บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.2K
5 นาที
10 พฤศจิกายน 2563
#รีวิวหนังสือ แบรนด์ดังๆ เขาตั้งราคาสินค้ากันยังไง


 
รีวิวหนังสือ แบรนด์ดังๆ เขาตั้งราคาสินค้ากันยังไง เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมแบรนด์ดังราคาสินค้าแพงแสนแพงแต่ก็ยังมีคนซื้อ แบรนด์ดังๆ เหล่านี้เขาให้หลักการอะไรในการตั้งราคาสินค้า และเรื่องราคาสินค้าที่หลายคนพยายามขายเอาใจลูกค้าด้วยการตั้งราคาถูกๆจะส่งผลอย่างไรกับการทำธุรกิจบ้าง นี่คือเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม สินค้าควรมีคุณค่า มีราคาในตัวเอง การตั้งราคาเพื่อมุ่งหวังที่จะขายได้ขายดีอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจก็ได้

ราคา : 225 บาท
จำนวนหน้า : 212 หน้า

นักเขียน: เซนงะ ฮิเดโนบุ (Hidenobu Senga)



บริหารจัดการธุรกิจ กลยุทธ์การตั้งราคาแบบขายถูกก็ได้กำไร  หรือต่อให้แพงยังไงคนก็ซื้อ
 
ต่อให้สินค้าหรือบริการคุณดีแค่ไหน ถ้า "ตั้งราคาขาย" ไม่เป็นก็ทำกำไรสูงสุดได้ยาก เซนงะ ฮิเดโนบุ ที่ปรึกษาด้านไหวพริบเรื่องตัวเลขและประธานสถาบันวิจัยการพัฒนาศักยภาพการจัดการ จะพาคุณลงรายละเอียดเกี่ยวกับ กลยุทธ์การตั้งราคาที่ทำกำไรแม้ราคาถูก หรือขายได้แม้ราคาแพง ซึ่งเปรียบเสมือนคัมภีร์การทำธุรกิจที่ทุกบริษัทต้องมีไม่ว่าจะประกอบกิจการใดๆ ก็ตาม รีวิวหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจทันทีว่า
  • ทำไมร้านค้าจึงได้กำไรจากโปรโมชั่นซื้อชิ้นที่สองลดครึ่งราคา
  • ทำไมลูกค้าถึงยินดีซื้อกาแฟจากโรงแรมหรู ทั้งๆ ที่ขายแพงกว่าร้านทั่วไปหลายเท่า
  • ระหว่างจ่ายเงินสดได้ส่วนลดกับได้แต้มสะสมอย่างไหนคุ้มกว่ากัน
  • ทำไมเฟอร์รารี่ถึงยังรักษาฐานลูกค้าได้เหนียวแน่น ทั้งที่มีราคาหลายสิบล้าน
  • ทำไมกลยุทธ์ EDLP (ราคาถูกทุกวัน) ถึงได้กำไร
แค่ตั้งราคาสินค้าอย่างชาญฉลาดแล้วคุณจะไม่รู้จักคำว่า "ขาดทุน" อีกต่อไป
 
ราคากำหนดได้ด้วยมุมมอง 3 ประการ
  1. ยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์
  2. ยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์
  3. ยึดการแข่งเป็นเกณฑ์
ยึดต้นทุน COST เป็นเกณฑ์

ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ = ราคา
 
Cost Plus

ผู้ผลิตจะคำนวณต้นทุนการผลิตที่เสร็จสมบูรณ์ เข้ากับกำไรขั้นต้นแล้วค่อยกำหนดราคา
 
การกำหนดราคาโดย เน้นความต้องการของตลาด ยึดความต้องการซื้อ (ความต้องการของตลาด) และระดับความอยากได้ของผู้บริโภคเป็นเกณฑ์
 
ความแตกต่างของกลยุทธ์ส่งผลต่อราคาด้วย
เข้าใจความแตกต่างของกลยุทธ์การบริหารกับกลยุทธ์การตลาดลู ความต้องการ และรูปแบบเฉพาะ ขอบเขตกลยุทธ์
 
กลยุทธ์ของร้านสะดวกซื้อที่ขายความสะดวก

ร้านสะดวกซื้อเกิดขึ้นจากการตระหนักถึงความต้องการซื้อของตามร้านค้าเล็กๆในเมือง ขอบเขตกลยุทธ์คือการเป็นร้านค้าปลีกที่เปิดหลายชั่วโมง ( รูปแบบเฉพาะ ) ให้บริการความสะดวก( ความต้องการ ) ที่ผู้บริโภค(ลูกค้า) ในละแวกใกล้เคียงมาซื้อของได้ใกล้ๆเสมอ
 
กลยุทธ์ My Basket ของซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อมในเมือง

เป็นธุรกิจที่แย่งส่วนส่วนแบ่งร้านสะดวกซื้อ นั่นคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อมในเมือง ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดคือ My Basket ของอิออน

กลยุทธ์การตลาดก็คือ การเล็งกลุ่มลูกค้าประเภทนี้ที่อยู่ในระยะเดินทางถึงภายใน 5 นาที สินค้าจะจำกัดอยู่ที่สินค้าอาหารเป็น ส่วนใหญ่ Product โดยร้านมีขนาดเท่ากับร้านสะดวกซื้อ และเน้นขายสินค้าอาหารสดสามชนิด เนื้อสัตว์ ผัก ปลา ในราคาถูกเหมือนกับนซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
 
Private Label Brand หรือ สินค้าตราห้าง หมายถึง สินค้าที่ผลิตโดยห้างสรรพสินค้า
 
วาตามิ ร้านเหล้าซึ่งเป็นกิจการแบบลูกโซ่ ล้มเหลวเพราะกลยุทธ์ราคาที่ไม่เหมาะกับกลยุทธ์การบริหาร

ความสามารถในการทำกำไรคืออะไร

ความสามารถในการทำกำไรคือ อัตราส่วนของกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุน 
  • ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท หรือ ROA
  • อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน (กำไร/สินทรัพย์)
  • บางทีก็เรียกว่า ROA(Return on Assets)  อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์
สารบัญ
บทที่ 1 กลยุทธ์เปลี่ยน ราคาก็เปลี่ยน 


เครื่องเรือนโอสึกะ VS นิโทริ ความแตกต่างที่แท้จริงอยู่ตรงไหน

1. ความแตกต่างของกลยุทธ์ส่งผลต่อราคาด้วย ต้องเข้าใจความแตกต่างของ
  • กลยุทธ์การบริหาร หรือ ขอบเขตกลยุทธ์
    • ลูกค้า
    • ความต้องการ
    • รูปแบบเฉพาะ
  • กลยุทธ์การตลาด หรือ ส่วนประสมการตลาด
    • ราคา
    • ผลิตภัณฑ์และบริการ
    • โปรโมชั่น
    • ช่องทางการจัดจำหน่าย
2. ความแตกต่างของกลยุทธ์ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อม My Basket อยู่ตรงไหน
  • ร้านสะดวกซื้อ
    • Product
      • สินค้าใกล้ตัว
      • จำกัดเฉพาะสินค้าขายดี
      • เน้นบริการที่หลากหลาย
    • Price
      • ค่อนข้างแพง
    • Promotion 
      • เลือกซื้อง่าย
      • บริการตนเอง
    • Place
      • มีร้านจำนวนมาก
      • เน้นจำนวนคนสัญจรไปมา
         
  • ซูเปอร์มาร์เก็ต (My Basket)
    • Product
      • เน้นขายสินค้าสดสามอย่าง
      • Topvalu (สินค้า PB ในเครืออิออน)
    • Price
      • ราคาถูก
    • Promotion 
      • บริการแบบซูเปอร์มาร์เก็ต
    • Place
      • มีร้านจำนวนมาก
      • เน้นลูกค้าบริเวณใกล้เคียง
3. เคล็ดลับการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริหารกับราคา

Lexus ที่แพงแต่ขายได้กับร้านที่ขายสินค้าลดราคาแต่ยังได้กำไร
  • ความสามารถในการทำกำไรคืออะไร
    • อัตราส่วนของกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
       
  • ROA (Return on Assets) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์
    • อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน (กำไร/ทรัพย์สิน)
    • ยิ่ง ROA สูง ความสามารถการทำกำไรก็ยิ่งสูงขึ้น
       
  • Lexus ขายแพง แต่ขายได้ (1 เพิ่มอัตรากำไรสุทธิ)
    • กลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เน้นกลยุทธ์การตลาดด้วยบริการเป็นหลัก
       
  • ร้านสินค้าลดราคา ราคาถูก แต่ได้กำไร (2 เพิ่มอัตราหมุนเวียนสินทรัพย์)
    • กลยุทธ์บริหารขายราคาถูก เกิดการหมุนเวียนสินค้า ลงทุนน้อย
4. ลองดูความต่างของวิธีทำกำไรระหว่าง นิโทริ กับ เครื่องเรืองโอสึกะ
  • นิโทริ กลยุทธ์บริหารขายราคาถูก 
  • โอสึกะ กลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เน้นการบริการลูกค้า
 
บทที่ 2 ทำไมสตาร์บัคจึงไม่ลดราคา ต่อสู้ด้วยกลยุทธ์แบรนด์


1. ทำไมจึงไม่รู้สึกว่ากาแฟถ้วยละกว่า 1,000 เยน ในโรงแรมหรูมีราคาแพง
  • มูลค่าของกาแฟมีผลต่อราคา
  • สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่กาแฟ แต่เป็นการได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ
  • มูลค่าเพิ่ม คือสิ่งที่เพิ่มมูลค่าให้กับกาแฟ
  • นั้นคือ ซื้อความสนุก ซื้อความพึงพอใจ 
2. ทำไมสตาร์บัคจึงไม่ลดราคา
  • พลังของแบรนด์ทำให้ไม่รู้สึกว่า สตาร์บัคแพง
  • สตาร์บัคส์ใช้กลยุทธ์ตั้งราคาสูงเพื่อสร้างแบรนด์ขึ้นมา
  • ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองมีฐานะต่างจากคนอื่นสิ่ง
  • สิ่งจำเป็นต่อการสร้างแบรนด์
    • ยึดมั่นในพันธกิจ
    • ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
    • ตอบโจทย์ด้วยการบริการ
    • ใช้ความเป็นสินค้า บริการเฉพาะทาง การอบรมพนักงาน
       
  • เครื่องหมายการค้า สินทรัพย์ที่บ่งบอกแบรนด์
  • แบรนด์คือผลตอบแทนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
3. มาตรการที่ทำให้ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในเมืองอยู่รอดได้ แม้จะถูกกดดันโดยร้านใหญ่
  • กลยุทธ์ 4P ของการตลาด
    • ไม่สามารถแข่งขันได้ด้วยราคา
    • หาทางรอดให้สินค้าโดยเปลี่ยนเป็นร้านเฉพาะทาง
    • ส่งเสริมการขาย โดยการขายตามบ้าน
    • สร้างโอกาสสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า
       
  • กลยุทธ์สร้างการเติบโตของ ยามางุจิเครื่องใช้ไฟฟ้าย่านมาจิดะ
    • ร้านใกล้บ้าน และสะดวกสบาย พร้อมที่จะช่วยหากมีปัญหา
4. ความลับของเฟอร์รารี่ที่ขายราคาแพงแต่ลูกค้ายังซื้อ
  • จุดเริ่มต้นของการบริหารคือรถแข่ง ต่างจากผู้รายอื่น
  • เป้าหมายเดิม ผลิตรถแข่งที่จะทำให้ชนะในการแข่งขัน
  • ลดสมรรถภาพการเป็นรถแข่ง หันมาผลิตรถยนต์ทั่วไป
  • เป้าหมายคือ คนชั้นสูง และคนฐานะร่ำรวย
  • การบริหารที่พิเศษของเฟอร์รารี่
    • ผลิตน้อยลง เพิ่มมูลค่า
    • การปรับแต่งได้หลายอย่าง
    • สร้างแนวคิด มีหนึ่งเดียวในโลก ไม่มีคันไหนเหมือนกัน
บทที่ 3 กลยุทธ์ราคาที่มีโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกอยากซื้อ ความเชื่อมโยงของผลทางจิตวิทยากับการทำกำไรของ ชิ้นที่สองลดครึ่งราคา


1. ซื้อสูทตัวที่ 2 ลดครึ่งราคา จะได้กำไรหรือ
  • การขายพร้อมกัน ช่วยประหยัดต้นทุนคงที่ ประสิทธิภาพในการขาย (กำไรส่วนเกินต่อชั่วโมงต่อคน) จึงเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดนี่จึงเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของกลยุทธ์ซื้อตัวที่สองลดครึ่งราคา
2. วิธีเพิ่มยอดขายด้วยการกำหนดราคาแบบใช้จิตวิทยาลูกค้าให้เป็นประโยชน์
  • ผลของราคาเศษ 9, 8 ทำให้สินค้าดูราคาถูก
  • ตั้งราคาเป็นระดับขั้น วางกรอบเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเลือก
3. กลไกของสินค้า PB ที่ราคาถูกแต่ทำกำไรได้คืออะไร
  • PB(Private Brand) สินค้าที่ร้านขายปลีก/ขายส่ง เป็นผู้คิดและผู้ขาย โดยให้ผู้ผลิตดำเนินการผลิตสินค้า
    • สินค้า PB เกิดช่วงทศวรรษที่ 1960
    • ดำเนินกลยุทธ์ขยายผลประกอบการด้วยการขายถูก
    • ลดต้นทุนการผลิต
    • ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาหรือส่งเสริมการขาย
    • อัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าสูงกว่า
4. จ่ายเงินสดได้ส่วนลดกับได้แต้มสะสมอย่างไหนคุ้มกว่ากัน
  • การคำนวณความคุ้มเสีย ทำให้เห็นว่าการจ่ายเงินสด
แล้วได้ส่วนลดคุ้มกว่าได้แต้มสะสม
  • สำหรับร้านค้า การให้แต้มคุ้มกว่า
  • สำหรับลูกค้า จ่ายเงินสดได้ส่วนลดคุ้มกว่า
บทที่ 4 วิธีทำกำไรโดยมีเบื้องหลังอยู่ที่การแข่งขันทางราคากลเม็ดของ ร้านอุด้งแบบบริการตนเอง ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


1. ร้านอุด้งแบบบริการตนเอง ใช้วิธีเพิ่มกำไรด้วย ข้าวปั้น
  • การเตรียมทุกอย่างต่อหน้าลูกค้า ขายความรู้สึกว่าทำเองกับมือ ความรู้สึกสดใหม่ ความสบายใจและการสื่อสาร ช่วยเพิ่มยอดขาย
2. ทำไมกลยุทธ์ EDLP ราคาถูกทุกวัน ถึงได้กำไร
  • ตั้งร้านจำนวนมากในย่านเดียวกัน
  • ไม่มีแต้มสะสม ราคาพิเศษ บัตรเครดิต ส่งเสริมการซื้อด้วยเงินสด
  • ขายสินค้าอาหารช่วยสร้างกระแสเงินสดได้
3. การผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนทำกำไรได้จริงหรือด้านสว่าง และด้านมืดของผลลัพธ์จากการผลิต
  • ผลิตจากภายนอก ต้องขายจำนวนมากเพื่อให้ได้กำไร
  • ผลิตจากภายใน หากลดราคา จะขายทุนง่ายและจะขาดทุนสูง
4. เหตุผลที่ทำที่ทำกำไรได้แม้จะขายราคา 1 ใน 3 ของร้านอาหารฝรั่งเศสหรู
  • โอะเระโนะฟุเรนจิ ร้านอาหารฝรั่งเศสหรูแบบยืนกินได้กำไรจากอัตราหมุนเวียนลูกค้า ถ้าอัตราหมุนเวียนลูกค้าอยู่ที่ 3 รอบต่อวันก็จะได้กำไร
บทที่ 5 เทคนิคการตั้งราคาลับไหวพริบเรื่องตัวเลข


1. ทำไมกลยุทธ์ ลดราคาถ้าจองล่วงหน้านาน ถึงทำกำไรได้
  • เหตุผลที่ตั้งอัตราลดราคาได้สูงก็เพราะมีอัตรากำไรส่วนเกินสูงถึง 80%
2. เหตุผลแท้จริงซึ่งทำให้ที่พักในช่วงโกลเด้นวีคราคาแพง
  • ค่าเสียโอกาส
    • จากการที่ต้องปฏิเสธลูกค้า เนื่องจากที่พักเต็ม
       
  • มูลค่าเพิ่มที่ได้จากยอดขายที่สูญเสียไปคือเท่าไหร่
    • การสูญเสียกำไรส่วนเกินก็คือการสูญเสียกำไรจากการดำเนินงาน จึงเพิ่มราคาแบบจัดสรรปันส่วนตามกำไรส่วนเกินที่ต้องสูญเสียไปครับ
       
  • ทำให้ลูกค้ายอมรับราคาแพง
    • หากทำให้ลูกค้าที่คิดว่าราคาแพงรู้สึกคุ้มค่า อีกฝ่ายอาจมาพักอีกก็ได้
       
  • ต้องคืนกำไรให้พนักงานงานด้วย
    • ถ้าพนักงานมีกำลังใจทำงานมากขึ้น ก็จะเป็นแหล่งสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
3. คุณได้เงินเดือนสมกับแรงงานที่ทุ่มให้บริษัทหรือเปล่า
  • ทุนที่นำมาจ่ายเงินเดือนมาจากกำไรหรือยอดขาย
  • ยอดขาย - ค่าใช้จ่าย = กำไร เงินเดือนก็รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายด้วย
  • กำไร คือ ส่วนที่ได้จากจ่ายเงินเดือนให้พนักงานแล้ว คืนสู่ผู้ถือหุ้นบริษัท
  • ทุนที่นำมาจ่ายเงินเดือนคือ มูลค่าเพิ่ม หรือกำไรส่วนเกิน
  • การแบ่งสันปันส่วนมูลค่าเพิ่ม (กำไรส่วนเกิน) เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร
  • หากแบ่งต้นทุนคงที่ ที่คงเหลือเป็นกำไร ด้วยอัตราส่วน 4:4:2 ถือว่าเป็นบริษัทที่ดี อัตราจัดสรรค่าแรง [=ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หาร มูลค่าเพิ่ม(%)]
4. ราคาหุ้นกำหนดอย่างไร
  • คำนวณจาก มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น BPS : Book Value Per Share
เอาสินทรัพย์สุทธิขั้นต้น หาร จำนวนหุ้น
  • ผลตอบแทนการลงทุน 
    • ผลตอบแทนเมื่อได้รับเงินปันผล
    • ผลตอบแทนเมื่อได้รับผลประโยชน์ผู้ถือหุ้น
    • ผลตอบแทนเมื่อขายหุ้น
  • หุ้นมีความผันผวนมากตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทแต่ละแห่ง แนะนำให้ใช้เงินเย็นและลงทุนในระยะยาว
ความรู้สึกแรกที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ (แต่ยังไม่จบ)
 
“หนังสืออะไรเนี่ย อ่านยาก ชะมัด เปิดมาปุ๋บเจอทั้งตัวเลข เศษส่วน เปอร์เซ็นต์เต็มไปหมด สาบานว่านี่คือหนังสืออ่านทั่วไป ไม่ใช่ตำราเรียนใช่ไหม”

ไมมันดูเหมือนหนังสือเรียนวิชาบัญชี รวมตัวกับวิชาเศรษศาสตร์ ยังไงยังงั้น

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ iYom ต้องใช้เวลาอ่านมากอยู่ เพราะไม่สามารถที่จะอ่านแบบต่อเนื่องรวดเดียวจบเหมือนหนังสือเล่มอื่นๆ (มันออกจะเครียด)

ต้องอ่านไปพักไป เพื่อให้เวลาได้ทำความเข้าใจ และทำความคุ้นเคยกับเจ้าตัวเลขต่างๆ ในหนังสือมากขึ้น
 
แล้วทำไมยังทนอ่านต่อได้ละ ???
 
ถึงแม้เนื้อหาออกจะหนักไปทางบัญชีและเศรษฐศาตร์ แต่ผู้เขียนนำมาเล่าให้ฟังในเชิงธุรกิจ ทำให้ถ้าตังใจอ่านสักนิดจะรู้สึกสนุก และกระตุ้นต่อมอยากรู้ของ iYom ในเรื่องต่างๆ ที่เราน่าจะเคยเจอในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งโปรโมชั่นซื้อชิ้นที่สองลดครึ่งราคา แล้วร้านยังได้กำไรอยู่หรอ?

ทำไมเรายอมจ่ายเงินซื้อกาแฟ Starbuck ที่ราคาแพงกันอยู่ละ ?
ทำไมเรายังอยากได้แต้มสะสม มากกว่า ได้ส่วนลดเงินสดละ?
ทำไมสินค้า private brand ราคาถูกแล้วมันได้กำไรจริงหรอ ?
ทั้งหมดนี้ ล้วนมาจาก เวทมนตร์ในการตั้งราคาทั้งสิ้น
 
แล้วจำเป็นกับเราที่ต้องรู้ด้วยหรอ ?
 
ทุกวันนี้ต้องบอกว่าหลายคนผันตัวเองมาทำธุรกิจส่วนตัวกันแยะ โดยเฉพาะการเปิดร้านต่างๆ ทั้งร้านอาหาร กาแฟ เสื้อผ้า ขายของ ทำให้สิ่งที่เราต้องใส่ใจนอกจากการสร้างสรรค์สินค้าที่มีคุณค่าแล้ว เราก็ต้องอย่าลืมทักษะทางตัวเลข เพื่อจะใช้ในการบริหารธุรกิจของเราควบคู่ไปด้วย
 
สรุป
 
หนังสือ แบรนด์ดังๆ เขาตั้งราคาสินค้ากันยังไง ถึงแม้จะอ่านยากไปบ้าง  แต่เนื้อหาของมันจะช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์การตั้งราคาของสินค้าทั้งหลาย เพื่อประยุกต์ใช้ในธุรกิจ หรือ การงานของคุณได้เป็นอย่างดี
 
มาค้นหา กลเม็ดในการทำธุรกิจ ผ่าน ไหวพริบเรื่องตัวเลข ที่จะช่วยให้คุณ แม้จะขายสินค้าราคาถูกก็ได้กำไร หรือต่อให้ขายแพงยังไง ก็มีคนซื้อกันครับ
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด