บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
555
2 นาที
19 สิงหาคม 2567
เทรนด์ตลาดครึ่งปีหลัง 2024 คนรายได้น้อย “ขายของดี แค่ตอนจัดโปร”
 

เป็นความจริงที่เจ็บปวดแต่ก็ต้องยอมรับและทนสู้ชีวิตกันต่อไป
 
สถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่เจอตอนนี้คือรายได้น้อย รายจ่ายมาก ไม่ต้องคิดเรื่องเงินออม แค่ให้รอดไปแต่ละเดือนก็แย่แล้ว
 
ดูที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน = 29,502 บาท 
 
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน = 24,362 บาท 
 
เท่ากับว่าคนไทยตอนนี้ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายมากกว่า 80% ของรายได้ต่อเดือน
 
 
ที่มาของรายจ่ายก็แตกต่างกันไปตามแต่ละครอบครัวหลักๆ คือ ค่าอุปโภคบริโภค , ค่าที่อยู่อาศัย , เครื่องใช้ภายในบ้าน , ค่ายานพาหนะและการเดินทาง , ชำระหนี้ต่างๆ เป็นต้น
 
ดังนั้นเทรนด์การตลาดในครึ่งปีหลัง 2024 ก็เป็นโจทย์ที่บรรดาร้านค้า หรือคนทำธุรกิจต้องคิดให้หนักว่าจะขายแบบไหนอย่างไร ให้อยู่รอดในยุคนี้
 
ยิ่งบรรดามีคู่แข่งจากทุนจีนที่เข้ามาร่วมแชร์ส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับเปิดศึกรอบด้านทั้งคู่แข่งทางธุรกิจและกำลังซื้อที่ลดน้อยลงชัดเจน แต่มองในอีกมุมหนึ่งที่เป็นผลดีต่อลูกค้าคือเมื่อมี การแข่งขันสูง ย่อมนำมาซึ่ง “ทางเลือก” ที่มากขึ้น 
 
และเทรนด์การเลือกซื้อสินค้านับแต่นี้คนส่วนใหญ่จะเน้นที่ความคุ้มค่า คุ้มราคา โอกาสยึดติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งถาวรลดน้อยลง ความเป็น Brand Loyalty จะหายไปเยอะมาก 
 
ลองไปดูปัจจัยน่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าว่าต่อไปนี้จะดูที่อะไร
  • 30% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแบรนด์สินค้าเมื่อมีโปรโมชั่น หรือส่วนลดพิเศษ
  • 28% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปซื้อร้านค้าที่ให้ส่วนลดพิเศษที่ดีที่สุด
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าในพฤติกรรมลูกค้าในครึ่งปีหลังปี 2024 จะเน้นที่ Value for money ซึ่งไม่ใช่แค่การจัดโปรโมชั่น หรือส่วนลดพิเศษเท่านั้นหากแต่ลูกค้าต้องการความรู้สึกคุ้มค่าร่วมด้วย และสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของแบรนด์ในการสร้างยอดขายได้ดีที่สุด
 
 
แต่ก็อย่าลืมว่าในมุมของผู้ประกอบการเอง ก็ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลายด้านไม่ต่างจากลูกค้า เท่ากับว่าถ้ามาแข่งกันจัดโปรเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างเดียว แทนที่จะแก้ปัญหาได้อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาในระยะยาวมากกว่า
 
วิธีการหนึ่งที่น่าสนใจคือ “Economies of Scale” หรือการลดต้นทุนต่อหน่วย เพื่อเอาส่วนต่างไปเพิ่มในกำไรที่มากขึ้น
 
กรณีนี้มีตัวอย่างน่าสนใจคือ ซุปเปอร์ชีป ที่โตจากโชห่วยเล็กๆ สู่ห้างค้าปลักอันดับ 1 ในภูเก็ต รายได้รวมแตะหมื่นล้านบาท และมีสาขากว่า 50 แห่งใน 4 จังหวัดภาคใต้ กลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้คือ การตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อกดราคาสินค้าขายให้ถูกที่สุด เช่น รูปแบบร้านบางแห่งไม่มีการติดแอร์ ลักษณะเป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่คล้ายโกดังเก็บสินค้า แต่ก็มีร้านที่ขายในรูปแบบมินิมาร์ทร่วมด้วย ก็เป็นทางเลือกให้กับลูกค้าในทุกความต้องการ

ภาพจาก https://bit.ly/4dtcBWa
 
ซึ่งเป็นการตลาดที่เรียกว่า Shrinkflation ที่มีความน่าสนใจเนื่องจากไม่ใช่แค่ลดราคา แต่ยังเพิ่มภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดุมีมูลค่า จึงควรนำมาใช้ในครึ่งปีหลังอย่างมาก รวมถึงการที่สินค้า “แตกไลน์” เพื่อให้มีตัวเลือกกับผู้บริโภคที่มากขึ้นก็เป็นอีกวิธีสร้างรายได้ แต่สินค้าใหม่นี้ต้องตั้งราคาให้พอเหมาะ ขนาดสินค้ามีความเหมาะสมกับราคา โดยผลสำรวจบอกว่า 89% ของผู้บริโภคเปิดรับแบรนด์ใหม่ และสินค้าใหม่ ที่น่าสนใจมากกว่า
 
ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ผู้ประกอบการต้องสู้ในหลายปัจจัยเพื่อให้อยู่รอด มีคำกล่าวว่าธุรกิจในยุคนี้จะหากำไรที่ละมากๆเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แค่เอาตัวให้รอดได้ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว ก็ต้องมาดูว่าท่ามกลางวิกฤติที่มากมายจะมีปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้ธุรกิจลืมตาอ้าปากได้บ้าง หรือจะหวังพึ่งมาตรการรัฐอย่างดิจิทัลวอลเลต ที่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะกระตุ้นกำลังซื้อให้ดีขึ้นแค่ไหน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
887
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
559
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด