บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
2 นาที
15 กุมภาพันธ์ 2564
กล้าทำ! รวย!  5 ร้านอาหารของคนที่เลิกเป็น “มนุษย์เงินเดือน”


 
คำว่า “ไม่กล้า” กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้หลายคนยังยึดติดกับการเป็น “มนุษย์เงินเดือน” ทั้งๆที่รู้ดีว่างานที่ทำก็มีแต่ช่วยทำให้เจ้าของรวยขึ้นๆ  ในขณะที่ตัวเองรายได้เท่าเดิม เพิ่มเติมคือสุขภาพจิตยิ่งแย่ไปทุกที ยิ่งบางบริษัทไม่มีสวัสดิการ ไม่มีเบี้ยเลี้ยง ไม่มีโบนัส แต่เราก็ยังไม่ “กล้า” ที่จะลาออก เพราะคิดแค่ว่า “ลาออกแล้วจะไปทำอะไร” 

www.ThaiFranchiseCenter.com คิดว่าสิ่งสำคัญอย่างแรกของคนอยากรวยคือ “ต้องกล้าอย่างมีเป้าหมาย” ซึ่งธุรกิจ “ร้านอาหาร” คือการลงทุนที่น่าสนใจ มีมนุษย์เงินเดือนหลายคนที่ลาออกแล้วมาเริ่มทำธุรกิจนี้เติบโตมีรายได้ ซึ่งแนวทางเบื้องต้นของคนที่อยากเปลี่ยนตัวเองจากมนุษย์เงินเดือนมาสู่เจ้าของร้านอาหารควรมีแนวทางดังนี้
 
1. วางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ


ภาพจาก Freepik
 
อย่าออกจากงานเพียงเพราะโมโหหรือเพราะไม่พอใจเจ้านาย แต่ถ้าจะลาออกมาทำร้านอาหารก็ต้องเกิดจากความรู้สึกที่อยากทำจริงๆไม่ใช่การประชด และต้องรู้ด้วยว่าเราจะทำร้านอาหารแนวไหน อย่างไร มีการวางแผนธุรกิจอย่างชัดเจน
 
2. สำรวจเงินในการลงทุน
 
เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญลองคิดให้รอบคอบว่าเรามีเงินทุนเท่าไหร่ ขนาดร้านที่เราตั้งใจเริ่มต้น เงินทุนเราพอไหม ถ้าไม่พอจะทำยังไง จะยืมจากคนรู้จัก หรือจะกู้จากสถาบันการเงิน อย่าลืมเรื่องเงินทุนหมุนเวียน และเงินสำรองในกรณีฉุกเฉิน และที่สำคัญควรมีเงินที่เหลืออีกส่วนหนึ่งเพื่อการลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ
 
3. ทำควบคู่ไปกับงานประจำก่อน
 
ขอแนะนำว่าช่วงแรกอย่าออกจากงานในทันที แต่ให้ลงมือทำร้านอาหารตัวเองควบคู่กับงานประจำ ซึ่งแน่นอนว่าเราอาจจะเหนื่อยในช่วงแรก ไหนจะงานประจำ ไหนจะงานที่ร้าน แต่ข้อดีของวิธินี้คือทำให้เรามีหลักประกันว่าถ้าธุรกิจเราไม่ดีอย่างที่คิดก็ยังพอเหลืองานประจำให้ทำได้ หรือถ้าร้านอาหารเราไปได้สวยเริ่มอยู่ตัว ค่อยลาออกมาทำเต็มตัวก็ได้
 
4. ต้องทำงานหนักแบบไม่มีวันหยุด


ภาพจาก  Freepik
 
อยากรวยก็ต้องขยันมากขึ้น คนทำงานประจำอาจจะมีวันหยุด แต่ถ้าทำธุรกิจตัวเองต้องยอมรับว่าวันหยุดเราแทบจะไม่มี ไหนจะปัญหาจิปาถะที่ต้องแก้ไข คนที่อยากเปิดร้านอาหารต้องเข้าใจจุดนี้ ถ้ายอมรับได้ก็เริ่มเดินหน้าต่อได้
 
5. รายได้ที่อาจจะผันผวน
 
ข้อดีของการทำงานประจำคือรายได้แน่นอน แต่ลงทุนเปิดร้านอาหารมีตัวแปรรายได้หลายอย่าง ยิ่งเปิดร้านใหม่ลูกค้าไม่รู้จัก แถมเรายังไม่มีประสบการณ์อาจมีข้อผิดพลาดหลายอย่าง รายได้อาจจะมีการผันผวน เดือนแรกๆ อาจจะยังไม่มีกำไรทันที อันนี้ต้องวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า
 

5 ร้านอาหารของคนที่เคย “ทำงานประจำ”
 
แค่พูดทฤษฏีมันคงไม่เห็นภาพเราได้ลองรวบรวมตัวอย่างของ 5 ร้านอาหารของคนที่เคยทำงานประจำ  ลองไปดูแนวคิดหลักการว่าเขาทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จได้
 
1. ร้าน Li Na Fishball Noodle


ภาพจาก My Nice Home
 
เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาชื่อดังในสิงคโปร์ เจ้าของร้านเคยเป็นพนักงานไฟแนนท์มาก่อน หลังทำงานประจำมา 8 ปี ได้เริ่มมาทำร้านอาหารของตัวเอง กลยุทธ์ที่ใช้คือการทำคลิปปรุงก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาลงในเฟซบุ๊ก และกลายเป็นไวรัลในทันทีและจากกระแสในจุดนี้ก็ดึงดูดให้สื่อต่าง ๆ มาสัมภาษณ์ ทำให้ร้านได้รับการประชาสัมพันธ์ และลูกค้าก็หลั่งไหลมาใช้บริการ ทำให้เจ้าของร้านเข้าสู่จุดคุ้มทุนภายในไม่กี่เดือน
 
2. ร้าน Kopifellas


ภาพจาก My Nice Home
 
เป็นร้านกาแฟในสิงคโปร์ของอดีตพนักงานธนาคาร ที่เจ้าของร้านบอกว่าเริ่มเบื่อกับวัฒนธรรมองค์กร เริ่มเปิดร้าน Kopifellas สาขาแรกที่ Timber+ ซึ่งเป็นศูนย์อาหารทันสมัย   และใช้กลยุทธ์สร้างบรรยากาศร้านให้ประทับใจลูกค้าจนดูโดดเด่นและมีเอกลักษณ์มีจุดขายในตัวเอง นำไปสู่ความสำเร็จสามารถขยายอีก 2 สาขาที่ศูนย์อาหารแห่งอื่น และเมื่อ Kopifellas กลายเป็นที่รู้จักและธุรกิจเริ่มอยู่ตัว เขาก็แตกไลน์ธุรกิจมาสู่ร้าน FellasCube คอฟฟี่ช้อปสไตล์โบราณที่กลางวันให้บริการอาหารและกาแฟ แต่กลางคืนเปลี่ยนเป็นบาร์ทันสมัย
 
3. ร้าน Hakka Hamcha & Yong Tou Fu


ภาพจาก Seth Lui
 
เจ้าของร้านแห่งนี้เคยทำงานประจำมา 6 ปีในตำแหน่งผู้จัดการของบริษัทแห่งหนึ่ง และได้นำเงินเก็บจากการทำงานมาเปิดร้านอาหารของตัวเอง และเนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหารมาก่อน ช่วงแรกจึงต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ไปจนเข้าที่เข้าทาง กระทั่งได้รับรางวัล Promising New Hawker Award –ร้านแผงลอยดีเด่นจากสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA (New Economy Academy) ของสิงคโปร์ พร้อม ๆ กับชื่อเสียงที่ตามมาและเป็นที่รู้จักมากขึ้น
 
4. ร้าน Awfully Chocolate


ภาพจาก Changi Airport
 
เจ้าของร้านแห่งนี้เคยทำงานเป็นทนายความมาก่อน และเมื่อหันหลังให้งานที่เคยทำ จึงได้มาเปิดร้าน Awfully Chocolate ที่จำหน่ายเค้กและเบเกอรี่แบบพรีเมี่ยม โดยเขาได้นำเอาแนวคิดและรูปแบบการทำงานในสมัยที่ยังเป็นทนายมาปรับใช้ในการบริหารจัดการร้านอย่างมีระบบ จนกระทั่งมีการขยายสาขาไปยังต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์สร้างรายได้ดียิ่งกว่าตอนที่ทำงานประจำ
 
5. ร้าน 545 Whampoa Prawn Noodles


ภาพจาก Miss Tam Chiak
 
เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังในสิงคโปร์เช่นกัน ในอดีตเคยเป็นพนักงานด้านไฟแนนท์ให้บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ธุรกิจนี้พิเศษตรงเจ้าของร้านเป็นรุ่นที่ 3 คือเป็นธุรกิจที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยตัวเอง แต่เมื่อลาออกจากงานประจำ ก็ได้นำเอาความรู้ด้านการเงิน การบริหารมาปรับใช้กับการทำร้านอาหาร ต่อยอดให้ร้านอาหารเติบโตได้ดียิ่งกว่าเดิมจนกลายเป็นร้านที่มีชื่อเสียงมากขึ้นรู้จักกันทั้งประเทศ
 
สิ่งสำคัญของการผันตัวเองจากคนทำงานประจำสู่เจ้าของกิจการคือการวางแผนและการบริหารจัดการ รวมถึงการมีธุรกิจของตัวเองต้องหมายถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้น สมัยที่เป็นลูกจ้างอาจไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นนอกจากทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย แต่เมื่อมีธุรกิจเราต้องคิดให้รอบด้าน เอาใจใส่ลูกน้องทุกคนให้เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การบริหารคนที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 



ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,681
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
461
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด