บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
276
2 นาที
26 มิถุนายน 2567
เช็คตัวเอง ด่วน! Slippery Slope ไหลลื่นแบบคนล้มเหลว


มีผลการวิจัยระบุว่าอัตราความผิดพลาดล้มเหลวที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 15% ของการทำงานแต่ละครั้ง ซึ่งความผิดพลาดระดับนี้จะเปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้ดีที่สุด โดยไม่รู้สึกว่ายากหรือง่ายจนเกินไป
 
แต่ในความเป็นจริงกลับมีคนบางกลุ่มที่คิดย้อนแย้งยิ่งกว่า และกลัวความผิดพลาดมากไปจนพาชีวิตไปสู่ความล้มเหลว ทั้งที่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรแบบจริงจังสักครั้งเดียว
 
 
คนกลุ่มนี้จะมีวิธีคิดที่เรียกว่า “Slippery Slope” แปลตรงๆก็คือ ทางลาดชันลื่น โดยเป็นการเปรียบเทียบการนำเหตุผลจากเหตุการณ์แรกไปสู่เหตุการณ์ต่อ ๆ ไป จนถึงข้อสรุปสุดท้ายที่ห่างไกลจากเหตุผลแรกอย่างมาก หรือจะเรียกว่าอีกอย่างว่าเป็น “ตรรกะวิบัติ (Fallcy)” อธิบายง่ายๆ คือ “คิดเอง เออเอง” ใช้ความคิดแบบมโนไปเรื่อยๆ เช่น ถ้าเราลงทุนแฟรนไชส์อันนี้ เราจะต้องเสียเงินก้อนโต เราจะมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง เราต้องทำงานมากขึ้น เราอาจกลายเป็นหนี้มากขึ้น ครอบครัวก็จะไม่มีเงินพอใช้จ่าย ดังนั้นเราจึงไม่ควรซื้อแฟรนไชส์นี้เด็ดขาด เป็นต้น
 
ที่ร้ายยิ่งกว่าคือคนแบบ Slippery Slope มักคิดว่าตัวเองเป็นคนมองการณ์ไกล เป็นคนมีเหตุผล เป็นคนรอบคอบ ชอบการป้องกันดีกว่าต้องมาแก้ไข แต่ความจริงแล้วมันไม่ต่างอะไรจากคนมองโลกในแง่ร้าย มองทุกอย่างเป็นสีดำคนละขั้วกับคนที่คิดวางแผนอย่างเป็นระบบ ที่จะวิเคราะห์ทั้งกรณีดีที่สุดไปจนถึงแย่ที่สุด 
 
 
ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะลงทุนแฟรนไชส์ใดสักแบรนด์ จะมีการแจกแจงข้อมูลให้เห็นภาพทั้ง Worst Scenario ,Standard Scenario และ Best Scenario นั้นคือข้อมูลภาพรวมว่าในกรณีที่ขายได้ปกติ , ขายได้ดีที่สุด หรือขายได้แย่ที่สุดจะมีโอกาสคืนทุนต้องใช้เวลานานแค่ไหน แต่ในมุมของ Slippery Slope จะมองข้าม Standard Scenario และ Best Scenario และจะมองเห็นแต่ Worst Scenario เท่านั้น สุดท้ายก็ไม่ได้ลงมือทำอะไรใหม่ มัวแต่กลัวและคิดเพ้อเจ้อไปต่างๆ นาๆ ชีวิตก็ไม่มีอะไรก้าวหน้า และนำพาชีวิตจมสู่ความล้มเหลวได้ในที่สุด
 
ตรงกันข้ามในมุมของคนที่ชีวิตพร้อมจะประสบความสำเร็จต้องเริ่มจากการมี mindset ที่ดี ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า curiosity หรือความช่างสงสัย คือคุณสมบัติสำคัญที่นำชีวิตสู่ความสำเร็จได้สิ่งเหล่านี้ทุกคนสามารถฝึกได้โดยเริ่มจาก
  • พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยความถ่อมตน (humility)
  • ฝึกยอมรับข้อผิดพลาด รู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร และกล้าที่จะยอมรับผิดชอบโดยไม่แก้ตัว
  • ฝึกฟังอย่างตั้งใจ เปิดรับคำวิจารณ์จากผู้อื่นแล้วฟังอย่างตั้งใจ
  • รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ ไม่ต้องกลัวที่จะบอกว่าเราไม่รู้และต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมจากคนที่รู้มากกว่า
  • ฝึกตัวเองให้มี growth mindset หรือแนวคิดที่เชื่อว่าคนเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้
  • ปรับมุมมองต่อความล้มเหลว ให้คิดซะว่าความล้มเหลวทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
  • เชื่อมั่นว่าเรายังทำไม่ได้ ‘แค่ตอนนี้’ ตอนนี้ยังทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ตลอดไป

ภาพจาก https://elements.envato.com

ไม่ใช่แค่ในเรื่องของการลงทุนเท่านั้นแม้แต่ในองค์กรก็ควรฝึกให้บุคลากรปราศจากแนวคิดแบบ Slippery Slope เพื่อเพิ่มโอกาสให้องค์กรพัฒนาได้อย่างสูงสุด สิ่งที่ผู้บริหารหรือหัวหน้างานควรมีคือการมองประสิทธิภาพของลูกน้องให้เข้าใจ ไม่ใช่มองแบบ Slippery Slope ที่เห็นแต่แง่ลบ คิดแต่ว่าเขาไม่มีทางทำได้ สิ่งที่ต้องยอมรับอันดับแรกคือแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่าง ถ้าไม่ใช่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือร้ายแรงเกินไป ก็ควรมองข้ามในพฤติกรรมเหล่านั้น ไม่ใช่อคติอยู่ฝ่ายเดียว

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด