บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
867
2 นาที
17 มกราคม 2567
โบนัสออก ทําอะไรดี? รวมไอเดียใช้เงินโบนัสให้คุ้มค่า
 

ความหวังของมนุษย์เงินเดือนช่วงต้นปีแบบนี้คงหนีไม่พ้น “โบนัส” เพราะนี่คือ “เงินก้อน” ที่สามารถเอามาใช้ต่อยอดให้ชีวิตเดินหน้าได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า “โบนัส” ในแต่ละบริษัทย่อมแตกต่างบางที่จ่ายมาก บางที่จ่ายน้อย ก็เอาเป็นว่าใครที่ได้มากประเภท 3 เดือน 6 เดือนก็โชคดีไป ส่วนใครที่ได้โบนัสน้อยหน่อย ก็ต้องมาคิดอีกทีว่าจะบริหารจัดการเงินที่ได้มาก้อนนี้อย่างไร
 
บริหาร “เงินโบนัส” อย่างไรให้คุ้มค่า?
 

ภาระของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ปัจจัยในการใช้เงินของแต่ละคนก็ย่อมต่างกันด้วย ค่าใช้จ่ายหลักๆที่หลายคนน่าจะมีก็คือค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ค่าเบี้ยประกันชีวิต หนี้บัตรเครดิต เป็นต้น นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือใครที่ไปกู้หนี้ยืมสินทั้งในระบบนอกระบบก็อาจต้องจัดสรรเงิน “โบนัส” มาใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย
 
“โบนัส” บางคนที่ได้มาหักลบกลบหนี้กับรายจ่ายที่ลิสต์มาแล้วบางทีก็ยังไม่พอ แต่อย่างน้อยก็ควรมีบริหารการเงินที่ถูกต้องเพื่อจัดสรรและใช้ประโยชน์จากโบนัสได้อย่างสูงสุดวิธีการง่ายๆ คือจัดสรรเงินโบนัสที่ได้มา แบ่งออกเป็น 3 ก้อนคือ
  1. ปิด โปะ หนี้ ลดดอกเบี้ยสะสม
  2. กระจายลงทุน เพิ่มพูนกำไร
  3. เก็บไว้เผื่อฉุกเฉินในอนาคต
เงินในแต่ละก้อนที่จัดสรรจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้โบนัสมาเท่าไหร่ เหตุผลที่ต้องให้มาจัดสรรแบบนี้ก็เพื่อไม่ให้เงินโบนัสถูกใช้ไปในทางเดียว เงินก้อนนี้ที่เหมือนเป็นรางวัลจากการทำงาน ควรได้กระจายไปในหลายจุดแม้จะไม่แก้ปัญหาในชีวิตให้ดีขึ้นได้ทั้งหมดแต่ก็ควรมีส่วนช่วยลดภาระทางการเงินที่เกิดขึ้นได้บ้าง
 
รวม 7 วิธีใช้เงิน “โบนัส” คุ้มค่าสุดๆ

เมื่อเราได้จัดสรรปันส่วนแยกเงินโบนัสบางส่วนไปใช้หนี้ ก็มีคำถามอีกว่าในส่วนที่จะนำมาใช้ต่อยอดให้เกิดความคุ้มค่ามีอะไรบ้างที่น่าสนใจ เราได้รวบรวมมา 7 วิธีได้แก่

1.เก็บเป็นเงินทุนสำหรับตัวเอง
 

บางคนไม่อยากเสี่ยงไม่กล้าลงทุนเมื่อแบ่งสันปันส่วนเงินโบนัสเรียบร้อย ในส่วนที่เหลือไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็สามารถนำมาเก็บไว้ในบัญชีฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ วิธีนี้อาจให้ผลตอบแทนไม่มากเนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากในยุคนี้ถูกมาก แต่ก็เป็นการันตีให้ตัวเองอุ่นใจว่ามีเงินสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นได้
 
2.ซื้อสลากออมทรัพย์ 
 
ภาพจาก https://bit.ly/3S07PpB

คำแนะนำนำสำหรับการใช้เงินต่อเงินที่มีประสิทธิภาพอีกอย่างที่นิยมคือการซื้อสลากออมทรัพย์ ข้อดีคือความเสี่ยงต่ำ ใช้เงินลงทุนน้อย แต่มีโอกาสถูกรางวัลจากสลากออมทรัพย์ เมื่อครบกำหนดก็สามารถถอนคืนได้เต็มจำนวน ที่นิยมมากที่สุดคือสลากออมทรัพย์ของธนาคารออมสิน , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รวมถึง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ยกตัวอย่าง สลากออมทรัพย์ที่ลงทุนต่ำสุด เช่น ของ ธ.ก.ส." เริ่มต้นหน่วยละ 20 บาท อายุสลาก 2 ปี ครบกำหนดได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี และ ออกรางวัลทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน รางวัลสูงสุดมูลค่า 2 ล้านบาท เป็นต้น
 
3.แบ่งเงินลงทุนในธุรกิจออนไลน์
 
ภาพจาก www.ido4idea.co

ยุคนี้กระแสออนไลน์มาแรง โบนัสที่ได้มาถ้านำมาลงทุนออนไลน์อาจเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่ดี ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนไม่มาก ขึ้นอยู่กับไอเดียในการนำเสนอ มีหลายรูปแบบทั้งการซื้อสินค้ามาจำหน่ายออนไลน์ หรือการลงทุนในแฟรนไชส์ออนไลน์ที่มีหลายแบรนด์ให้เลือก เช่น ไอดูโฟร์ไอเดีย ที่เราสามารถพิมพ์ภาพลงบนวัสดุทั้งจาน แก้ว เสื้อยืด ฯลฯ แล้วขายได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ หรือจะเลือกลงทุนกับ แฟรนไชส์นายหน้าออนไลน์ ที่ผู้ลงทุนมีหน้าที่โปรโมทเว็บให้คนสนใจเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการก็สามารถหักส่วนต่างกว่า 50% เป็นรายได้ของเราในทันที
 
4.ซื้อกองทุนรวมหรือหุ้น 
 

สำหรับคนที่ยังไม่เคยลงทุนมาก่อน อาจเริ่มต้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ แต่หากเคยลงทุนมาแล้ว สามารถลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ การลงทุนในกองทุนที่คนนิยมกันมากก็เช่น กองทุนรวม SSF และ กองทุนรวม RMF แต่อย่างไรก็ดีการลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ โดยปัจจุบันมีโบรคเกอร์และเจ้าหน้าที่ในแต่ละธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำเราเป็นอย่างดี
 
5.แบ่งไปต่อยอดความรู้
 

วิธีใช้เงินโบนัสที่คุ้มค่าในระยะยาวคือการลงทุนต่อยอดความรู้หรืออาจจะเป็นการลงเวิร์คชอปเพิ่มความรู้สั้น ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเอง และนำมาต่อยอดในเรื่องงานได้ เช่น การไปลงคอร์สที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำงาน และอัปเดตเทรนด์โลกที่เกี่ยวกับธุรกิจ คอร์สภาษาต่าง ๆ เพื่อใช้เพิ่มทักษะในการทำงาน และความรู้ที่เราเพิ่มเติมอาจเป็นช่องทางให้นำไปใช้สร้างรายได้ในอนาคตได้ด้วย
 
6.ลงทุนกับการดูแลสุขภาพ
 

ไม่ว่าจะมีเงินแค่ไหนแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องสุขภาพของตัวเองเป็นสำคัญด้วย ดังนั้นการลงทุนที่คุ้มค่าอีกแบบคือการดูแลสุขภาพ เราสามารถบริหารเงินโบนัสมาสมัครคอร์สฟิตเนส , ตรวจร่างกายประจำปี , ซื้ออาหารเสริมบำรุงสุขภาพ , การเข้าสปา รวมถึงอาจลงทุนซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ที่อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันให้เรามั่นใจว่า โบนัสก้อนนี้ที่ได้มาจะไม่ต้องนำไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลเพราะเจ็บป่วย
 
7.ลงทุนแฟรนไชส์ที่เริ่มต้นได้ทันที
 

ภาพจาก www.facebook.com/torbeefgrill

สำหรับบางคนเมื่อบริหารจัดการโบนัสที่ได้เสร็จแล้วอาจมีเงินบางส่วนที่เหลือหากไม่อยากนำไปเก็บไว้เฉยๆ อาจนำมาต่อยอดกับแฟรนไชส์ที่ราคาไม่สูงมาก แต่เริ่มขายได้ทันทีเช่น ต.เนื้อย่าง ลงทุนเริ่ม 3,000 บาท , ธงไชย ผัดไทย ลงทุนเริ่ม 9,000 บาท , อู้ฟู่ลูกชิ้นปลาเยาวราช ลงทุนเริ่ม 2,990 บาท , ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด ลงทุนเริ่ม 3,000 บาท , ซูโม่ลูกชิ้นปลาระเบิด ลงทุนเริ่ม 2,490 บาท หรือ โชกุนสเต็ก ลงทุนแค่ 19,900 บาท เป็นต้น
 
ทั้งนี้เงินโบนัสเป็นเงินก้อนที่ได้ส่วนใหญ่ปีละครั้ง การบริหารเงินก้อนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนมีคุณภาพชีวิตที่ได้ได้ในระดับหนึ่ง การจัดสรรปันส่วนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน น่าจะเป็นวิธีการใช้เงินโบนัสที่คุ้มค่าที่สุดในยุคนี้
 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก www.thaifranchisecenter.com/seminar/franchise_course.php 
 
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก www.thaifranchisecenter.com/trademark/ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด