บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    บัญชี ภาษี
4.7K
1 นาที
28 สิงหาคม 2556
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี สำหรับ SME คิดยังไง?

ในประเทศไทยมีมาตรฐานในการกำหนดกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี (สมอลล์แอนด์มีเดียมเอ็นเตอร์ไพรส์) แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ เช่น
 
ในทางกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ได้กำหนดกิจการเอสเอ็มอี เพื่อจำแนกคุณวุฒิของผู้ทำบัญชี ว่าไม่ต้องถึงขั้นจบปริญญาตรี แค่เพียงวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) ก็ได้ ซึ่งได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีทรัพย์สินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 30 ล้านบาท นั้น 
 
นอกจากนี้ สำหรับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกิจการเอสเอ็มอีตามเงื่อนไขดังกล่าวนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชียังได้กำหนดให้ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบแสดงฐานะการเงิน หรืองบดุล แต่ในทางภาษีอากรเห็นว่า ยังมีความจำเป็นกำหนดให้กิจการเอสเอ็มอีที่เป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ทีเอ) เป็นผู้ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
 
กิจการเอสเอ็มอี ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง ดังนี้
 
ธุรกิจผลิตสินค้าและธุรกิจบริการที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม ต้องมีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ต้องมีการจ้างงาน ตั้งแต่ 51 ถึง 200 คน หรือมูลค่าทรัพย์สินถาวรเกินกว่า 50 แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
 
ธุรกิจค้าส่ง ที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม ต้องมีการจ้างงานไม่เกิน 25 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางต้องมีการจ้างงาน ตั้งแต่ 26 ถึง 50 คน หรือมูลค่าทรัพย์สินถาวรเกินกว่า 50 แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
 
ธุรกิจค้าปลีก ที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม ต้องมีการจ้างงานไม่เกิน 15 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ต้องมีการจ้างงาน ตั้งแต่ 16 ถึง 30 คน หรือมูลค่าทรัพย์สินถาวร เกินกว่า 30 แต่ไม่เกิน 60 ล้านบาท
 
กล่าวสำหรับในทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ได้มีการจำแนกแยกแยะกิจการเอสเอ็มอีออกเป็นแต่ละวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายดังนี้
 
กรณีมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กิจการเอสเอ็มอีต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
 
กรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อการได้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรบางประเภท ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน และเครื่องจักร เป็นกรณีพิเศษ กิจการเอสเอ็มอีต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ว่าจะตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีทรัพย์สินถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน 

อ้างอิงจาก เดลินิวส์
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด