บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
1.1K
2 นาที
13 กันยายน 2566
“ชิมฟรี” “แจกฟรี”! ช่วยเพิ่ม “กำไร” ให้ร้าน ได้จริงไหม?
 

ใครๆก็ชอบคำว่า “ฟรี” ถ้าร้านไหนมีแจกฟรี ชิมฟรี ยังไงก็ต้องมีลูกค้ามากขึ้น ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ากลยุทธ์แจกฟรีแบบนี้ ร้านค้าจะได้อะไรคืนมา ต้นทุนที่เสียไปจะคุ้มค่ากับที่ได้รับคืนมาไหม และทำไมการตลาดที่ใช้คำว่า “ฟรี” ถึงได้ฮิตมากไม่ว่ายุคไหนสมัยใดวิธีนี้ก็ยังใช้ได้ผล
 
แจกฟรี! ดีอย่างไร?
 

ต้นศตวรรษที่ 20 MR.Chris Anderson เจ้าของทฤษฎี Long Tail เคยพูดถึงโมเดลแจกฟรีว่าเป็นลักษณะการให้ไปก่อนเพื่อให้ได้กลับมาในภายหลัง ซึ่งโมเดลนี้แตกต่างกันไปตามแต่รูปแบบของสินค้าไม่ว่าจะเป็น แจกซิมฟรี เพื่อขายแพคเกจโทรรายเดือน , ขายเครื่องเล่นเกมแบบถูกๆ เพื่อขายตัวเกมที่แพงกว่า , การให้ดาวน์โหลดเล่นเกมฟรี แต่มีการขายไอเท็มพิเศษในเกม , ร้านอาหารแถมน้ำดื่มฟรี เพื่อขายเครื่องดื่มอื่นในราคาสูง เป็นต้น พฤติกรรมฟรีเหล่านี้ลักษณะคล้ายกับซื้อหนึ่งแถมหนึ่งในภาษาธุรกิจเรียกว่า Cross Subsidy หมายถึงการผลักภาระต้นทุนของสินค้าชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง
 
ตัวอย่างที่เห็นผลชัดเจนเช่น มีดโกนยิลเลตต์ที่เริ่มผลิตและวางขายในปีคือ ค.ศ.1903 แต่กลับขายมีดโกนได้เพียง 58 อันและใบมีดอีก 168 อัน ซึ่งเจ้าของธุรกิจก็พยายามทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มยอดการจำหน่ายนี้ให้ได้มากขึ้น จนกระทั่งได้ตัดสินใจแจกมีดโกนฟรีไปกับห่อหมากฝรั่ง ห่อชากาแฟ ห่อมาร์ชแมลโล ฯลฯ ปรากฏว่ายิ่งแจกไปเท่าไหร่ ความต้องการใบมีดก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดนวัตกรรมมีดโกนของยิลเล็ตต์ก็ได้เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมการใช้มีดโกนแบบดั้งเดิมได้สำเร็จ
 
ชิมฟรี! แจกฟรี! ต้นทุนเพิ่ม! แต่ทำไม “เพิ่มยอดขาย” ให้ร้านค้าได้?
 

มาถึงตรงนี้ก็ยังไม่คลายสงสัยทั้งที่การแจกฟรีมันคือต้นทุนของร้านที่เพิ่มชัดเจน และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนที่เราให้ฟรีไปจะกลับมาซื้อสินค้าเราหรือเปล่า มันอาจเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรือลงทุนแบบเสียเปล่าก็ได้ แต่ในความเป็นจริง 
 
ถ้ามองในเชิงจิตวิทยามนุษย์จะมีความเกรงใจ ที่เรียกว่า “Reciprocity” เป็นแนวคิดที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและชอบพึ่งพาอาศัยกัน
 
ถ้าพูดให้เห็นภาพคงประมาณว่าเวลาที่ใครมาทำดีกับเรา เราก็มักจะมีแนวโน้ม ที่อยากตอบแทนคนเหล่านั้นกลับไปด้วยแบบอัตโนมัติ เช่น 
  • เวลาเราไปจอดรถ เราอาจจะไม่ได้ต้องการคนมาโบกรถให้ แต่พอมีคนมาทำหน้าที่นั้น เราจะรู้สึกอยากตอบแทนคนคนนั้นทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะจบด้วยการให้ทิป
  • เวลาเราชิมอาหารจากบูทชิมฟรี เราจะเริ่มมีความรู้สึกผิดในใจว่า “ชิมแล้วทำไมถึงไม่ซื้อ”ทั้ง ๆ ที่พนักงานเป็นคนเรียกให้เราเข้าไปชิม เป็นต้น
ลองไปดูสักตัวอย่างที่เห็นภาพชัดขึ้น เช่นครั้งหนึ่ง 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกาเคยนำคำว่า “ฟรี” มาใช้อย่างได้ผล เช่นการแจกการเครื่องดื่ม Slurpee ให้ทุกคนแบบฟรี ๆ โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งนักการตลาดก็มองว่าวิธีนี้ 7-Eleven ต้องขาดทุนแน่เพราะไม่เชื่อว่าคนจะกลับมาซื้อซ้ำ แต่ที่ไหนได้กลายเป็นว่าของฟรีที่แจกไปกว่า 4.5 ล้านแก้ว กลายเป็นการเพิ่มยอดขายให้เครื่องดื่มนี้ได้กว่า 38% เป็นข้อพิสูจน์ชั้นดีว่า “ของฟรี” ที่คนไม่ได้เรียกร้อง สามารถนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้จริง
 
คำว่า “ฟรี” คือการตลาดแบบ Word of Mouth ที่ดีที่สุด
 

มีผลการสำรวจที่น่าสนใจอีกอย่าง ก็คือ การให้ของฟรีกับลูกค้าจะทำให้เกิดเป็น “Word of Mouth” ได้ง่ายกว่าปกติ โดยเรื่องนี้มีข้อมูลยืนยันจาก Journal of Marketing วารสารวิชาการ ที่ได้บอกว่า 20% ของผู้ที่ได้รับสินค้าและบริการของแบรนด์แบบฟรี ๆ จะมีแนวโน้มพูดถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้คนรอบตัวฟังมากขึ้นถึง 15% 
 
แต่ทั้งนี้กลยุทธ์ “แจกฟรี” นั้นอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายข้อ เช่น 

  1. ความสามารถที่จะลดต้นทุนสำคัญของสินค้าและบริการให้เข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด เพื่อจะแจกฟรีได้แบบไม่เจ็บตัว 
  2. ความสามารถที่จะหารายได้คู่ขนานไปกับช่องทางการแจกฟรี เช่น แจกอาหารชิมฟรี พร้อมกับการขายผงปรุงรสสำหรับคนชอบทำอาหาร เป็นต้น
  3. ความสามารถในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจที่เสริมเติมจากการแจกฟรี เช่น การให้ส่วนลดหรือซื้อสินค้าในราคาพิเศษ 
ในยุคที่การแข่งขันสูง การพัฒนาสินค้าคงไม่เพียงพอต่อการเพิ่มยอดขาย จำเป็นต้องเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้น การตลาดแบบ “แจกฟรี” ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในหลากหลายกลยุทธ์ที่มี สำคัญคือจังหวะที่นำมาใช้ต้องให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ลดคุณค่าของแบรนด์จนดูไม่น่าสนใจ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
498
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด