บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
1.6K
4 นาที
20 สิงหาคม 2564
#รีวิวหนังสือ TED TALK 

นักเขียน : Chris Anderson
นักแปล : พิริยะ กุลกาญจนาชีวิน
หน้า : 176 หน้า
ราคา : 240 บาท

แต่โปรดรู้ไว้ว่าการพูดนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้ก็คือ หายใจเข้าลึกๆ สนุกไปกับมัน จากนั้นจึงซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม

เสน่ห์อย่างหนึ่งของการพูดที่ยอดเยี่ยมคือความสดใหม่

อย่ามองว่าหนังสือเล่มนี้เป็น กฎ ที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเชื่อฟัง แต่ลองคิดว่ามันเป็นกล่องที่เต็มไปด้วยเครื่องมือให้คุณหยิบใช้ได้เมื่อจำเป็น

หน้าที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียวของคุณในการพูด คือ คุณต้องมีเนื้อหาที่ควรค่าและพูดมันออกมาจากใจริงในแบบของคุณเอง

หากทำได้ดี การพูดเพียงครั้งเดียวอาจส่งพลังให้คนทั้งห้อง และเปลี่ยนมุมมองที่พวกเขามีต่อโลกใบนี้ 

TED เริ่มมาจากการเป็นงานประชุมประจำปีที่รวมผู้คนจากวงการเทคโนโลยี ความบันเทิง และการออกแบบ (Technology Entertainment และ Design จึงเป็นที่มาของชื่อ TED)

1.หลักพื้นฐาน


ประเด็นคืออะไร

มันเป็นหน้าที่ของคุณต่อผู้ชมและต่อตัวคุณเองในการนำเสนอเรื่องราวอย่างตรงจุดและมีประเด็กที่ชัดเจน เมื่อมีคนนั่งอยู่ในห้องเพื่อรับฟังคุณ พวกเขากำลังมอบสิ่งที่ล้ำค่าอย่างยิ่งให้แก่คุณ นั่นคือ ช่วงเวลาไม่กี่นาทีที่พวกเขาพร้อมจะฟังอย่างตั้งใจ และหน้าที่ของคุณคือการใช้ช่วงเวลานั้นให้คุ้มค่าที่สุด 
 
แก่นเรื่อง (throughline) มันคือสาระสำคัญที่ร้อยไอเดียทั้งหลายที่คุณนำเสนอเอาไว้ด้วยกัน 
 
แก่นเรื่องก็แบกค้ำโครงเรื่องการนำเสนอของคุณเช่นกัน มันทำให้การพูดมีความหมายและจุดสนใจ เปรียบเสมือนเส้นด้ายที่ช่วยร้อยเรียงสุนทรพจน์ทั้งก้อนเอาไว้
 
จงลองพูดถึงมันด้วย มุมมองที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร
 
กุญแจสำคัญคือการนำเสนอเพียงไอเดียเดียวเท่านั้น นำเสนออย่างทะลุปรุโปร่งและครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ อะไรคือสิ่งที่คุณอยากให้ผู้ชม [เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง]
หลังการพูดของคุณจบลง
 
แก่นเรื่องของคุณไม่จำเป็นต้องทะเยอทะยานอย่างรายการด้านบนก็ได้ แต่มันควรจะมีมุมมองบางประการที่น่าสนใจ
 
พูดเพื่อผู้ฟังเพียงหนึ่งเดียว

อลิซาเบธ กิลเบิร์ต (Elizabeth Gilbert) เชื่อในการวางแผนการพูดเพื่อผู้ฟังเพียงหนึ่งเดียว
“พูดในเรื่องที่คุณรู้และหลงใหลอย่างหมดหัวใจ ฉันอยากฟังเรื่องที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตของคุณ
 
กิลเบิร์ตใช้พลังแห่งการโน้มน้าวใจ และความเชื่อมโยงอันใกล้ชิดกับผู้ฟังในการพูดแต่ละช่วงของเธอ ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เรายอดรับ แต่ยังโอบรับไอเดียของเธอเอาไว้ด้วย
 
ท้าชนประเด็นหนัก

จูน โคเฮน (June Cohen) 
  • การพูดที่เน้นประเด็นปัญหาจะนำด้วย หลักศีลธรรม แต่การพูดที่เน้นไอเดียจะนำด้วย ความสงสัยใคร่รู้
  • ประเด็นจะเปิดโปง ปัญหา ส่วนไอเดียจะนำเสนอ ทางออก
ประเด็นประหาจะบอกว่า “ดูสิ แย่มากเลยใช่ไหม” ขณะที่ไอเดีย จะบอกว่า “ดูสิ น่าสงใจ มากเลยใช่ไหม”
 

2.เครื่องมือการพูด

การเดินทาง

การพูดที่ยอดเยี่ยมนั้นเหมือนกับ การเดินทาง ไปด้วยกันของผู้พูดและผู้ฟัง เทียร์นีย์ ธีส์ ( Tierney Thys ) 

สิ่งสำคัญที่ควรจดจำไวก็คือ ความรู้ไม่สามารถถูก ผลักยัด เข้าไปในสมองได้ มันต้องถูก ดึงรับ เข้าไปต่างหาก

การพูดโน้มน้าวใจจะได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้พูดเริ่มต้นด้วยการวางตัวเองไว้ที่ฝั่งเดียวกันกับผู้ชม จากนั้นจึงเชื้อเชิญผู้ชมเหล่านั้นให้ก้าวข้ามมาอยู่ฝั่งของผู้พูดแทน

วิธีง่ายๆ ก็คือ แสดง ให้พวกเขาเห็นนั้นเอง

ค้นหาเรื่องราว

วิธีที่ช่วยให้คุณสามารถจับจุดน่าสนใจในการพูด คือ

SWAG : สิ่งเดิมพัน(Stake) โลก(World) การกระทำ(Action) เป้าหมาย(Goal)
  • S : อะไรคือสิ่งที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย
  • W : อาจจะหมายถึงโลกของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
  • A : เรื่องราวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของทิฐิความอยุติธรรม หรือ ความเจ็บปวด
  • G : เป็นการออกตามหาบางสิ่งที่สำคัญ
บอกเล่าความจริง

ถ้าคุณจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง จงคิดให้ดีว่า ทำไม คุณถึงเล่าเรื่องนี้ พยายามตัดรายละเอียดทั้งหมดที่ไม่จำเป็นต่อการชี้ให้เห็นประเด็นของคุณออก

คุณควรจะจดจำเอาไว้เสมอว่า เป้าหมายสำคัญของการพูดในที่สาธารณะคือการแบ่งปัน คือการ ให้ บางสิ่งแก่ผู้ชมของคุณ

การเล่าเรื่องของของตัวเองมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้อีกสิ่งหนึ่งคือ มันต้องเป็นเรื่องจริง
 

3.ขั้นตอนการเตรียมตัว

เตรียมตัว ไม่ใช่ตรากตรำ

การเตรียมตัวคือวัตถุดิบสำคัญในการบรรเทาความตื่นกลัว และรับรองความสำเร็จในการพูดของคุณ
 
คุณจะเขียนบทพูดออกมาจนครบถ้วนกระบวนความ (เพื่ออ่าน ท่องจำ หรือทำทั้งสองอย่าง) จะเขียนโครงเรื่องคร่าวๆ ด้วยประเด็นหลักเป็นข้อๆ เพื่อจัดระเบียบความคิด และ วางจุดสำคัญให้กับคุณ
 
วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ดูเหมือนว่าคุณไม่ได้กำลังท่องบทพูดให้ฟัง คือการ ไม่ ท่องบทพูด

เส้นทางของการเตรียมตัวบทพูด คุณมีกลยุทธ์หลักสามข้อที่สามารถทำได้
  • รู้จักบทพูดเป็นอย่างดีเสียจนมัน ฟังดู ไม่เหมือนท่องแม้แต่นิดเดียว
  • อาจดูบทพูดบ้างแต่ชดเชยด้วยการเงยหน้าขึ้นสบตากับผู้ชมบ่อยๆ
  • ย่อบทพูดให้เป็นหัวข้อย่อยๆ และวางแผนในการถ่ายทอดแต่ละหัวข้อด้วยภาษาของคุณเอง “การพูดแบบไม่เตรียมบท”
  • วิธีแก้เพียงข้อเดียวก็คือ ซ้อมพูดหลายๆครั้งจนมั่นใจว่าการพูดจะจบลงได้ภายในเวลาที่กำหนด และเตรียมการพูดที่ใช้เวลาไม่เกิน 90% ของเวลาที่คุณมี
เมื่อคุณได้พูดในที่สาธารณะด้วยหลายๆ รูปแบบ คุณจะค้นพบวิธีการของตัวคุณเอง

เดี๋ยวนะ ต้องซ้อมด้วยหรือ
วลี การจดจำโดยไม่ได้ตั้งใจ คือสิ่งสำคัญ ถ้าคุณซ้อมมากพอ คุณจะพบว่าตัวเองเข้าใจรูปแบบที่ดีที่สุดของการพูดนั้น
 
ในวันงาน ถ้าคุณไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา คุณจะสามารถมุ่งความสนใจ 100% ให้กับประเด็นที่คุณควรใส่ใจและผู้คนที่คุณจะแบ่งปันไอเดียด้วย

อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ
  • การไม่มีสไลด์เลยดีกว่าการมีสไลด์ที่ห่วย ประโยคนี้เป็นความจริงสำหรับผู้พูดทุกคน
องค์ประกอบสำคัญของสื่อภาพอันทรงพลังล่ะ การเปิดเผย การอธิบาย การดึงดูด

เปิดตัวและปิดท้าย

ในช่วงเวลาเปิดตัว คุณมีเวลาประมาณหนึ่งนาทีในการ “ฮุก” ผู้ฟังของคุณ เชื้อเชิญพวกเขาให้โน้มตัวโน้มใจเข้ามา เพื่อสัมผัสความคาดหวังที่บอกว่าคุณกำลังจะแบ่งปันบางสิ่งที่คุ้มค่ากับพวกเขา สะกดผู้ฟังให้ได้ตั้งแต่จังหวะแรกของการเปิดตัวประโยคอันชวนตะลึง

คำถามที่น่าสนใจ เรื่องราวสั้นๆ
 
จุดประกายความสงสัย ความสงสัยคือความสนใจที่ติดไฟ
  • คำถามจะสร้าง “ช่องโหว่ทางความรู้” ซึ่งสมองจะต่อสู้เพื่อเติมมันให้เต็ม วิธีที่ผู้ชมจะเติมช่องโหว่นั้นก็คือการตั้งใจฟังผู้พูด และนี่คือช่วงเวลาที่คุณเอาพวกเขาอยู่หมัด
ต่อสู้กับเจ้าลิง
  • กำจัดสิ่งกวนใจ ใช้แอปพลิเคชั่นอย่าง Freedom หรือ SelfControl ที่ตัดการเชื่อมต่อของคุณกับเว็บไซต์โปรดภายในเวลาที่กำหนด
วางแผนงาน ขอย้ำอีกครั้ง จงให้เวลาตัวเองมากกว่าเวลาที่คุณคิดไว้ว่าจะต้องใช้
 
เตียมงานในหัว
 

4.บนเวที


สิ่งเดียวที่คุณต้องกลัว
ความกลัวจะไม่ฆ่าคุณ ความกลัวเป็นสภาวะชั่วคราว การเรียนรู้ที่จะยอมรับหรือแม้กระทั่ง “โน้มตัวเข้าหา” ความกลัวจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน
 
คุณกลัวว่าจะพูดอย่างนั้นหรือ ก็ซ้อมพูดให้มากกว่าที่คุณวางแผนเอาไว้สิ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคำพูดจะออกมาเหมือนอย่างที่คุณวางแผนเอาไว้
 
คุณสามารถใช้ความกลัวเป็นสินทรัพย์ ความกลัวสามารถเป็นแรงผลักดันที่จะจูงใจให้คุณลงมือซ้อมอย่างจริงจัง ปรับความคิด มันจะทำให้การพูดของคุณทรงพลังยิ่งขึ้น และมันจะช่วยสอนให้คุณรู้ว่าคุณกล้าหาญได้เพียงไร

ต่อสู้กับสิงโตภูเขา

ให้ร่างกายช่วยคุณ 
ก่อนที่จะเริ่มพูดคือ 
  1. หายใจเข้าให้ลึกๆ
    • ในรูปแบบการทำสมาธิ ซึมซาบออกซิเจน
    • จะนำมาซึ่งความรู้สึกสงบ
  2. ดื่มน้ำ 5 นาทีก่อนเริ่ม ดื่มน้ำหนึ่งในสามขวด
    • มันจะช่วยให้ปากของคุณไม่แห้ง
  3. หลีกเลี่ยงอาการท้องว่าง
    • หาอาหารที่ดีต่อสุขภาพเข้าสู่ร่างกายก่อนขึ้นเวทีสักหนึ่งชั่วโมง
  4. เคี้ยวหมากฝรั่ง
    • มันจะหลอกร่างกายของเราให้เชื่อว่าเราน่าจะกำลังย่อยอาหารอยู่ ซึ่งจะช่วยส่งอะดรีนาลีนบางส่วนให้กลายเป็นพลังงานและยังช่วยสร้างน้ำลาย
  5. กดจุดประตูวิญญาณ
    • หาจุดตรงรอยพับของข้อมือที่ลากตรงลงมาจากนิ้วก้อย
  6. งดกาแฟ
  7. กดโต๊ะ (หรือกำแพง)
    • กดฝ่ามือไปกับขอบโต๊ะ
  8. ขยับนิ้วเท้า
  9. ทำท่าแปลกๆ อะไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่าตลกหรือพิลึกกึกกือ จงลองทำมันซะ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณปลดปล่อยพลังงานแห่งความวิตกกังวล
หายใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
  • ออกซิเจนไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ซึ่งช่วยลดความกังวล การหายใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอนยังทำให้เรารู้สึกสงบและมีสติ
แพทริก แอลเลน (Patrick Allen) 
คุณเป็น “มนุษย์ธรรมดาที่อยู่ต่อหน้าคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรไปมากกว่านั้น
 
ตั้งสติให้พร้อม
  • จำไว้ว่าผู้ชมของคุณส่วนมากก็เป็นคนที่กลัวการพูดในที่สาธารณะพอๆกับคุณ พวกเขาจึงมักจะกังวลแทนคุณมากกว่าที่จะตัดสินคุณ
ถ้าคุณจะนึกว่าผู้คนคิดเกี่ยวกับคุณอย่างไร ให้นึกภาพว่าพวกเขารู้สึกประทับใจ
  • จดจำพลังของความเปราะบาง ผู้ชมจะโอบรับผู้พูดที่ประมาท
  • ปรับความคิดว่าความกลัวคือความตื่นเต้น
  • จำเป้าหมายเอาไว้
  • ยิ่งเตรียมตัวตัวมาก คุณยิ่งประหม่าน้อยลง
  • มองหาเพื่อนท่ามกลางผู้ชม
  • นึกภาพความสำเร็จ
นักเขียน ริชาร์ด บาค (Richard Bach)
“การจะไขว่คว้าอะไรในชีวิต จงจิตนาการว่ามันอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว
 
มองเห็นมัน เชื่อมั่น และคุณจะทำได้ แน่นอน
 
อยู่กับตัวเอง
  • การพูดในที่สาธารณะให้อะไรที่มากไปกว่านั้น ขณะฟังและสังเกต สมองของเราจะประมวลผลต่างออกไปจากตอนที่เราอ่าน
HAIL 
  • H : Honesty ( ความจริงใจ )
  • A : Authenticity ( ความจริงแท้  )
  • I : Integrity ( ความซื่อสัตย์ )
  • L : Love ( ความรัก )
ปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมายถึงจงพยายามอย่างเต็มที่ในการพูดอย่างชัดเจนและด้วยท่าทีที่จับใจ
 
ให้ร่างกายของคุณมีอะไรทำ
  • ยืดตัวตรง
  • ก้าวเดิน
  • ลดการก้าวไปมา
  • สบตาตั้งแต่เริ่มต้น
  • เผยความเปราะบาง
  • ทำให้พวกเขาหัวเราะไม่ใช่อึดอัด
สิ่งสำคัญคือคุณรู้สึกสบายใจและมั่นใจ และพฤติกรรมทางร่างกายของคุณบนเวทีช่วยเน้นย้ำสิ่งที่คุณกำลังพูด ไม่ใช่เบี่ยงเบนความสนใจ
 
จงจ่อจออยู่กับเนื้อหาของคุณและความใส่ใจที่คุณอยากจะถ่ายทอดในการนำเสนอเนื้อหานั้น ปล่อยให้บุคลิกภาพของคุณเฉิดฉายออกมา เพราะนั้นคือสิ่งที่ผู้คนต้องการส้มผัส
มันคือตัวตนที่แท้จริงและความเจ๋งในตัวคุณ
 
จุดอันตราย
  • การใช้คำพูดหยาบคาย
  • การประชดประชัน
  • เล่นมุกนานเกินไป
  • สร้างอารมณ์ขันเกี่ยวกับ ศาสนา เชื้อชาติ เพศ การเมือง
5.ถึงตาคุณแล้ว

เสียงของคุณ
  • คุณจะค้นพบ บางสิ่งที่ควรค่าแก่การพูด คุณต้อง แบ่งปัน มันออกไปด้วยความหลงใหล ทักษะและความมุ่งมั่นทั้งหมด
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด