บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
363
2 นาที
7 สิงหาคม 2567
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนูใหม่ เพิ่มยอดขาย สร้าง Awareness 
 

หนึ่งในกรณีศึกษาของแบรนด์ในออกแคมเปญการทำตลาด จนสามารถสร้างกระแสได้เป็นอย่างดี นั่นคือ "เบอร์เกอร์คิง" ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในการทำการตลาดแต่ละครั้งมาจากปัจจัยอะไร ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์มีข้อมูลจากการพูดคุยกับ "คุณตุลย์-ชนินทร์ นาคะรัตนากร" Digital Marketing Manager of Burger King มาเล่าให้เข้าใจแบบง่ายๆ 
 
จาก Data Insights สู่ Value for money
 

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand

กลยุทธ์การตลาดของเบอร์เกอร์คิงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คือ การใช้ Data-driven Marketing เพื่อสร้างการจดจำในแบรนด์เบอร์เกอร์คิง และทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก ต่อจากนั้นนำ Data Insights ที่เก็บรวบรวมมาจากผู้บริโภคคนไทย คู่แข่ง เทรนด์การตลาด ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหาร รสชาติ กระแส พัฒนาเมนูใหม่ๆ ทั้งไก่ทอดหาดใหญ่ เบอร์เกอร์ และเมนูข้าวต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ให้มาใช้บริการถี่ขึ้น 
 
อย่างเช่นกรณีเมนู "ไก่ทอดหาดใหญ่" ได้เปิดตัวไปเมื่อกลางปี 2566 ซึ่งถือว่าเบอร์เกอร์คิงเป็นแบรนด์ในกลุ่มฟาสต์ฟู้ดเจ้าแรกในไทยที่ทำเมนูไก่ทอดไม่เหมือนใคร หลังเปิดตัวทำยอดขายเพิ่มขึ้นในหมวดไก่ทอดถึง 20% ดึงฐานกลุ่มลูกค้าเก่าและใหม่ที่ชอบไก่ทอดหาดใหญ่ และคนไม่ชอบเบอร์เกอร์อยู่แล้วมาใช้บริการเพิ่มขึ้น 10% 
 
จากการทำการตลาดแบบ Data-driven ยังช่วยให้เบอร์เกอร์คิงรู้ข้อมูลในเชิงลึกว่า ผู้บริโภคคนไทยชอบ "หอมเจียว" เอามากๆ ทำให้เบอร์เกอร์คิงต้องเพิ่มปริมาณหอมเจียวเยอะๆ ถึง 3 เท่าตามความต้องการของผู้บริโภค ลูกค้ายังสามารถซื้อหอมเจียมเพิ่มได้ อีกทั้งยังเพิ่มซอสแจ่วที่ลูกค้าชื่นชอบ ขายราคา 149 บาท สามารถตอบโจทย์เทรนด์การตลาดแบบ Value for money ได้เป็นอย่างดี เพราะแม้ว่าราคาจะเพิ่มนิดหน่อย แต่ลูกค้ายินดีที่จะจ่าย เพราะคุ้มค่า คุ้มราคา 
 

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand
 
นอกจากใช้ Data-driven พัฒนาเมนูใหม่อย่าง "ไก่ทอดหาดใหญ่" และซอสแจ่วแล้ว เบอร์เกอร์คิงยังไม่ลืมให้ความสำคัญกับ Core Product นั่นคือเบอร์เกอร์ มีการออกเมนู "เบอร์เกอร์ซอสหมูกระทะ" มาจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่ชอบทานหมูกระทะ ถือเป็นอีก Core Product ที่ได้รับความนิยมจนเป็นกระแสได้อย่างดี
 
เดินหน้ากลยุทธ์ Branding + value for money
 

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand

สำหรับกลยุทธ์การตลาดของเบอร์เกอร์คิงต่อจากนี้ไปจนถึงช่วงปี 2505 ยังคงเน้นเรื่อง Branding ผสมผสานกับ value for money สร้างกระแสให้เกิดขึ้นกับแบรนด์ตลอดเวลา ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์เบอร์เกอร์คิงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกระแสตลอดเวลา จดจำได้ง่าย มีการออกเมนูใหม่ที่มีรสชาติ Localize ออกมาเรื่อยๆ เพื่อให้คนไทยรู้สึกว่าเป็นเมนูที่มีรสชาติคุ้นเคย อยากลิ้มลอง เมื่อดึงลูกค้ากลุ่มนี้เข้ามาใช้บริการได้ จะมีการทำการตลาดแบบ value for money ลดราคา เพื่อให้ลูกค้าที่มากินเมนู Localize ได้กินเมนูหลักๆ ของเบอร์เกอร์คิงมากขึ้น โดยที่ให้คูปองส่วนลดกับลูกค้ากลุ่มนี้ 
 
นอกจากนี้ยังมีการทำ CRM โดยให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านทำการลงทะเบียนผ่านแอปฯ จะทำให้รู้ข้อมูลว่าลูกค้าแต่ละคนชอบทานอะไร จะได้ออกเมนู หรือทำแคมเปญการตลาดได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพิ่มยอดขาย เพิ่มจำนวนลูกค้า เพิ่มจำนวนความถี่ของลูกค้าที่เข้ามาเป็นลูกค้าของเบอร์เกอร์คิง
 
การตลาดไม่ “จริงใจ-โปร่งใส” อยู่ยาก 
 

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand

คุณตุลย์-ชนินทร์ พูดช่วงท้ายด้วยว่า การทำการตลาดในอนาคตจะยากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่าลูกค้าสามารถเข้าสู่ข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นการทำการตลาดแบบไม่จริงใจ ก็อาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป ทุกๆ อย่างต้องโปร่งใส ไม่ต้องหมกเม็ด ถ้ามีอะไรที่ควรจะบอกลูกค้าก็ควรจะบอกเลย ไม่ควรที่จะให้เขามาเจอที่ร้าน ทำให้เกิดผลด้านลบตามมา 
 
“การตลาดต้องโปร่งใสขึ้น แต่ต้องมีความพิเศษมากขึ้น และต้องรวดเร็วมากขึ้น เพราะฉะนั้นการทำการตลาดต้องยากขึ้นอยู่แล้ว เพราะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ และต้องแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดด้วย” 
 
การตลาดไม่จำเป็นต้องเร็ว! ต้อง Right Timing ถูกช่วง ถูกเวลา
 

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand

คุณตุลย์-ชนินทร์ ยังเผยเทคนิคการทำการตลาดให้ชนะคู่แข่ง ต้องรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ก็อาจจะชนะมากกว่า 50% เราไม่ใช่แค่รู้ข้อมูลทุกอย่างภายในองค์กร ต้องรู้ความเป็นไปเป็นมาของคู่แข่งด้วย รู้ว่าตอนนี้เขาทำโปรโมชั่นอะไร หรือเขาออกเมนูอะไรอยู่ ตอนนี้ลูกค้ากินอะไรในร้านคู่แข่ง เราต้องสังเกตลูกค้าคู่แข่งด้วย เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมลูกค้าคู่แข่งถึงไม่เข้ามาในร้านเรา จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด
 
“การทำการตลาดไม่จำเป็นต้องเร็วที่สุด แต่ต้อง Right Timing ที่สุด เพราะบางทีออกแคมเปญการตลาดเร็วเกินไป ลูกค้าอาจไม่เข้าใจก็ได้ เช่น สมมติเบอร์เกอร์คิงออกเมนูที่เป็น แพลนต์ เบส (Plant based) เป็นเจ้าแรก แต่ลูกค้าในเมืองไทยอาจไม่เข้าใจก็ได้ ต่อมามีเจ้าอื่นออกเมนู Plant based ตามมา แต่บังเอิญเป็นช่วงที่ลูกค้าให้ความสนใจพอดี เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง เพราะฉะนั้นเจ้านี้อาจประสบความสำเร็จมากกว่าเจ้าแรกๆ ก็ได้ ดังนั้น การออกแคมเปญการตลาด หรือการ Launch เมนูใดๆ ไม่จำเป็นต้องเร็วที่สุด แต่ต้องถูกช่วง ถูกเวลาที่ตลาดและผู้บริโภคต้องการมากที่สุด”
 
นั่นกลยุทธ์การตลาดและการใช้ Data-driven Marketing อย่างชาญลาดของ “เบอร์เกอร์คิง” จนสามารถสร้างกระแสและแคมเปญที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ทั้งออกเมนูใหม่ เพิ่มยอดขาย และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้ยั่งยืน

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
แค่ใส่ใจ ใช้ให้เป็น Data-Driven Marketing อาวุธล..
2,359
ผู้กำกับ งานหด...สู่ครีเอเตอร์ TikTok ปั้นคอนเทน..
2,184
เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น! ทุบธุรกิจไทย เจ๊งแล้ว เจ๊..
1,251
จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven
920
ร้านอาหารไทย หมดแรง กำลังซื้อหด ต้นทุนสูง ปิดตัว..
903
พลิกโฉม! 5 เทคนิค ทำธุรกิจแนวญี่ปุ่น ไม่เคยบอกใคร
848
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด