บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
1.7K
3 นาที
9 มีนาคม 2564
#รีวิวหนังสือ เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา
 

ในโลกที่สับสนวุ่นวายคนส่วนใหญ่หลงลืมจิตวิญญาณที่แท้จริงของตัวเอง และปล่อยให้ตัวเองไหลไปตามกระแสของโลกยุคใหม่ และคิดว่าสิ่งวุ่นวายที่เราทำทุกวันมันคือเรื่องปกติ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าชีวิตของเราได้ดำดิ่งไปสู่โลกของงาน เงิน และสังคม และคงจะดีกว่านี้หากเราได้หันมามองตัวเองใหม่และปรับตัวไม่ให้ไหลไปกับกระแสทุนนิยมเกินไป และจุดนั้นอาจนำเราไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ เส้นทางชีวิตแบบใหม่ ที่ทำให้เรามีความสุขได้เช่นกัน

โดย : Alan Lightman แปล โตมร ศุขปรีชา
จำนวน : 120 หน้า
ราคา : 225 บาท 
 


 
รีวิวหนังสือ เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา เนื้อความในหนังสือ "เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา" บอกเล่าภาพของวันเวลาในอดีตเพื่อให้เราทบทวนว่า เพราะเหตุใดเราจึงยอมให้ตัวเองมีเวลาวางแบบในช่วงวัยเด็กไม่ได้ เพราะเหตุใดเราจึงช้าลงกว่าจังหวะการหมุนของโลกทุนนิยมไม่ได้ และเพราะเหตุใดเราจึงไม่ยอมที่จะไม่มีตัวตนในโลกเสมือนไม่ได้แล้วเรากลับยอมให้ตัวตนในโลกเสมือนและเงื่อนไขต่าง ๆ กลายเป็นข้อบังคับสำคัญของการใช้ชีวิตของเราไปเสียอย่างงั้น 
 
ซึ่งในท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ ได้บอกกับเราว่าในท้ายที่สุดแล้วความเร็ว ความเร่งรีบ ทำให้เราหลงลืมอะไรบางอย่าง และเพราะมันทำให้เราเคยชินจนเราละเลยที่จะใช้ชีวิตในจังหวะของตัวเองจริง ๆ จนในท้ายที่สุดเราก็เลือกที่จะละเลยชีวิตขอฝตัวเอง เพียงเพราะเรายอมรับที่จะทำในแบบที่สังคมกำหนดเอาไว้ หากแต่ละเลยการกำหนดควบคุมของตัวเองอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนข้อคิดออกมาในชื่อของหนังสืออยู่ในทีแล้วว่า "เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา"
 
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในกัมพูชา


ในโลกที่พัฒนาแล้ว ได้สร้างวิถีชีวิตวุ่นวายที่กระทั่ง 1 นาทีก็ไม่อาจเสียเปล่าไปได้
 
ปัจจุบันชีวิตคนเราอัดแน่นไปด้วยตารางงาน สิ่งที่ต้องทำ และสื่อ เชื่อมต่อหนาแน่นจนไม่มีพื้นที่สำหรับคิดใคร่ครวญถึงตัวเอง และโลก ทำให้สูญเสียโอกาส
การทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ไป
 
นักจิตวิทยารู้มานานแล้วว่า ความสร้างสรรค์จะผุดขึ้นมาในช่วงเวลาที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ระหว่างเล่น ระหว่างคิดไปเรื่อย ระหว่างเตร็ดเตร่
 
โครงข่ายจำนวนคนหนุ่มสาวในอเมริกาที่ “ไม่มีความสุข” เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2015 สัดส่วนของวัยรุ่น(อายุ 12 ถึง 17 ปี) ที่รายงานว่ามีภาวะซึมเศร้ารุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา เพิ่มจากราว 8% มาเป็นเกือบ 13%
 
ตัวขับเคลื่อนหลัก คือ การปรากฏขึ้นของโครงข่ายดิจิทัลที่ทั้งมหึมาและแผ่กว้างจึงทำให้มีโอกาสหรือความปรารถนาที่จะหยุดเชื่อมต่อน้อยมาก โครงข่ายเปลี่ยนความจริงแบบมีเลือดมีเนื้อตรงหน้าให้เป็น ความจริงเสมือน และความจริงเสมือนนั้น เสียงดังกึกก้อง  กลืนกิน ทำลายความเป็นมนุษย์ และไม่หยุดหย่อน มันอาจดูดดึงเวลาทั้งหมดไปได้ ทั้งยังพุ่นไปข้างหน้าโดยไม่รอใคร เจนิส วิตล็อก(Janis Whitlock) 
 
สำนักวิจัยพิว (Pew) วัยรุ่นอเมริกันโดยเฉลี่ยทุกวันนี้ส่งหรือรับข้อความกันมากกว่าวันละ 110 ข้อความ 
 
ที่มาของอาการซึมเศร้า และวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นในวัยรุ่นคือ ความสะพรึงกลัวการอยู่ลำพัง วัยรุ่นยุคใหม่ที่มีชีวิตอยู่ในโลกเสมือน พวกเขาเชื่อมต่อตลอดเวลา
 
FOMO : Fear of Missing Out หรือ การ”กลัวพลาดโอกาส”การเสพติด การพึ่งพิงกระแสการไหลของดิจิทัล เฝ้ารอจะเสพครั้งต่อไปพยายามตามกระแสให้ทันอยู่เสมอ แต่เราก็ช้ากว่าเสมอ
 
เทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่ได้หล่อหลอมความเข้าใจที่เรามีต่อโลกต่อ อัตลักษณ์ ต่อวิธีประเมินคุณค่าส่วนตัว ต่อความสัมพันธ์ แม้กระทั่งการรับรู้เวลาและสถานที่
 
เร่งรีบรุมเร้า
 

ความเร็วในการเดินของคนเดินเท้าจาก 32 เมืองทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10%ในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2005 
 
คนเราจะใช้เวลาทำกิจกรรมยามว่างน้อยลงถ้าเวลาทำงาน (ที่ได้ค่าจ้าง)ทำกำไรให้เรามากขึ้น
 
เราปล่อยตัวเองให้ลอยไปตามคลื่นแห่งเทคโนโลยีและความเจริญโดยไม่ได้มองว่ากำลังไปทางไหน โลกของเราเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ เราเสียความเงียบเสียเวลาที่จำเป็นในการใคร่ครวญ
 
เล่นนักวิจัยชาวเดนมาร์ก ซีน ยูห์ล มุลเลอร์ (Signe Juhl Møller)และคนอื่นๆ ค้นพบว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นอยู่ ความหมายของของเล่น หรือ วัตถุหนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ทำให้เกิดวิธีใหม่ๆ ในการใช้งานของเล่นนั้นๆ
 
นักการศึกษาชาวแคนาดา ซิสเตอร์วาเลอรี แวน โกเวนแบร์ก(Sister Valerie Van Cauwenberghe) กล่าวว่า “การเล่นคือกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเกิดขึ้นเองโดยแท้ เด็กๆ สามารถเลือกเข้าร่วมอย่างเป็นอิสระ
 
นายแพทย์เคนเนท อาร์. กินส์เบิร์ก (Kenneth R.Ginsburg) การเล่น ช่วยให้เด็ก ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาจิตนาการความคล่องแคล่ว รวมไปถึงความแข็งแกร่งทางร่างกายทางกระบวนการรับรู้และทางอารมณ์
 
ปัจจัย สำคัญที่ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์น่าจะได้แก่การปล่อยให้มีช่วงเวลาครุ่นคิดปัญหาตามสบายในระดับจิตใต้สำนึก ได้สำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ ระหว่างเล่น
 
ไอน์สไตน์ว่าไว้ ความคิดดีๆ และทางแก้ปัญหาดีๆ มากมาย มักเกิดในระดับจิตใต้สำนึก และเราต้องการทั้งเวลาและสถานที่ให้มันเกิดขึ้น
 
จิตที่ท่องไปในเสรี 

  • แพทย์ชาวเยอรมันชื่อ ฮันส์ แบร์เกอร์ (Hans Berger)
  • สิ่งที่แบร์เกอร์ค้นพบอย่างหนึ่งก็คือ สมองนั้นวุ่นวายเสมอ
  • แม้ในช่วงที่ดูเหมือนพักผ่อนอยู่ ที่จริงแล้ว เวลาพัก สมอง
  • ใช้พลังงานน้อยกว่าเวลาทำงานโดยรู้ตัวเพียง 5%
  • นักจิตวิทยา ลูว์อิส เทอร์แมน (lewis Termag) ได้ติดตามชีวิตคน
  • 1,500 ที่มีไอคิวสูงในระดับ 135 ถึง 200
แม้คนกลุ่มนี้จะประสบความสำเร็จในชีวิตและอาชีพการงานมากกว่าคนทั่วไป แต่ก็พบว่าพวกเขาไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์เหนือกว่าปกติพบว่าคนที่มีความสร้างสรรค์สูงมักมีไอคิวอยู่ที่ค่าเฉลี่ย คือราว 120
 
นักจิตวิทยา อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)ความสร้างสรรค์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตประจำวัน
 
วิเคราะห์ผลจากแบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ปี 1990 ความสามารถในการสร้างแนวคิดพิเศษไม่เหมือนใครของเด็กๆลดลงมาก รวมถึงการคิดแบบพิจารณาและลงรายละเอียดด้วย
 
เด็กๆแสดงออกทางอารมณ์น้อยลง กระตือรือร้นน้อยลง ช่างพูด และแสดงออกทางคำพูดน้อยลง มีอารมณ์ขันน้อยลง มีจินตนาการน้อยลง ออกนอกกรอบน้อยลง
มีชีวิตชีวาและหลงใหลคลั่งไคล้น้อยลง รับรู้น้อยลง เชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้น้อยลง สังเคราะห์ได้น้อยลง และมองอะไรๆ ในมุมที่ต่างออกไปได้น้อยลงด้วย
 
ปิดเครื่องและเติมพลัง

ขณะอยู่ในสมาธิเราทำจิตให้นิ่งสงบมากที่สุเท่าที่จะทำได้ เมื่อความคิดใดๆ ผุดขึ้นมาอย่างที่มักจะเป็น เราเรียนรู้ที่จะไม่อยู่กับมันแค่รับรู้มัน  แล้วปล่อยมันไป สุขภาวะทางจิตวัดออกมาเป็นคะแนนโดยใช้ปัจจัย 6 อย่าง
  1. การยอมรับตัวเอง
  2. ความสัมพันธ์ในแง่บวกกับผู้อื่น
  3. อัตตาณัติ
  4. การปรับตัวรับสถานการณ์
  5. เป้าหมายแห่งชีวิต
  6. การเติบโตส่วนตัว
หนึ่งในนิยามเบื้องต้นที่สุดของสิ่งมีชีวิตก็คือ เป็นสิ่งที่สามารถแยกตัวเองออกจากสภาพแวดล้อม และสร้างสิ่งแวดล้อมภายในที่มั่นคงและเป็นระเบียบขึ้นมา สมดุลที่มั่นคงนี้เรียกว่า ภาวะธำรงดุล (Homeostasis)
 
หากไม่มีช่วงปิดเครื่อง เราอาจไม่ได้ตายทางกาย แต่เราจะตายทางจิต ทางอารมณ์ ทางวิญญาณ ในช่วงปิดเครื่อง ไม่เพียงเราจะได้ทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เรายังได้ทำความเข้าใจชีวิตของเราด้วย 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,689
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
462
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด