บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การขาย
2.1K
2 นาที
16 สิงหาคม 2565
สินค้าขายขาด vs สินค้าฝากขาย! อะไรดีกว่ากัน?
 

สมัยนี้ใครๆ ก็อยากมีธุรกิจของตัวเอง จุดเริ่มต้นสำคัญก็คือการเป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องหาสินค้ามาขาย แต่ก็ใช่ว่าคิดแล้วจะทำได้ทันที การขายในยุคนี้ก็ต้องเข้าใจตลาด เข้าใจความต้องการลูกค้า ต้องมีกลยุทธ์การตลาดที่ดี ไม่นับรวมที่บางคนทุนน้อย ไม่มีทำเลการขายที่ดี คำถามคือมีวิธีการขายแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองเห็นชัดเจนคือคนส่วนใหญ่เลือกใช้การขายอยู่ 2 แบบคือ “ขายขาด” และ “ฝากขาย” ลองมาดูกันว่าทั้ง 2 วิธีนี้มีอะไรที่แตกต่างและแต่ละวิธีนั้นเหมาะกับใครอย่างไรบ้าง
 
อะไรคือสินค้าขายขาด?
 

สินค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มสินค้าที่ลูกค้าซื้อครั้งเดียวและอายุการใช้งานนาน กว่าจะกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้งอาจจะใช้เวลาอีกหลายปี เช่น เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้าน ชุดเครื่องนอน อุปกรณ์ทำความสะอาด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจจะเป็นสินค้าแบบใช้ได้นาน เช่น เป้สะพาย กระเป๋าเดินทาง ปัจจุบันคนทำธุรกิจที่ขายสินค้ากลุ่มนี้ทางออนไลน์ก็มีเป็นจำนวนมากและเป็นวิธีการขายที่เห็นได้มากที่สุด
 
อะไรคือสินค้าฝากขาย?
 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า “ฝากขาย” กับ “ขายฝาก” มีความต่างกัน เพราะการขายฝากเป็นการทำนิติกรรมกู้ยืมเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝาก (ลูกหนี้) กับผู้รับขายฝาก (เจ้าหนี้) แต่การฝากขายคือการที่ผู้ฝากขาย (เจ้าของทรัพย์สิน) ให้ผู้รับฝากขาย (ตัวแทนนายหน้า) ช่วยขายทรัพย์สินแทน โดยได้ค่าตอบแทนเป็นกำไรจากผู้ฝากขาย
 
แต่รูปแบบของการขายสินค้าทั่วไปจะใช้คำว่า “ฝากขาย” หมายถึงเราในฐานะเจ้าของสินค้าตระเวนหาร้านค้าที่น่าสนใจและนำเสนอสินค้าให้ “วางขาย” ภายในร้าน โดยทางร้านจะได้รับผลประโยชน์ (คอมมิชชั่น) จากการขาย หรืออาจมีรายได้จากส่วนอื่นๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของสินค้านั้นๆ
 
ข้อดีข้อเสียของการ “ขายขาด”
 
  1. สินค้าขายขาดส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีกำลังซื้อสูง สามารถขายครั้งเดียวแต่ได้กำไรสูง เช่น ทองคำ , บ้าน , รถยนต์ , เฟอร์นิเจอร์ , เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น
  2. เจ้าของสินค้าสามารถทำการตลาดเพื่อค้าขายสินค้าได้อย่างเต็มที่
  3. ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีจุดเด่นในตัวเองชัดเจน เป็นสินค้าที่สามารถต่อยอดและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นได้ในอนาคต
  4. การขายขาดทำให้สามารถเช็คจำนวนสินค้า / ความต้องการของลูกค้าได้ง่ายกว่า 
  5.  การขายขาดต้องใช้ต้นทุนในการบริหารจัดการที่มากกว่าการฝากขาย
ข้อดีข้อเสียของการ “ฝากขาย”
 
  1. ได้ทำเลขายสินค้าที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้า เพราะมีตัวเลือกในการวางสินค้าเยอะ เช่น ต้องการวางขายอาหารเสริม ก็มีร้านขายยาจำนวนมากที่รับฝากวางสินค้า และค่อนข้างยืดหยุ่นในการเปลี่ยนสถานที่จำหน่าย
  2. เป็นการเพิ่มช่องทางการขาย และสามารถขยายตลาดให้ลูกค้ามีโอกาสเห็นสินค้าได้มากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเปิดสาขาเพิ่ม
  3. ราคาสินค้าเป็นมาตรฐาน การฝากขายเราจะเป็นผู้กำหนดราคาขายและเงื่อนไขการขายเอง อีกทั้งยังควบคุมได้ง่าย เพราะรู้ว่าสินค้าถูกขายอยู่ที่ใดบ้าง ร้านไหนขายเกินราคาหรือตัดราคาร้านอื่น เราก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกเก็บสินค้าคืนได้
  4. ลดความเสี่ยงในด้านค่าใช้จ่าย เพราะร้านค้าที่รับฝากส่วนใหญ่จะเก็บเป็นค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้า ดังนั้น ถ้าขายได้น้อยก็เสียค่าคอมมิชชั่นน้อย ไม่เหมือนกับการของหน้าร้านที่มีค่าใช้จ่ายคงที่ทุกเดือน แม้ว่าเราจะขายได้หรือไม่ได้ก็ตามที
  5. แต่ข้อเสียของการฝากขายคือบางร้านอาจเก็บค่าคอมมิชชั่นแพง ทำให้เราได้กำไรจากการขายไม่มากนัก หรือบางร้านที่มีการรับ ฝากขายสินค้า ชนิดเดียวกันหลายๆ แบรนด์ สินค้าแบรนด์ไหนให้ค่าคอมมิชชั่นดีกว่า พนักงานก็มีสิทธิ์ที่จะเร่งขายสินค้าแบรนด์นั้นมากกว่า ทำให้เป็นการตัดกำไรกันเอง
  6. การขายฝากทำให้เช็คสต็อกสินค้าได้ยากกว่า เพราะส่วนใหญ่สินค้ากระจายไปในหลายร้าน ยิ่งถ้าเป็นการฝากขายสินค้าที่มีวันหมดอายุ เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง ถ้าของเหลือมาก ๆ ก็อาจจะขาดทุนได้เหมือนกัน
ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ของต้นทุน รูปแบบการขาย ต้องยอมรับว่า “การขายฝาก” นั้นสะดวกและง่ายกว่า บางทีเราอาจไม่ต้องมีสินค้าเองแต่ไปติดต่อรับสินค้าจากเจ้าของสินค้าอีกที และไปติดต่อหาร้านเพื่อ “ฝากขาย” แต่วิธีนี้ก็ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีรวมถึงมีรายละเอียดต่างๆ ที่ค่อนข้างมากพอสมควร

แต่สำหรับการ “ขายขาด” เป็นรูปแบบที่ชัดเจนและบริหารจัดการง่ายกว่า เพียงแต่อาจต้องใช้ต้นทุนที่มากกว่า สินต้องมีความเฉพาะและน่าสนใจ แต่ในระยะยาวก็มีโอกาสที่จะพัฒนาธุรกิจและสินค้าตัวเองให้ดียิ่งกว่าเดิมได้ง่าย ซึ่งการจะเลือกขายฝาก หรือขายขาดในสินค้าใดๆ ก็อยู่ที่ความเหมาะสมของเราเองเป็นสำคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือคุณภาพสินค้าที่ต้องดีและต้องประทับใจลูกค้าด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,441
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
655
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
577
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
515
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด