ชั่วโมง
  • คนเยอรมันทำงานปีละ 1371 ชั่วโมง
ญึ่ปุ่น
  • GDP อันดับ 3 ของโลก
  • GNP อันดับ 22 ของโลก
เยอรมัน
  • GDP อันดับ 4 ของโลก
  • GNP อันดับ 19 ของโลก


2.วิธีสื่อสาร


การสนทนาในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อ Productivity แค่เปลี่ยนวิธีการสื่อสาร Productivity จะเพิ่มขึ้น
  • พูดอย่างไม่ลังเล
  • ถามทันทีเมื่อไม่เข้าใจ
  • เมื่อทำผิดหาวิธีแก้ปัญหา
  • หยุดเขียนอีเมล์ที่ถามไม่จบสิ้น
  • เมื่อเข้าประชุมทุกคนต้องได้พูด
  • สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน
  • กระชับความสัมพันธ์ในทีม
เทคนิคเลิกเดาใจคน คือ การถามให้มาก (ซึ่งคนญี่ปุ่นไม่ชอบ)
 
การเดาใจคนอื่นมากเกินไป ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง
 
หัวหน้าควรลดการให้เดาใจ โดยการบอกว่า อยากได้อะไรต้องการอะไร ต้องการแบบไหน
 
ไม่ใช้คำว่า ด่วนที่สุด เพราะจะไปลด Productivity
 

3.วิธีบริหารเวลา
 

คนเยอรมัน
  • ถ้ามีสิ่งที่ต้องทำจะบริหารเวลาไม่ให้ยุ่ง
  • จดจ่อกับการทำงานเต็มที่ในเวลางาน
  • เขียนอีเมล์แบบเรียบง่าย
  • มุ่งมั่นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อพักก็พักเต็มที่
  • แก้ปัญหาเสียงรบกวนด้วยการใส่หูฟัง
การทำเอกสาร
  • เอกสารภายนอก ทำอย่างประณีต
  • เอกสารภายในทำแบบง่ายๆ
การลางาน
  • แยกลาพักร้อน กับการลาป่วย
  • ส่วนใหญ่ใช้เวลาพักร้อนจนหมดมีใบรับรองแพทย์จะได้ค่าจ้างด้วย
คนญี่ปุ่น
  • คิดมากและเสียเวลาไปกับเขียนอีเมล์
  • ถ้าใส่หูฟังต่อให้บอกว่าตัดเสียงรบกวนก็โดนตำหนิอยู่ดี
การทำเอกสาร
  • ออกแบบเอกสารอย่างประณีต
  • จัดทำเอกสารอย่างดีทุกประเภท
การลางาน
  • ใช้วันพักร้อนลาป่วย
  • ใช้วันพักร้อนต่ำที่สุดในโลก 60 % รู้สึกผิดที่ลาพักร้อนเพราะได้รับอิทธิพลรอบข้าง
 

4.การทำงานเป็นทีม

  • เพิ่มความไวในการทำงาน
  • ตัดงานไร้ประโยชน์ออกไป
  • ทำงานให้เสร็จในรวดเดียว
  • เพิ่มทักษะพนักงาน
  • ทบทวนการบริหารทีม
  • ทำผิดพลาดได้ แต่ห้ามปิดบัง
  • เตรียมวิธีการรับมือเสมอ
  • รู้จักพลิกแพลงเวลาสั่งงาน
  • จัดระเบียบอยู่เสมอ
  • แบ่งปันข้อมูลในทีม
  • เพิ่มความสามัคคี
ญี่ปุ่น ตีกอล์ฟกับลูกค้าเพื่อสานสัมพันธ์และทำธุรกิจ
 
เยอรมัน ตีกอล์ฟกับลูกค้าเพื่อสังสรรค์
 

5.การใช้ชีวิต
 
ญี่ปุ่น
  • เผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
  • เดินตามทางสังคมที่กำหนด
  • หาสิ่งที่อยากทำไม่เจอ
  • ได้คะแนนความใจกว้างต่ำ
  • ไม่ค่อยลางานหรือกลับก่อน
  • แคร์สายตาคนรอบข้าง
ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์, จัดสภาพแวดล้อมการทำงาน, มีน้ำใจให้มากขึ้น
 
เยอรมัน
  • ระบบบำนาญเพียบพร้อม
  • เลือกทางเดินชีวิตได้หลายทาง
  • ไม่ค่อยยิ้มแย้มแต่มีน้ำใจ
  • แยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว
  • เมื่อเลิกงานกลับบ้านทันที
  • ถือคติ ฉันก็คือฉัน
เปิดใจกับวิธีทำงานที่หลากหลาย, ไม่เอาชีวิตไปเกาะติดกับที่ทำงาน, ออกไปสนุก ทำสิ่งที่อยากทำ
 

6.7 เทคนิคทำงานแบบเยอรมัน

 
  1. คุยงานแบบตัวต่อตัว
  2. ตั้งเป้าหมายการประชุม
  3. ตัดสินใจวันนี้ ลงมือทำพรุ่งนี้
  4. ลิสท์ งาน 3 อย่างของวันนี้
  5. ลองประชุมนอกสถานที่
  6. เปลี่ยนเส้นทางขากลับบ้าน
  7. หาเวลาให้ตัวเอง
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
498
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด