บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
3 นาที
19 ตุลาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! บรูซ แกสตัน
 

ข่าวการเสียชีวิตของ บรูซ แกสตัน นับเป็นอีกหนึ่งข่าวเศร้าของวงการเพลงไทย โดย บรูซ แกสตัน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับในวัย 74 ปี และหากใครที่ติดตามผลงานก็จะทราบเป็นอย่าดีว่า บรูซ แกสตัน คือชาวอเมริกันที่หลงใหลในดนตรีไทยและเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทยอย่างถาวร โดยพยายามผลักดันดนตรีไทยให้มีความร่วมสมัยและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกมากขึ้น โดยได้ทำงานร่วมกับบุคคลสำคัญในแวดวงเพลงไทยหลายท่าน

ซึ่งการจากไปในครั้งนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ถือเป็นความสูญเสียของวงการเพลงไทยที่เราเชื่อว่าคนไทยรุ่นหลังอีกจำนวนมากควรได้รู้จักและศึกษาเรื่องราวชีวิตของ บรูซ แกสตัน ที่มีหลายเรื่องที่น่าสนใจมาก
 
1.ประวัติชีวิตเบื้องต้นของ บรูซ แกสตัน
 

ภาพจาก facebook.com/anantnarkkong

บรูซ แกสตัน เป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2490 จบการศึกษาด้านทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลงและปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และมีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกหลากหลายชนิด หลังจากเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ได้ฝึกฝนการเล่นเครื่องดนตรีไทยกับครูบุญยงค์ เกตุคงและร่วมกันตั้งวงดนตรีฟองน้ำในเวลาต่อมา
 
2.เป็นทหารอเมริกันที่ถูกส่งมาประจำการในประเทศไทย
 
ในปี 1969 ช่วงเวลานั้นเกิดสงครามเวียดนามขึ้นพอดี หนุ่มสาวชาวอเมริกันจำนวนมากถูกส่งตัวมาประจำการใน ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่บรูซ แกสตันไม่เห็นด้วยกับการทำร้ายชีวิต เพราะเป็นมังสวิรัติ ไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม จึงเลือกรับใช้ชาติด้วยการทำงานอื่นตามสิทธิที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลอเมริกันจึงส่งบรูซ แกสตันมายังประเทศไทย เพื่อเป็นครูดนตรี ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือสังคม
 
3.เริ่มต้นชีวิตในเมืองไทยด้วยการเป็นครูสอนดนตรีที่พิษณุโลก
 

ภาพจาก facebook.com/FongNaamBand

ในปี 1971 หลังจากเข้ามาอยู่ในเมืองไทยได้ระยะหนึ่ง บรูซ แกสตัน ได้ทำงานเป็นครูสอนดนตรีที่พิษณุโลก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นจังหวัดเล็กๆที่ยังห่างไกลความเจริญ งานของบรูซ แกสตัน คือเป็นครูอาสาสมัครสอนดนตรีให้เด็กประถมศึกษาที่โรงเรียนผดุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในความดูแลของคริสตจักร ไม่มีงบประมาณมากพอจะซื้อเครื่องดนตรี

บรูซ แกสตันจึงจำเป็นต้องคิดหาวิธีสอนเด็กนักเรียน โดยดัดแปลงไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นกับขลุ่ย เพื่อมาสร้างวงโยธวาทิต สอนเด็กนักเรียนเดินพาเหรดเท้าเปล่า และสอนให้รู้จักการเล่นดนตรีอย่างสร้างสรรค์ สอนอยู่ประมาณ 6 เดือน จึงได้ย้ายไปเชียงใหม่ เพราะทางวิทยาลัยพายัพเปิดหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี บรูซ แกสตัน จึงกลายเป็นอาจารย์สอนดนตรีรุ่นแรกที่วิทยาลัยพายัพด้วย
 
4.เริ่มศึกษาดนตรีไทยอย่างจริงจังกับครูเพลงชื่อดัง
 

ภาพจาก www.facebook.com/bruce.gaston.9

ขณะที่ได้สอนดนตรีอยู่ที่เชียงใหม่ เป็นจังหวะเดียวกับที่กรมศิลปากรได้เปิดสาขาวิทยาลัยนาฏศิลป์ที่เชียงใหม่ ทำให้บรูซ แกสตัน มีโอกาสเรียนดนตรีไทยจริงจัง โดยหัดระนาดเอกกับ “ครูสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ” และได้หัดปี่พาทย์รอบวงจาก “ครูโสภณ ซื่อต่อชาติ” อดีตศิษย์เอกครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่ได้เดินทางไปพักผ่อนกับครอบครัวที่เชียงใหม่
 
5.ผลงานที่เริ่มสร้างชื่อคืออุปรากรเรื่อง “ชูชก”
 
ผลงานเริ่มต้นที่สร้างชื่อเสียงให้ บรูซ แกสตัน คือการทำอุปรากรเรื่อง “ชูชก” พัฒนาจากวรรณคดีชาดกทศชาติตอนพระเวสสันดร ใช้วิธีการขับร้องประสานเสียงวงดนตรีปี่พาทย์ กังสดาล และการออกแบบประติมากรรมขนาดใหญ่รูปชูชกกินจนท้องแตก
 
6.จุดเริ่มต้นของวง “ฟองน้ำ”
 

ภาพจาก www.facebook.com/bruce.gaston.9

ในงานมหกรรมดนตรีไทยอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวงดนตรีไทยวงหนึ่งนำเพลงชื่อ “ชเวดากอง” มาบรรเลง ทำนองเพลง ซึ่งผู้แต่งคือครูบุญยงค์ เกตุคง ทำให้ บรูซ แกสตัน ประทับใจและขอศึกษาดนตรีไทยจากครูบุญยงค์
 
ซึ่งในเวลาต่อมาให้ บรูซ แกสตัน เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงดนตรีฟองน้ำร่วมกับครูบุญยงค์ เกตุคง ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยนำเสนอดนตรีไทยเดิม มาผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก โดยยึดเอาแก่นความคิดดนตรีของทั้งสองฟากมาผสมผสานโดยกลวิธีต่าง ๆ โดยชื่อของวงฟองน้ำ มาจากชื่อของเพลงไทยโบราณเพลงหนึ่ง ชื่อว่าเพลง "ฟองน้ำ"
 
7.สมาชิกวงฟองน้ำ

วงฟองน้ำก่อตั้งในปี 2522 โดยบุญยงค์ เกตุคง และ บรูซ แกสตัน มีสมาชิกที่สำคัญในช่วงแรกประกอบด้วย บุญยัง เกตุคง, จำเนียร ศรีไทยพันธ์, จิรพรรณ อังศวานนท์, เทวัญ ทรัพย์แสนยากร, พิณ เรืองนนท์ ถือเป็นวงดนตรีที่รวบรวมผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านดนตรีหลายแขนงมารวมกัน โดยมีเป้าหมาย คือ การทดลองดนตรีประยุกต์ ที่ผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับสากล โดยใช้ทำนองเดิมของดนตรีไทย แล้วนำมา เรียบเรียงใหม่ สร้างสรรค์เป็นผลงานมาเรื่อยๆ มีทั้งงานแสดงดนตรีสด, เพลงประกอบภาพยนตร์, เพลงประกอบละคร และงานสร้าง- สรรค์ร่วมกับศิลปินระดับโลก
 
8.บรูซ แกสตัน เคยทำงานเป็นโปรดิวเซอร์
 

ภาพจาก bit.ly/3AVxeWX

นอกจากมีความสนใจในดนตรีไทย และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงฟองน้ำ บรูซ แกสตัน ยังเคยเป็นโปรดิวเซอร์ ให้กับ นักร้องสาวคนหนึ่งที่ชื่อ ทรงหรรษา วาศนรุ่งเรือง ในอัลบั้ม พาราเซตามอล สังกัด Stone Entertainment ในช่วงปี 1997 ในแนวเพลง Soul R&B
 
9.ชีวิตครอบครัวของ บรูซ แกสตัน
 
บรูซ แกสตัน สมรสกับ ผศ. สารภี แกสตัน อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชายคือ ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน (เท็ดดี้) มือกีตาร์วงฟลัวร์ นอกจากนี้ บรูซ แกสตัน ได้รับการยกย่องจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม รับรางวัลศิลปาธรกิตติคุณ สาขาคีตศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้
 
10.เหตุผลของ บรูซ แกสตัน ที่รักดนตรีไทย

ช่วงหนึ่ง บรูซ แกสตัน เคยเดินทางกลับไปอเมริกา แต่พอไปถึงก็รู้ว่าที่นั่นไม่ใช่บ้าน โหยหาอยากจะกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะติดใจในดนตรีไทยโดยมี 2 เหตุผลคือ อยากเรียนรู้เพลงโบราณที่กำลังจะหายไป ซึ่ง บรูซ แกสตัน ก็โชคดีที่ได้เจอครูบาอาจารย์หลายท่านที่สอนวิชาดนตรีไทย รวมถึงกับความต้องการที่จะนำเพลงไทยมาทำเป็นศิลปะร่วมสมัยซึ่งเป็นความท้าทายใหญ่มาก

ซึ่งนอกจากครูบุญยงค์ เกตุคงครูที่เป็นแม่แบบความรู้ในเชิงทฤษฎีดนตรีไทย ยังมีครูดนตรีไทยที่บรูซ แกสตัน กล่าวถึงอีกหลายคนเช่น ครูมนตรี ตราโมท ที่สอนประวัติศาสตร์ดนตรีไทย และยังมีครูดนตรีสมัยที่อยู่อเมริกา “ชาร์ล ไอวฟ์” กับ “จอห์น เคจ” นักประพันธ์เพลงหัวก้าวหน้า ก็เป็นครูที่บรูซ แกสตัน เคารพนับถือมาก
 
บรูซ แกสตันถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่ได้อุทิศตัวเองเพื่อการพัฒนาดนตรีไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สวนทางกับความคิดของวัยรุ่นยุคใหม่ที่ไม่เห็นคุณค่าของดนตรีไทยแต่กลับไปหลงใหลดนตรีตะวันตก ซึ่งหากนำจุดเด่นของดนตรีไทยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมก็จะเป็นจุดขายที่สำคัญที่สร้างความแตกต่างให้น่าสนใจขึ้นได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด