บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.5K
1 นาที
18 มิถุนายน 2556
แนะ 4 กลยุทธ์เด็ด! ธุรกิจไทยปรับตัวลุยเออีซี
 
ปธ.ทีเอ็มบีแนะผู้ประกอบการไทยเร่งปรับกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถรองรับการเปิดเออีซี แนะ 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ สร้างนวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะสินค้าเกษตร 2. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม 3. เชื่อมโยงแต่ละอุตสาหกรรมเข้าหากัน และ 4. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยใช้เครื่องจักร
 
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการไทยควรจะปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับธุรกิจใน 4 ยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่
 
1. การสร้างนวัตกรรม เพิ่มมูลค่า โดยปัจจุบันการใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยอยู่ที่ 1,460 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 0.25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ นับเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน และอันดับที่ 41 ของโลก รองจากสิงคโปร์ (2.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) และมาเลเซีย (0.63% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) เปรียบเทียบกับประเทศผู้นำในเอเชีย คือ เกาหลีใต้ (3.74%) ญี่ปุ่น (3.67%) และจีน (1.97%)
 
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ควรได้รับการวิจัยและพัฒนามากขึ้นคือ สินค้าเกษตร โดยไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของอาเซียน แต่ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในรูปของยางขั้นต้น ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
 
2. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของโลก ปัจจุบันมีบริษัทได้รับอนุมัติให้ติดฉลากลดคาร์บอน (Carbon Footprint) บนผลิตภัณฑ์รวม 190 บริษัท โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง พลาสติกและผลิตภัณฑ์
 
3. การเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยเน้นอุตสาหกรรมที่สร้างความเชื่อมโยง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งไทยสามารถยกระดับเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียนได้ โดยปี 2555 ปริมาณการผลิตยานยนต์ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ติดอันดับ 9, 17, และ 23 ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก โดยผลิตได้รวมกัน 4.2 ล้านคัน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก
 
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีข้อได้เปรียบการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและศักยภาพด้านการบิน ทำให้ไทยสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศอื่นในลักษณะส่งผ่านนักท่องเที่ยว เช่น มาเลเซีย ไทย ลาว พม่า
 
4. ผู้ประกอบการไทยควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แรงงานในการผลิต ควรปรับตัวโดยการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต รวมถึงมีการพัฒนาศักยภาพแรงงานและการออกแบบสินค้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย ส่วนอุตสาหกรรมอาหาร แม้ไทยจะส่งออกอาหารสูงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แต่ยังคงต้องปรับตัวโดยการยกระดับมาตรฐานการผลิตในโรงงงานและเพิ่มความเข้มงวดในการรักษาคุณภาพตามมาตรฐานสากล พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ระบุเครื่องหมายสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐานปลอดภัยบนสินค้าเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่อาหารไทย
 
นายบุญทักษ์กล่าวเสริมด้วยว่า หากผู้ประกอบการไทยสามารถเร่งพัฒนาใน 4 ยุทธศาสตร์ ดังกล่าวข้างต้น เชื่อมั่นว่าไทยจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจอาเซียนที่แข็งแกร่งมีศักยภาพสูง และผู้ประกอบการก็จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้นในครั้งนี้

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด