บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
4.8K
2 นาที
15 เมษายน 2558
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศกัมพูชา
 


กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์ มีเพียง The Law on Commercial Enterprises ที่มีบทบัญญัติบางส่วนครอบคลุมถึงธุรกิจแฟรนไชส์ในลักษณะของการประกอบธุรกิจทั่วไปในประเทศกัมพูชา อาทิ การประกอบธุรกิจของธุรกิจต่างชาติที่สามารถกระทำได้โดยผ่านรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ อันได้แก่ สำนักงานผู้แทนทางการค้า สำนักงานสาขา หรือบริษัทสาขา

ทั้งนี้ สำนักงานผู้แทนทางการค้าและสำนักงานสาขามีสถานะเป็นตัวแทนให้แก่บริษัทต่างชาติที่เป็นตัวการและไม่มีสถานะเป็นบุคคลทางกฎหมายแยกต่างหากจากตัวการของตนเอง (Article 271 of the Law on Commercial Enterprises) นอกจากนี้ กฎหมายฉบับได้กำหนดขอบเขตกิจกรรมต่างๆ ภายในประเทศกัมพูชาของแต่ละรูปแบบธุรกิจต่างชาติที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา


ภาพจาก bit.ly/37oYPSg

ข้อกฎหมายอีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ การทำธุรกิจในประเทศกัมพูชาจะต้องมีป้ายชื่อสถานประกอบการเป็นภาษาเขมร ซึ่งต้องเป็นชื่อภาษาเขมรที่เขียนขึ้นจากการเลียนเสียงของชื่อภาษาต่างประเทศ และสามารถกำกับชื่อภาษาต่างประเทศได้แต่ตัวอักษรต้องมีขนาดเล็กกว่าและตำแหน่งการจัดวางต้องอยู่ใต้ชื่อภาษาเขมร การแปลชื่อจากภาษาต่างชาติมาเป็นภาษาเขมรหรือจากภาษาเขมรไปเป็นภาษาต่างชาตินั้นเป็นการต้องห้าม (Article 5 of the Law on Commercial Enterprises) เหมือนดังเช่นหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ชาวต่างชาติและธุรกิจต่างชาติมิอาจเข้ามาถือครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศกัมพูชาได้ ซึ่งหลักการนี้ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญของ

ประเทศเลยทีเดียว (Article 44 of the Constitution) หากธุรกิจต่างชาติประสงค์ที่จะถือครองหรือมีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินในประเทศกัมพูชาอาจพิจารณาจัดตั้งนิติบุคคลที่มีสัญชาติกัมพูชาในการประกอบธุรกิจโดยมีหุ้นส่วนที่มีเสียงข้างมากเป็นชาวกัมพูชา (51%) หรือการพิจารณาทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวจากชาวกัมพูชาเนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดหรือห้ามอัตราขั้นสูงสุดของอายุสัญญาเช่าที่ดินไว้สำหรับที่ดินของเอกชน

และอาจกำหนดให้สามารถโอน ขายหรือเปลี่ยนมือสิทธิการเช่าระยะยาวดังกล่าวนั้นได้ในสัญญาเช่า สำหรับที่ดินของรัฐนั้นสามารถทำการเช่าระยะยาวได้ไม่เกิน 40 ปี แต่สามารถขยายระยะเวลาเช่าต่อไปได้ภายหลังสิ้นระยะเวลาดังกล่าว (แต่ความไม่แน่นอนและปัจจัยแทรกแซงบางอย่างก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น เมื่อสัญญาเช่าสิ้นอายุลง สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าดังกล่าวอาจตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าในทันที เช่นนี้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับประเด็นดังกล่าวในสัญญาเช่าจึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาเข้าทำสัญญาและลงทุน)


ภาพจาก bit.ly/2YVdBeG
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

1. กฎหมายเครื่องหมายการค้า

กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศกัมพูชา ได้แก่
  • Declaration No. 368 dated 15 December 1997
  • Law on Marks, Trade Names and Acts of Unfair Competition dated 7 February 2003
  • Prakas on the Procedures for the Registration and Protection of Marks of Goods which include a Geographical Indication, Ministry of Commerce No. 105 MOC/SM 2009 dated 18 May 2009
ระบบการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของประเทศกัมพูชานั้นเป็นระบบจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนดังเช่นประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีสมาชิก World Trade Organization โดยมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี ซึ่งต้องดำเนินการต่ออายุเครื่องหมายภายในหกเดือนก่อนหมดอายุ หรือภายในหกเดือนหลังจากหมดอายุ (ซึ่งในกรณีหลังนี้จะต้องชำระค่าปรับสำหรับการต่ออายุล่าช้า) (Article 12 of Law on Marks, Trade Names and Acts of Unfair Competition) ทั้งนี้ การยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่จะได้รับจดทะเบียนนั้นจะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะและไม่เป็นการต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของประเทศอื่นๆ หากผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างชาติจะต้องดำเนินการยื่นผ่านตัวแทนซึ่งมีถิ่นที่อยู่และประกอบการอยู่ในประเทศกัมพูชา


ภาพจาก bit.ly/2I3Y31v

ข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งภายใต้กฎหมายการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศกัมพูชาคือ การอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจะต้องกำหนดมาตรการการควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพต่อผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธินั้นและผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิต้องดำเนินการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวอย่างจริงจัง มิฉะนั้น จะส่งผลให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่สมบูรณ์ (Article 19 of Law on Marks, Trade Names and Acts of Unfair Competition) แต่เป็นที่น่าแปลกที่กฎหมายมิได้กำหนดว่าเหตุเช่นว่านั้นจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการจดทะเบียนหรือไม่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ Intellectual Property Division Ministry of Commerce 20 A-B Norodom Blvd., Phnom Penh Tel.: 855 23 36 68 75, 16 87 08 09 Fax: 855 23 42 63 96, 23 36 31 40

E-mail : ipd@moc.gov.kh

2. กฎหมายความลับทางการค้า

ในปัจจุบัน ประเทศกัมพูชายังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับความลับทางการค้าบังคับใช้โดยตรง ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณายกร่างกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญของการบัญญัติหน้าที่ในการรักษาความลับและบทกำหนดโทษในกรณีที่มีการเปิดเผยความลับทางการค้า

ดังนั้น การบังคับในเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญารักษาความลับเป็นหลัก (Non-Disclosure Agreement) ระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย อาทิ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง เป็นต้น หากสัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายกัมพูชา The Contract Law (1988) ก็จะมีผลบังคับใช้ต่อสัญญาเช่นว่านั้น นอกจากนี้ ในบางประเด็นที่เป็นความลับทางการค้ายังอยู่ภายใต้กฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวข้อง เช่น
  • เรื่องงบการเงินของบริษัท The Law on Commercial Enterprises ห้ามการประกาศโฆษณางบการเงินโดยปราศจากอำนาจ
  • The Law on Audit (2000) กำหนดหน้าที่การรักษาความลับของผู้ตรวจสอบบัญชี
  • The Law on Banking and Financial Institutions (1999) ห้ามการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับทางบัญชีหรือเอกสารการจัดการบางประเภท
  • The Law on the Bar (1995) กำหนดหน้าที่การรักษาความลับของลูกความโดยทนายความที่รับผิดชอบในคดี

ภาพจาก bit.ly/30PHbod
 
อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ประเทศมาเลเซียมีการตรากฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการ เฉพาะ คือ พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ ค.ศ.1998..
116months ago   5,818  13 นาที
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าก็เป็นอีกประเทศหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ ไม่มีการตรากฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกัน กับอีกหลายประเทศ..
109months ago   5,459  7 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,674
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,785
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด