บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.8K
1 นาที
9 ธันวาคม 2557
รายงานข่าวเศรษฐกิจของกัมพูชาของเดือนเมษายน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญได้รายงานข่าวความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๖
สรุปได้ ดังนี้

หนังสือพิมพ์ภายในประเทศหลายฉบับ รายงานการขยายตัวของสินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงพนมเปญที่เชื่อมโยงต่อไปยังเวียดนาม รวมถึงท่าเรืออื่น ๆ ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลายฝ่ายมองว่ามีสาเหตุจากการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละร้อยในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ กอปรกับการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน อย่างเช่น น้ำมันเชื้อเพลิง และวัสดุก่อสร้าง

ภาพรวมการส่งออกของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๒๑ โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มของสินค้าเกษตร และเสื้อผ้า ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ The Phnom Penh Post รายงานการปรับตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาจากร้อยละ ๖.๗ เป็นร้อยละ ๗.๐ เนื่องจากภาคการเกษตร    การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยจะยังสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ ๓ ได้ ทั้งนี้ World Bank ยังคงกังวลต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ร้อยละ ๒๙.๒ ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะที่ผ่านมาส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกไปยังกัมพูชา โดยลดลงร้อยละ ๔ ในขณะที่กัมพูชานำเข้าเพิ่มจากไทยร้อยละ ๑๙ รวมมูลค่าการค้าระหว่างกันในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ อยู่ที่ ๑.๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ ๒.๕

ในด้านของเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชาและต่างประเทศนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศกัมพูชาได้อ้างอิงข่าวสารนิเทศจากกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการลงนามความตกลงระหว่างฟิลิปปินส์และกัมพูชา เพื่อเป็นการเปิดทางให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหารของฟิลิปปินส์สามารถนำเข้าข้าวจากกัมพูชาในระยะเวลา ๒ ปีข้างหน้าผ่านบริษัท Green Trade ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาและทำหน้าที่คล้ายกับองค์การคลังสินค้า

ในขณะที่ มีการหารือระหว่างกัมพูชาและลาว เกี่ยวกับความเห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้ากัมพูชา-ลาว เพื่อเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างทั้งสองประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีมูลค่าเพียง ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ กัมพูชาเพิ่งรายงานแผนการเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์นมแห่งแรก ภายใต้ชื่อ Dairy Products ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนจากเวียดนาม คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปลายปี ๒๕๕๗

รัฐบาลชุดปัจจุบันของกัมพูชาให้ความสำคัญกับการปลูกยางพารา โดยกำหนดให้เป็นสินค้ายุทธศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของประเทศ นอกเหนือไปจากข้าว โดยเกษตรกรจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป อย่างไรก็ดี ราคายางภายในประเทศตกต่ำลงมาก ถึงแม้กัมพูชาจะสามารถส่งออกได้มากขึ้นถึงร้อยละ ๑๗ แต่กลับมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๐.๕

อ้างอิงจาก กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด