บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
32K
1 นาที
28 สิงหาคม 2556
กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า

การพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดยอดขาย และกำไร โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ คลังสินค้าจัดเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการแข่งขันสูง มีความหลากหลายในด้านรูปแบบ วิธีการ รวมทั้งอาจมีลูกค้า ผู้ใช้บริการ หรือผู้เกี่ยวข้องกับคลังสินค้ามีจำนวนมาก


เพื่อให้สามารถบริการแก่องค์กรต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพให้สามารถตอบสนองการดำเนินการของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องได้จะมีหลักสำคัญในการกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง 3 ประการ คือ
 
1. การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิตและตลาด ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจำเป็นต้องจัดตั้งคลังสินค้าเอกชนขึ้นเพื่อรองรับปริมาณวัตถุดิบที่เตรียมป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต จนเป็นสินค้าสำเร็จเพื่อรอการจำหน่าย ดังนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกทำเลที่ตั้งให้สอดคล้องกับแหล่งวัตถุดิบและแหล่งตลาดในคราวเดียวกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนได้ทั้งต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนในการบริการลูกค้า แต่วิธีการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้มีข้อจำกัด คือ ต้นทุนค่าที่ดิน จะสูงมากเพราะอาจต้องเลือกทำเลที่ตั้งในเมือง ตัวอย่าง ทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ถ.เสรีไทย (สุขาภิบาล 2) ใกล้เขตมีนบุรี ที่มีอุตสาหกรรมหลักที่มีชื่อเสียงหลายแห่งไปตั้งอยู่จะใกล้กับโรงงาน(แหล่งผลิต)และใกล้ตลาดในคราวเดียวกัน
 
2. การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาด การตัดสินใจเลือกทำที่ตั้งลักษณะนี้ผู้ประกอบการจะพิจารณาจัดตั้งคลังสินค้าให้ใกล้ลูกค้าให้มากที่สุด ในทางปฏิบัติปัจจุบันทำได้ยากมาก และเชื่อว่าจะไม่มีผู้ประกอบการใดนำแนวคิดในการเลือกทำเลที่ตั้งลักษณะนี้ไปใช้พิจารณาในการเลือกทำเลที่ตั้ง ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาดจะต้องใช้ต้นทุนคงที่ด้านที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่อาจมีต้นทุนสูงมาก

ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการคลังสินค้ามีทางเลือกที่จะจัดตั้งคลังสินค้าให้อยู่ใกล้ตลาดได้โดยอาศัยสามารถตั้งคลังสินค้าบริเวณถนนบางนา-ตราด ถนนร่มเกล้า ลาดกระบัง ถนนเจ้าคุณทหาร ถนนเพชรเกษม ถนนพระรามที่ 2 รวมทั้งถนนวงแหวนรอบนอก หรือวงแหวนอุตสาหกรรม ที่เส้นทางของถนนสายนี้ใช้ชื่อว่า ถนนกาญจนาภิเษก ในขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเอื้อประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า
 
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นถนนที่ล้อมรอบกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศเป็น อีกทั้งยังถือว่าเป็นตลาดหลักของสินค้าเกือบทุกประเภท ปัจจุบันมีคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าไปดำเนินการจัดตั้งอยู่บริเวณถนนวงแหวนอุตสาหกรรมมากมายซึ่งสามารถกระจายสินค้าเข้าสู่กรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งยังสามารถกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ได้เช่นกัน

ทั้งนี้เนื่องจากมีถนนเชื่อมต่อถนนวงแหวนดังกล่าวครอบคลุมทุกเส้นทาง หากพอสรุปกว้าง ๆ จะพบว่า การเลือกทำเลที่ตั้งบริเวณถนนดังกล่าวข้างต้นถือว่า เป็นการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด นั่นเอง
 
3. การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิต คลังสินค้าวัตถุดิบจะมีความสำคัญมากในกระบวนการเริ่มต้นของการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบให้มากที่สุดทั้งนี้เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบมีอยู่อย่างต่อเนื่องหากอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบจะมีปัญหาด้านต้นทุนการขนส่งรวมทั้งการควบคุมปริมาณการจัดส่งที่อาจต้องส่งคราวละ มาก ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนในการดำเนินการคลังสินค้า

อ้างอิงจาก โลจิสติกส์คอเนอร์
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด