บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.2K
2 นาที
17 มกราคม 2566
Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์
 

ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยงานปฏิบัติการ ว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไรบ้าง โดยคุณค่าที่บริษัทสร้างขึ้นสามารถวัดได้จากการพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทมากน้อยแค่ไหน แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กรเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) 
 
โดย 5 กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ถือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย

  1. Inbound Logistics กิจกรรมด้านการขนส่ง การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ
  2. Operations กิจกรรมด้านการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
  3. Outbound Logistics กิจกรรมด้านการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
  4. Marketing and Sales กิจกรรมด้านการดึงดูดชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย 
  5. Services กิจกรรมการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้
ส่วนกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก ให้สามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย

  1. Procurement กิจกรรมการจัดซื้อ จัดหา เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมหลัก
  2. Technology Development กิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ หรือกระบวนการผลิต
  3. Human Resource Management กิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก ประเมินผล พัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ระบบเงินเดือน ค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
  4. Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชีระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร
Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์
 

สำหรับ “คุณค่า" ในธุรกิจแฟรนไชส์อาจมีมุมมองต่างกัน ในมุมมองผู้ซื้อแฟรนไชส์คุณค่าอาจหมายถึง ธุรกิจแฟรนไชส์ราคาถูกแต่สินค้าและบริการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สินค้าและบริการมีคุณภาพมาตรฐานตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง การให้บริการที่ดีกว่าเดิม หรือความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวของสินค้า เป็นต้น โดยคุณค่าได้มาจากความรู้ ประสบการณ์ของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ธุรกิจดำเนินธุรกิจมายาวนาน การฝึกอบรม ตลอดจนการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี และการพัฒนาสินค้าและบริการออกมาใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการให้กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ
 
การวิเคราะห์เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value Chain Analysis) แบ่งแยกโครงสร้างของกิจกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้

 
กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) ในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของรูปแบบการให้บริการของร้านค้าปลีก ตั้งแต่การจัดหาสินค้า การคัดเลือกพนักงาน และการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีก โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์หรือผู้จัดการร้านจะเป็นผู้คัดเลือก และตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน โดยใช้ประสบการณ์และคำแนะนำจากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนกระบวนการในการขายสินค้า อาทิ การเติมเต็มสินค้าในชั้นวาง การกำหนดราคาขาย การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาทำการขายอาจเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
 
กิจกรรมสนับสนุนแฟรนไชส์ (Supporting Activities) เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักให้เกิดมูลค่ากับแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก โดยเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารงานในร้าน รวมถึงคัดเลือกพนักงานและฝึกอบรมพนักงานภายในร้าน โดยกิจกรรมสนับสนับสนุน โดยส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การแนะนำเทคนิคการบริหารธุรกิจ การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ การติดตั้งระบบการขายและเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกนั่นเอง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล
 
 
Core Competency สมรรถนะหรือความสามารถหลักของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานของความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความชำนาญพิเศษ รวมถึงความสามารถบุคลากรในการทำงานด้านต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบริษัทเอกชนชั้นนำได้มีการนำแนวคิดสมรรถนะเป็นเครื่องมือในการบริ..
18months ago   1,603  9 นาที
เชื่อว่าคงไม่มีนักธุรกิจหรือนักการตลาดรายใดไม่รู้จัก "ส่วนผสมการตลาด 4 P" ซึ่งเป็นแนวคิดของ E. Jerome McCarthy ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากของบรรดานักการตลาดและนักธุรกิจมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนธุรกิจที่ทั่วโลกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อต้องการให้สินค้าและบริการขายดิบ..
18months ago   1,517  5 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,670
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,777
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,355
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด