บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
687
3 นาที
18 ตุลาคม 2566
หาลูกค้า คนซื้อแฟรนไชส์ได้จากไหน?
 

เมื่อธุรกิจของคุณมีความพร้อมขายแฟรนไชส์ จะหาคนมาซื้อแฟรนไชส์ได้จากไหน ถ้าธุรกิจของคุณมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สินค้าและบริการตอบโจทย์ตลาดและผู้บริโภค จะมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์และให้คุณเลือกมากมาย แต่ถ้าธุรกิจยังไม่ถึงกับทำให้คนต่อแถวซื้อแฟรนไชส์ หากต้องการคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ มาดูช่องทางการหาลูกค้ากันได้เลย 

1. ลูกค้าประจำ แฟนพันธุ์แท้


วิธีแรกๆ ในการหาคนซื้อแฟรนไชส์ เพราะลูกค้าประจำ แฟนพันธุ์แท้ของร้าน จะรู้ดีว่าธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร สินค้าดีแค่ไหน ซื้อไปเปิดแล้วจะขายได้หรือไม่ คนกลุ่มนี้เมื่อได้ลองชิม ได้ลองใช้บริการร้านของคุณแล้ว จนติดใจกลายเป็นลูกค้าประจำ พวกเขามีโอกาสมากที่สุดจะเป็นคนซื้อแฟรนไชส์ ยังเป็นวิธีหาลูกค้าแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย  
 
2. เว็บไซต์ & Social Media 
 

เป็นช่องทางหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม มีค่าใช้จ่ายน้อย โดยเว็บไซต์สามารถรวบรวมข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้าและคนทั่วไปทราบ เช่น รูปภาพ บทความ วิดีโอ หรือเนื้อสาระความรู้ต่างๆ ไว้บนหน้าเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง

ส่วนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Page, Line, Instagram, Twitter, Youtube, TikTok สามารถนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์ได้ทั้งบทความ รูปภาพ คลิปวิดีโอ กิจกรรม โปรโมชั่น ข้อมูลลงทุน ช่วยให้แลกเปลี่ยนและติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว เป็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า 

3. ติดป้ายประกาศหน้าร้าน
 

เป็นวิธีหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นร้านเล็ก ร้านใหญ่ กลุ่มลูกค้าซื้อแฟรนไชส์อาจเป็นคนสัญจรผ่านไปมาแถวหน้าร้าน คนไปใช้บริการที่ร้าน คุณอาจจะปริ้นกระดาษ ระบุรายละเอียดแฟรนไชส์ เงินลงทุน เบอร์โทรติดต่อ หรือ ทำโบรชัวร์ นามบัตรวางไว้หน้าร้าน โต๊ะ เคาน์เตอร์ ให้คนไปใช้บริการหยิบดู

ไม่เพียงเท่านี้ยังสามารถสกรีนโลโก้ เบอร์โทร ลงบนแพ็คเกจจิ้งต่างๆ ของทางร้าน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ ถุง แก้ว ภาชนะต่างๆ ให้ลูกค้าได้เห็น ถ้าหากใครสนใจซื้อแฟรนไชส์อาจจะโทรติดต่อกลับมาที่ร้าน เพื่อสอบถามรายละเอียดการลงทุนแฟรนไชส์

4. ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์
 

นอกจากคุณจะสร้างเว็บไซต์และใช้โซเชียลมีเดียทุกช่องทางเพื่อนำเสนอแฟรนไชส์ ยังสามารถซื้อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ได้ ปัจจุบันเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะนิยมลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ เพราะได้ผลตอบรับคุ้มค่า เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์หลากหลาย บางสื่อออนไลน์ยังมีบริการรวบรวมรายชื่อเบอร์โทรคนสนใจแฟรนไชส์ให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกด้วย เช่น www.ThaiFranchiseCenter.com  
 
5. ออกบูธงานแฟรนไชส์
 

อีกหนึ่งวิธีในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ แต่มีค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกัน แล้วแต่ว่างานจัดอยู่สถานที่ใด การออกบูธตามห้างสรรพสินค้าเหมาะกับแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ได้กลุ่มลูกค้าน้อย ส่วนการออกบูธตามศูนย์แสดงสินค้าเหมาะกับแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ได้ผลตอบรับดี เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มาก ที่สำคัญการออกบูธถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหารได้ทั้งขายและให้ลูกค้าชิมได้ด้วย ลูกค้าที่เข้าไปที่บูธสามารถพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ได้โดยตรง

ปัจจุบันมีการจัดงานแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องตลอดปีทั้งในและต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งช่องทางหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม เจ้าของแฟรนไชส์สามารถเลือกออกบูธงานแสดงสินค้าต่างๆ ได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/event/ 

6. แฟรนไชส์ซี
 

เป็นอีกหนึ่งวิธีหาลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ โดยให้แต่ละสาขาแฟรนไชส์ซีช่วยแนะนำหรือรวบรวมรายชื่อกลุ่มลูกค้ารายใหม่ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ โดยมีค่าตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซี ยิ่งมีหลายสาขา ครอบคลุมหลายพื้นที่จะยิ่งหาคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้เร็ว ลูกค้ากลุ่มนี้เมื่อไปซื้อหรือใช้บริการร้านสาขา ได้ลองชิม ลองใช้ อาจสนใจซื้อแฟรนไชส์ในภายหลัง 

7. พาร์ทเนอร์ 
 

ให้เจ้าของทำเล เจ้าของพื้นที่ให้เช่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ปั้มน้ำมัน ตลาด สำนักงาน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และอื่นๆ ช่วยหากลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ ปัจจุบันส่วนใหญ่หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะมีทำเลเป้าหมายสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหม่ๆ ให้เลือกร่วมกับเจ้าของพื้นที่ เมื่อมีลูกค้าสนใจเปิดร้านในทำเลนั้น อาจสอบถามค่าเช่าไปที่พาร์ทเนอร์ของเรา หลังจากนั้นให้พาร์ทเนอร์ส่งรายชื่อคนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์กลับมาให้เรา  

8. จ้าง Sale Agency
 

เป็นอีกหนึ่งวิธีหาคนซื้อแฟรนไชส์ แม้จะมีคนช่วยหาลูกค้า มีความสะดวกสบาย แต่มีค่าคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งเอเจนซี่ไม่มีความผูกพันกับแบรนด์แฟรนไชส์ของเรา หาเปอร์เซ็นต์จากการขายอย่างเดียว เมื่อมีการขายให้หลายๆ แบรนด์ อาจไม่ตั้งใจหรือช่วยขายแฟรนไชส์ของเราก็ได้ หรืออาจได้คนซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลเสียหายต่อแบรนด์

9. Grand Opening
 

มีทั้งเปิดสาขาใหม่ของตัวเองและสาขาใหม่ของแฟรนไชส์ซี เป็นอีกวิธีช่วยหาผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี กลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จะมีทั้งญาติ คนสนิท แขกที่เชิญไปร่วมงาน คนทั่วไปที่ใช้บริการวันเปิดสาขา รวมถึงคนที่สัญจรผ่านไปมา เมื่อเห็นร้าน ได้ชิมและลองใช้บริการ รวมถึงได้เห็นความสำเร็จคนในงาน อาจเกิดความสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้      

10. สร้างร้าน Prototype
 

เจ้าของแฟรนไชส์อาจจะต้องหาทำเลในการเปิดร้านที่เป็นแลนด์มาร์ค หรือทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและลูกค้าทั่วไปมาซื้อสินค้า เมื่อลูกค้าเดินผ่านไปมาและได้ใช้บริการอาจมาขอเป็นแฟรนไชส์ก็ได้ 

11. จัดงานแถลงข่าว 
 

เป็นวิธีการหาลูกค้ามาซื้อแฟรนไชส์ ได้รับความนิยมจากหลายๆ แบรนด์ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะการจ้างออแกไนซ์จัดงานแถลงข่าว ถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่อาจไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีเงินทุนหนา แต่ถ้าเป็นบริษัทแฟรนไชส์เล็กๆ หากต้องจ้างออแกไนซ์จัดงานแถลงข่าวถือเป็นการลงทุนที่สูงพอสมควร อาจไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก   

12. ออกรายการทีวี 

 

เป็นอีกหนึ่งวิธีในการคนซื้อแฟรนไชส์ เข้าถึงกลุ่มคนดูได้หลากหลาย แต่อย่าลืมว่าสมัยนี้คนดูทีวีน้อยลง อาจไม่ได้ผลตอบรับที่ดีตามที่คาดหวังเอาไว้ ที่สำคัญการออกรายการทีวีบางครั้ง บางรายการ อาจมีค่าใช้จ่ายสูง หากไม่มีคนดูก็ไม่คุ้มค่า ควรหาช่องทางอื่นๆ ข้างต้นที่ดีกว่าในการสื่อสารไปยังคนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จะมีความคุ้มค่ามากกว่า  

13. Open House


สุดท้ายเมื่อได้รายชื่อคนสนใจซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว เป็นลูกค้าที่ตรงกับธุรกิจแฟรนไชส์มากที่สุด ให้จัดงาน Open House เชิญนักข่าว พาร์เนอร์ และลูกค้าที่มีรายชื่อสนใจซื้อแฟรนไชส์มาร่วมงาน เพื่อแนะนำธุรกิจ สาธิต ทดลอง ตลอดจนรูปแบบการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างใหล้ชิด โดยต้องเตรียมเอกสารนำเสนอแฟรนไชส์ ใบจอง พร้อมกับการปิดการขาย
 
สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีหรือช่องทางไหนในการหาคนซื้อแฟรนไชส์ หากอยากให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเติบโตอย่างมั่นคง มีคนมาต่อคิวซื้อแฟรนไชส์ของคุณมากมาย อย่างแรกสินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ มีระบบตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน มีระบบการบริหารจัดการดี มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญา ที่สำคัญต้องไม่สร้างเงื่อนไขที่เอารัดเอาเปรียบแฟรนไชส์ซี ให้คำแนะนำและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตไปพร้อมกับแฟรนไชส์ซี  
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ยุคนี้ “ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทอง” สัมพันธ์อย่างยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า “ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการรักษาลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า” สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การพัฒนาเป็นระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management โดยมีจุดหมายสำคัญคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ ไม..
10months ago   599  5 นาที
สังคมเปลี่ยน! การตลาดก็ต้องเปลี่ยน! เมื่อก่อนหลักการตลาดแบบ 4P จากแนวคิดของ E. Jerome McCarthy ได้รับความนิยมมาก แต่มาในสมัยนี้ไม่ใช่ ถ้าเรายังจมปลักอยู่กับวิธีเดิมที่มี Product , Price , Place , Promotion เป็นพื้นฐานขอบอกเลยว่าก้าวตามคนอื่นไม่ทันแน่ โดยเฉพาะในยุคที่หลายคนต้องการพัฒนาธุรกิ..
10months ago   918  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,744
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,203
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,769
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,653
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
863
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด