บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
4.7K
2 นาที
19 พฤษภาคม 2558
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศลาว
 


กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ประเทศลาวก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรง ทั้งยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเหมือนดังเช่นประเทศสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ที่มิได้หมายความว่าการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาวจะไม่มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์อื่นมาควบคุม กฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายเครื่องหมายทางการค้าและกฎหมายความลับทางการค้า) เป็นหลัก ซึ่งเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรงแต่ยังมีกฎหมายภายในอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถบังคับใช้ได้โดยมิจำต้องมีกฎหมายเฉพาะเจาะจงโดยตรง

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ภาพจาก bit.ly/30LBR5j

กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศลาว ได้แก่
  • Decree of the Prime Minister on Trademark Registration No. 06/PM ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538
  • Intellectual Property Laws ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2551เป็นไปตามResolution of the National Assembly of the Lao People’s Democratic Republicon the Approval of the Intellectual Property Law ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2550
ระบบการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของประเทศลาวนั้นเป็นระบบจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนดังเช่นประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีสมาชิก World Trade Organization โดยมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอและสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี (Article 11 of Decree No. 06/PM)

ภาพจาก bit.ly/3ayZAtW

ทั้งนี้ จะต้องยื่นคำขอต่ออายุภายในหกเดือนก่อนวันหมดอายุ สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศลาวคือ เครื่องหมายการค้า (ซึ่งรวมถึงเครื่องหมายบริการด้วย) และเครื่องหมายร่วม (Articles 2, 4 and 9 of Decree No. 06/PM) อันมีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว (Section 16 of Intellectual Property Laws)

และไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย อาทิ เครื่องหมายที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือนโยบายของรัฐ เครื่องหมายที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นต้น (Article 12 of Decree No. 06/PM) นอกจากนี้ ตาม Section 16 of Intellectual Property Laws ยังให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง

แพร่หลาย (Well-known Trademark) โดยไม่คำนึงถึงว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะได้จดทะเบียนไว้แล้วในประเทศลาวหรือไม่ก็ตาม ทั้งยังไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นใดผู้มิเจ้าของที่แท้จริงของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว (ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติลาวหรือต่างชาติ) ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนหรือใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้านั้น


ภาพจาก bit.ly/2sOyMVt

หน่วยงานที่รับผิดชอบ Department of Intellectual Property, Standardization and Metrology Science, Technology and Environment Agency P.O. Box 2279, Vientiane Tel: 856 2121 3470 Fax: 856 2121 3472

E-mail: ism-dept@steno.gov.la
Website: www.stea.la.wipo.net

กฎหมายความลับทางการค้า ในปัจจุบัน ประเทศลาวยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้าบังคับใช้แยกต่างหาก แต่จะบัญญัติไว้รวมกันใน Intellectual Property Laws เนื่องจากความลับทางการค้าเป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางปัญญา Section 3(18) ของ Intellectual Property Laws ได้กำหนดคำนิยามของ “ความลับทางการค้า” ไว้ว่าหมายถึง “ข้อมูลที่มิได้เป็นที่รู้ประจักษ์แจ้งหรือมิได้ใช้เป็นการทั่วไป เช่น สูตร วิธีการผลิต หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถใช้ในการดำเนินธุรกิจซึ่งนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของเหนือกว่าคู่แข่งทางการค้า” และมีข้อยกเว้นตาม Section 3(18) ของ Intellectual Property Laws

ซึ่งระบุว่าข้อมูลที่ประกอบด้วยความลับของบุคคล การปกป้องการบริหารรัฐกิจ การปกป้องรัฐ ความสงบสุขและข้อมูลความลับที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายฉบับนี้ สำหรับระยะเวลาในการคุ้มครองนั้นมีลักษณะเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองความลับทางการค้า ซึ่งก็คือ ความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองตลอดไปตราบเท่าที่ความลับทางการค้าดังกล่าวยังมิได้ถูกเปิดเผย (Section 52 of Intellectual Property Laws)

นอกเหนือไปจากการคุ้มครองภายใต้กฎหมาย แฟรนไชส์ซอร์ควรคำนึงถึงการคุ้มครองความลับทางการค้าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาสำหรับการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญด้วย

ภาพจาก bit.ly/2TVYpia

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ประเทศมาเลเซียมีการตรากฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการ เฉพาะ คือ พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ ค.ศ.1998..
117months ago   5,823  13 นาที
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าก็เป็นอีกประเทศหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ ไม่มีการตรากฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกัน กับอีกหลายประเทศ..
110months ago   5,486  7 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,701
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด