บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
1.6K
2 นาที
9 สิงหาคม 2564
8 วิธีจ่ายหนี้บ้านให้หมดเร็ว
 

บ้านเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากครอบครอง แต่ปัญหาอยู่ที่จะซื้อเงินสดก็ไม่มีเงิน แต่ถ้าจะผ่อนยาวๆ สบายๆ หลายปี ก็กลัวว่าเงินจะจมไปกับอัตราดอกเบี้ย และมีปัญหาตามมา แต่ถ้าจะซื้อบ้านจริงๆ จะมีวิธีไหนบ้าง ที่จะช่วยให้สามารถผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ ได้ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com รวบรวมวิธีจ่ายหนี้บ้านให้หมดเร็วมาฝากครับ  

1.เพิ่มเงินดาวน์ให้มาก
 

ภาพจาก bit.ly/3ivljJe
 
กรณีนี้ต้องวางแผนก่อนจะทำการขอกู้ซื้อบ้านกับทางธนาคาร ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินดาวน์ให้มากที่สุด เพราะการจ่ายเงินดาวน์จำนวนมากจะทำให้เงินต้นลดลง ทำให้คุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องดอกเบี้ยได้
 
2.เพิ่มจำนวนเงินผ่อน
 
เป็นการจ่ายเงินค่าบ้านเกินกว่าจำนวนที่ทางธนาคารกำหนดในแต่ละเดือน โดยเงินส่วนต่างที่จ่ายเกินไปจะถูกนำไปหักกับเงินต้นเดิม เมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น เพิ่มเงินงวดที่ 13-24 ให้มากกว่าเงินชำระงวดที่ 1-12
 
3.โปะเงินเพิ่มทุกเดือน
 

ภาพจาก bit.ly/2VwgLKa

เป็นการจ่ายเงินค่าบ้านเพิ่มอีกเท่าตัว สมมติหากคุณผ่อนค่าบ้าน 10,000 บาท/เดือน เดือนหน้าก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 20,000 บาท เทคนิคนี้จะช่วยให้สามารถผ่อนบ้านได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับราคาบ้านด้วย
 
4.รีบโปะช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ
 
ปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยต่ำจะอยู่ในช่วง 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นดอกเบี้ยจะสูงขึ้นตาม MRR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี) ซึ่งในช่วงปีแรกอาจเสียดอกเบี้ย 3-4% แต่หลังจากนั้นอาจเสีย 5-8%  

5.มีเงินก้อนให้รีบโปะ
 

ภาพจาก bit.ly/3xsaVGB

ใครจะไปรู้ว่าผ่อนบ้านไปแล้ว 2-3 ปี เกิดฝันดีขึ้นมา เสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ถูกรางวัลที่ 1 นั่นแหละต้องนำเงินก้อนนี้ไปโปะค่าบ้านให้หมด หรือให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงเงินโบนัส เงินพิเศษ และอื่นๆ 
 
6.รีไฟแนนซ์ 
 
เป็นการกู้เงินจากธนาคารอื่นที่จ่ายดอกเบี้ยถูกมาจ่ายให้ธนาคารที่เคยกู้ แต่เมื่อผ่อนครบ 3 ปี จะหมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำกับธนาคาร พอขึ้นปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะลอยตัวตาม MRR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี) สำหรับคนที่จะทำการรีไฟแนนซ์ต้องดูเงื่อนไขสัญญาที่ทำไว้กับธนาคารด้วย
 
7.หารายได้เพิ่ม
 

ภาพจาก bit.ly/2VCY2ML

แม้การผ่อนบ้านจะใช้ระยะเวลานานประมาณ 20-30 ปี แต่ถ้าคุณมีรายได้เพิ่มนอกเหนือรายได้ประจำมาช่วยผ่อนค่าบ้าน โดยจ่ายแพงกว่าเดิมทุกๆ เดือน ก็จะทำให้คุณสามารถผ่อนค่าบ้านได้หมดเร็วกว่าเดิม เช่น อาจลงทุนหลายๆ ธุรกิจ 
 
8.เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน
 
ถือว่าสำคัญเพราะไม่มีใครการันตีได้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายและภาระหนี้แต่ละเดือน ไว้ใช้ในกรณีเกิดวิกฤติ รายได้สะดุด บริษัทปิดกิจการ หรือตกงาน ก็ยังมีเงินสำรองไว้ชำระค่าบ้านได้
 
นั่นคือ 8 วิธีผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ใครที่อยากมีบ้าน อยากสบายใจ ไร้ความกังวล ไร้หนี้สินเร็ว ลองนำวิธีการผ่อนบ้านตามบทความข้างต้นไปปรับใช้ดูครับ ว่ามีความเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ และไม่ทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 

SMEs Tips
  1. เพิ่มเงินดาวน์ให้มาก
  2. เพิ่มจำนวนเงินผ่อน
  3. โปะเงินเพิ่มทุกเดือน
  4. รีบโปะช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ
  5. มีเงินก้อนให้รีบโปะ
  6. รีไฟแนนซ์
  7. หารายได้เพิ่ม
  8. เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน
หลายคนมีคำถามว่าในช่วงการระบาดโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เราจะบริหารจัดการเงินอย่างไรให้รอด และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อฝ่าวิกฤตนี้ไป วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีเคล็ดลับการบริหารเงินมาฝากทุกๆ ท่านครับ..
36months ago   1,633  4 นาที
หลายคนอาจรู้แล้วว่าหนี้นอกระบบเป็นการกู้ยืมกันระหว่างบุคคล ไม่ใช่การกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ทำให้ได้เงินมาง่ายกว่าการกู้ธนาคาร เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะกลายเป็นหนี้นอกระบบ แต่ปัญหาอยู่ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร ทำให้คนเป็นหนี้ยากที่จะชำระเงินคืนให้หมดเร็วได้ ..
36months ago   1,330  4 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด