บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
914
2 นาที
29 มีนาคม 2567
แท้จริง! คน Introvert คุยไม่เก่ง แต่สำเร็จเร็ว ต้องเป็นคนแบบไหนถึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ?
 

นักจิตวิทยาได้จัดแบ่งบุคลิกลักษณะของคนออกเป็นหลายประเภทและหลายทฤษฎี นิยามที่ใช้บ่อยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 
  • Introvert (เก็บตัว) 
  • Extrovert (ชอบเข้าสังคม) 
  • Ambivert (ผสมผสานระหว่าง Introvert + Extrovert )
ถ้าประเมินจากความรู้สึกส่วนใหญ่จะบอกว่ากลุ่ม “Extrovert” น่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่!
 
กลุ่ม Introvert ที่ใครก็มองว่าคนกลุ่มนี้ไม่ชอบเข้าสังคม มีโลกส่วนตัวสูง รู้สึกเก้อเขินทุกครั้งที่อยู่กับคนหมู่มาก เก็บตนเองเงียบ และขี้อาย กลับเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด
 
 
ลองมาสำรวจตัวเองกันสักนิดว่าตอนนี้เราเป็นกลุ่ม Introvert หรือเปล่า?
  • ชอบใช้เวลาอยู่กับตนเองเมื่อมีเวลาว่าง และรู้สึกมีความสุขมากกว่าการออกไปพบปะสังสรรค์กับผู้คน
  • เมื่อต้องเข้าสังคม จะรู้สึกเหนื่อย หมดแรง และต้องการพักผ่อน ต้องการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง
  • บุคลิกภาพเงียบขรึม ชอบทบทวนความคิดของตัวเองบ่อยๆ 
  • ชอบอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆมากกว่าอยู่ท่ามกลางคนกลุ่มใหญ่
ซึ่งข้อดีของ Introvert มักจะแก้ปัญหาหรือเรียนรู้ได้ดีกว่าเมื่ออยู่กับตัวเอง และการเป็นคนพูดน้อย ก็เท่ากับว่าเปิดโอกาสในการเป็นผู้ฟังที่ดีมากขึ้น และยังมีอีกหลายข้อดีที่น่าสนใจเช่น
  • โฟกัสและความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบลึกๆได้ดี
  • คิดเยอะก่อนที่จะพูดอะไรออกมา
  • ชอบเขียนมากกว่าพูดและบางส่วนชอบการจัดบันทึกหรือการโน้ตสิ่งสำคัญๆเพื่อให้จำได้
  • มีทักษะการค้นคว้าการหาข้อมูลที่มากเป็นพิเศษ
  • มีความใจเย็น นิ่ง ในสถานการณ์ยากลำบาก
ด้วยคุณสมบัติของคนกลุ่ม Introvert ที่กล่าวมานี้หากนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในแง่ของการทำธุรกิจที่คนกลุ่ม Introvert ได้เปรียบมาก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น 
 
1.บุคลิกภาพมีความน่าเชื่อถือสูง
 

การทำธุรกิจย่อมสัมพันธ์กับการขาย ด้วยบุคลิกของคนกลุ่ม Introvert ที่มีความสุขุม พูดจามีหลักการและเหตุผล มีความน่าเชื่อถือที่สำคัญนิยมการฟังมากกว่าการพูด ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือยิ่งเฉพาะการเจรจาธุรกิจในระดับผู้บริหารจะยิ่งได้เปรียบมาก หรือแม้แต่การนำเสนอสินค้าใดๆ ก็มักจะทำให้คนฟังรู้สึกเชื่อถือและคล้อยตามได้
 
2.เป็นนักปรึกษาที่ดี
 

ในยุคที่ลูกค้ามีโอกาสเลือกสินค้าได้มากขึ้น ย่อมต้องการสินค้าที่ตัวเองประทับใจ ซึ่งกลุ่ม Introvert ตอบโจทย์ความรู้สึกนี้ได้ดี ด้วยบุคลิกที่ฟังมากกว่าพูด พร้อมรับฟังปัญหาของลูกค้ามากกว่าที่จะเสนอขายสินค้า หลายครั้งที่ลูกค้าเปิดใจคุยกับคนที่เป็นกลุ่ม Introvert แล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกว่าเขาไม่ได้ยัดเยียดการขายมาให้ แต่สุดท้ายคน Introvert กลับเสนอวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างตรงจุดถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการขายที่น่าสนใจมาก
 
3.ปิดการขายได้อย่างทรงพลัง
 

คำว่าทรงพลังในที่นี้มาจากบุคลิกของ Introvert ที่ไม่หวั่นเกรงแม้จะเป็นการเผชิญหน้าแบบ 1:1 ซึ่งการรู้จักคิดวิเคราะห์และตอบโต้ในทุกคำถามได้อย่างเฉียบคม จึงเป็นบุคลิกที่จะได้ใจลูกค้ามากกว่ากลุ่ม Extrovert ที่บางครั้งอาจจะคึกมากเกินไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในแง่ของการขาย Introvert จึงน่าจะทำได้ดีกว่า
 
สำหรับอาชีพที่เหมาะคนกลุ่ม Introvert คือ อาชีพที่ใช้ความคิด และไม่ต้องพบปะผู้คนเยอะๆ เช่น นักเขียน, นักวิจัย, ที่ปรึกษา, ล่าม ,นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, โปรแกรมเมอร์ , กราฟฟิกดีไซ, สถาปนิก เป็นต้น

แต่ก็ใช่ว่าหากเป็นอาชีพอื่นแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะหากมองในแง่ของการทำธุรกิจมีบุคคลระดับโลกที่เรารู้จักกันดีซึ่งอยู่ในกลุ่ม Introvert นี้ด้วย เช่น Warren Buffet  , Mark Zuckerbuft  , Steve Job , Bill gate , Amancio Ortega (เจ้าของแบรนด์ ZARA)  และแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนในกลุ่ม Introvert เช่นกัน
 
มีอีกหลายความคิดที่ตีความคำว่า Introvert ดูจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียแต่ในความเป็นจริงบุคลิกภาพแบบ Introvert ถ้ามีเยอะเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนในกลุ่ม Extrovert ดังนั้นการรักษาสมดุลชีวิตไม่ให้สิ่งใดมากเกินไปจึงน่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด