บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
5.8K
5 นาที
8 มกราคม 2558
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศมาเลเซีย



กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
  • ความหมายของแฟรนไชส์ประเทศมาเลเซียมีการตรากฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ ค.ศ. 1998 (Franchise Act 1998) ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ ค.ศ. 2012 (Franchise (Amendment) Act 2012) โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติแฟรนไชส์ของประเทศมาเลเซียมีดังนี้ Franchise Act 1998 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย Franchise (Amendment) Act 2012 ได้ให้คำนิยามของแฟรนไชส์ไว้ในมาตรา 4 ดังนี้ “แฟรนไชส์ หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงไม่ว่าจะแสดงโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยไม่ว่าจะกระทำโดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรระหว่างบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น โดย
    • แฟรนไชส์ซอร์ให้สิทธิแก่แฟรนไชส์ซีในการดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบแฟรนไชส์ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยแฟรนไชส์ซอร์
    • แฟรนไชส์ซอร์ให้แฟรนไชส์ซีมีสิทธิใช้เครื่องหมายหรือเครื่องหมายทางการค้าหรือข้อมูลที่เป็นความลับหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ซอร์ และรวมถึงกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์มีสิทธิในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นโดยอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้
    • แฟรนไชส์ซอร์ครอบครองสิทธิในการควบคุมการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่องตลอดอายุสัญญา และ
    • เพื่อเป็นการตอบแทนการให้สิทธิ แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นให้แก่แฟรนไชส์ซอร์”

ภาพจาก bit.ly/2sPbxuq
  • การเปิดเผยข้อมูลมาตรา 15 แห่ง Franchise Act 1998 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย Franchise (Amendment) Act 2012 กำหนดให้แฟรนไชส์ซอร์ต้องส่งสำเนาสัญญาแฟรนไชส์และเอกสารเปิดเผยข้อมูลรวมทั้งเอกสารเปิดเผยข้อมูลที่มีการแก้ไขซึ่งนายทะเบียนอนุมัติแล้วตามมาตรา 11 ให้แก่แฟรนไชส์ซีล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน ก่อนที่แฟรนไชส์จะลงนามในสัญญา หรือหลังจากเอกสารเปิดเผยข้อมูลได้รับอนุมัติโดยนายทะเบียนตามมาตรา 11 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดเหมือนกันกับที่นำมาจดทะเบียนกับนายทะเบียนตามมาตรา 7 หากว่าแฟรนไชส์ซอร์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ถือว่ากระทำความผิด นอกจากนี้ มาตรา 21 ยังได้กำหนดให้เอกสารเปิดเผยข้อมูลจะต้องประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม แฟรนไชส์หรือค่าแห่งสิทธิด้วย
     
  • การจดทะเบียน แฟรนไชส์ซอร์ต้องจดทะเบียนแฟรนไชส์ของตนกับนายทะเบียนก่อนที่จะทำการเสนอขายแฟรนไชส์ให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขในการรับจดทะเบียนได้ คำร้องขอจดทะเบียนแฟรนไชส์ ต้องเป็นไปตามแบบฟอร์มซึ่งประกอบด้วย
    1. เอกสารการเปิดเผยข้อมูลที่สมบูรณ์
    2. ตัวอย่างสัญญาแฟรนไชส์
    3. คู่มือการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
    4. คู่มือการฝึกอบรมแฟรนไชส์
    5. สำเนารายงานการตรวจสอบบัญชีครั้งล่าสุด รายงานงบการเงิน งบดุลที่ผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้อำนวยการเป็นผู้แจ้ง
    6. เอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ตามที่นายทะเบียนกำหนด เช่น หนังสือรับรองบริษัท บัญชีงบดุลครั้งล่าสุด และผลกำไรขาดทุนของบริษัท เอกสารเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัท รายชื่อของกรรมการหรือบุคคลที่มีตำแหน่งสำคัญในบริษัท เป็นต้น
เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องขอจดทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 17 แล้ว นายทะเบียนจะอนุญาตหรืออนุญาตโดยมีเงื่อนไขตามที่นายทะเบียนกำหนด หรือไม่อนุญาตตามคำร้องขอก็ได้โดยทำมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ร้องขอ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุญาตนั้น นายทะเบียนจะต้องให้เหตุผลประกอบด้วย ถ้านายทะเบียนอนุญาตตามคำร้องขอ การจดทะเบียนจะมีผลในวันที่นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ร้องขอ และจะมีผลเรื่อยไป

ภาพจาก bit.ly/2RHibeK

จนกระทั่งนายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้ร้องขอหรือแฟรนไชส์ซอร์ว่า ยกเลิก ระงับ ห้าม หรือปฏิเสธการขายแฟรนไชส์หรือการจดทะเบียนแฟรนไชส์ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ การจดทะเบียนแฟรนไชส์มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
  1. การจดทะเบียนของนายหน้าแฟรนไชส์ (Franchise broker)
  2. กรณีแฟรนไชส์ซอร์ประสงค์จะขายแฟรนไชส์ให้คนต่างด้าว (บุคคลซึ่งมิใช่พลเมืองมาเลเซีย)
  3. กรณีแฟรนไชส์ซอร์ซึ่งเป็นต่างด้าวประสงค์จะขายแฟรนไซส์ในมาเลเซีย
  • แบบของสัญญาแฟรนไชส์ มาตรา 18 แห่ง Franchise Act 1998 กำหนดให้สัญญาแฟรนไซส์ต้องทำเป็นหนังสือ และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลใช้บังคับ
    • ชื่อและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์และรูปแบบของการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
    • สิทธิในขอบเขตพื้นที่ซึ่งแฟรนไชส์ซีได้รับอนุญาต
    • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียมการโฆษณา ค่าแห่งสิทธิ หรือค่าตอบแทนอื่นใดที่เกี่ยวกับข้อกำหนดของแฟรนไชส์ซี (ถ้ามี)
    • หนี้ของแฟรนไชส์ซอร์
    • หนี้ของแฟรนไชส์ซี
    • สิทธิของแฟรนไชส์ซีในการใช้เครื่องหมายการค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดที่ยังมิได้จดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนแฟรนไชส์แล้ว
    • เงื่อนไขที่แฟรนไชส์มีหน้าที่ภายใต้การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
    • ข้อกำหนดในเรื่อง cooling of period กล่าวคือ เงื่อนไขที่กำหนดโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในการให้สิทธิแก่แฟรนไชส์ซีในการบอกเลิกสัญญา โดยจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ และหากมีค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกสัญญา แฟรนไชส์ซอร์อาจหักลบกับค่าธรรมเนียมแรกเข้าได้ (ถ้ามี) และหากเหลือต้องคืนให้แก่แฟรนไชส์ซี
    • รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นเจ้าของหรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
    • กรณีที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับมาสเตอร์แฟรนไชส์จะต้องระบุสิทธิที่มาสเตอร์แฟรนไชส์ได้รับจากแฟรนไชส์ด้วย
    • ชนิดและรายละเอียดของความช่วยเหลือที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด
    • ระยะเวลาของสัญญาแฟรนไชส์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญา และผลของการเลิกสัญญา
       
  • สิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา สัญญาแฟรนไชส์ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน เช่น แฟรนไชส์ซอร์ต้องให้ความช่วยเหลือแก่แฟรนไชส์ซีในการประกอบธุรกิจ กรณีที่แฟรนไชส์ซีผิดสัญญา แฟรนไชส์ซอร์ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการผิดสัญญาไปยังแฟรนไชส์ซีเพื่อให้แฟรนไชส์ซีแก้ไขความผิดพลาดนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์เลิกสัญญาก่อนครบเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเว้นแต่จะมีเหตุจำเป็น แฟรนไชส์ซีจะต้องรับรองเป็นหนังสือว่าแฟรนไชส์ซีและลูกจ้างจะไม่ประกอบธุรกิจซึ่งคล้ายกับธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์และภายใน 2 ปี หลังจากสัญญาสิ้นสุดหรือเลิกสัญญา และแฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์หรือจ่ายค่าตอบแทนอื่นใดตามที่กำหนดในสัญญา เป็นต้น
     
  • คณะกรรมการที่ปรึกษาแฟรนไชส์ Franchise Act 1998 กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า Franchise Advisory Board มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีและนายทะเบียนในเรื่องเกี่ยวกับแฟรนไชส์และการบังคับใช้แฟรนไชส์ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการมาจากการแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ จำนวน 15 คน
     
  • บทกำหนดโทษ Franchise Act 1998 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย Franchise (Amendment) Act 2012 มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติหรือกระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดโดยแยกเป็นสองกรณี กรณีที่ผู้ที่กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล หากเป็นการกระทำความผิดเป็นครั้งแรกจะมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 10,000 ริงกิต แต่ไม่เกิน 50,000 ริงกิต หากเป็นการกระทำความผิดครั้งที่สองหรือครั้งถัดไปจะมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 20,000 ริงกิต แต่ไม่เกิน 100,000 ริงกิต ส่วนกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล หากเป็นการกระทำความผิดเป็นครั้งแรกจะมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 5,000 ริงกิต แต่ไม่เกิน 25,000 ริงกิต หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

    หากเป็นการกระทำความผิดครั้งที่สองหรือครั้งถัดไปจะมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 10,000 ริงกิต แต่ไม่เกิน 50,000 ริงกิต หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี

    นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษในกรณีอื่นอีก อย่างไรก็ดี กรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแต่ก่อนที่จะมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของพนักงานอัยการอาจมีการประนีประนอมยอมความตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ โดยมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดให้จ่ายเงินค่าปรับให้แก่นายทะเบียนเป็นจำนวนไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนค่าปรับสูงสุดของการกระทำความผิดภายในเวลาที่กำหนด

    โดยเงินดังกล่าวจะถูกส่งเข้า Federal Consolidated Fund โดยจะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด แต่หากไม่มีการจ่ายเงินภายในกำหนดเวลานายทะเบียนอาจอนุญาตให้มีการดำเนินคดีสำหรับความผิดนั้นได้

ภาพจาก bit.ly/36mPHfF
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศมาเลเซีย มีดังนี้

กฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2537 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2540 เครื่องหมายการค้าที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศมาเลยเซียจะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนภายในประเทศมาเลเซีย สำหรับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้านั้น

ประเทศมาเลเซียใช้หลักการผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า (First to Use Principle) กล่าวคือ ผู้ใดใช้เครื่องหมายการค้านั้นก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นและมีสิทธิที่จะยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น นอกจากนี้ เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนนั้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งอายุของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจะมีอายุ 10 ปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสามารถต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี

กรณีที่ยื่นต่ออายุล่าช้าสามารถกระทำได้โดยต้องเสียค่าปรับการต่ออายุล่าช้าในส่วนของการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นสามารถทำได้โดยจะต้องบันทึกการอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวต่อสำนักเครื่องหมายการค้า ทั้งนี้ การใช้โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิถือเป็นการใช้ของเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนด้วย การกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า ได้แก่ การใช้เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น

โดยเป็นการใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายการค้า หรือเป็นการใช้กับสินค้า หรือสื่อสิ่งพิมพ์หรือโฆษณา ที่สามารถสื่อถึงหรือทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนั้น หรือเป็นการใช้กับสถานที่หรือใกล้กับสถานที่ที่มีการให้บริการ หรือใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์หรือโฆษณา ที่สามารถสื่อถึงหรือทำให้เข้าใจได้ว่าบริการดังกล่าวเป็นของเจ้าของเครื่องหมายบริการจดทะเบียนนั้นกรณีที่มีการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนสามารถใช้มาตรการเยียวยาทางแพ่งและทางอาญาได้

ภาพจาก bit.ly/2NUqLpq

โดยในการดำเนินคดีแพ่งกับผู้กระทำละเมิดเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องต่อศาลสูง (High Court) ภายในระยะเวลา 6 ปีนับแต่วันที่ทราบถึงการละเมิดนั้น ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดระงับการกระทำที่ถือเป็นการละเมิด หรือมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดส่งมอบ ทำลาย หรือแก้ไขดัดแปลงสินค้าละเมิด หรือมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของเครื่องหมายการค้า

นอกจากการเยียวยาในทางแพ่ง เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถดำเนินคดีอาญากับผู้ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีทั้งโทษปรับและจำคุกหรือทั้งปรับทั้งจำ ขึ้นอยู่กับประเภทของความผิด โดยผ่านทางกองบังคับใช้สิทธิ (Enforcement Division) กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade and Industry)

ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการป้องปรามการละเมิด ยึดสินค้าละเมิด ตลอดจนถึงการดำเนินคดีกับผู้กระทำละเมิด ทั้งนี้ การดำเนินคดีโดยผ่านทางกองบังคับใช้สิทธิจะมีความรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อยสำหรับโทษของละเมิดเครื่องหมายการค้าโดยทั่วไปคือ ปรับไม่เกิน 100,000 เหรียญมาเลเซีย หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี ในกรณีของบุคคลธรรมดา และปรับไม่เกิน 250,000 เหรียญมาเลเซีย ในกรณีของนิติบุคคล โทษปรับดังกล่าวเหล่านี้อาจเพิ่มเป็นสองเท่าได้หากมีการละเมิดหรือฝ่าฝืนเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ

หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศมาเลเซียคือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค (Intellectual Property Division, Ministry of Domestic Trade & Consumer Affairs) Intellectual Property Division Ministry of Domestic Trade and Consumer Affairs 32nd Floor, Menara Dayabumi Jalan Sultan Hishamuddin 50623 Kuala Lumpur Tel.: (603) 22.74.21.00, 22.74.35.81 Fax: (603) 22.74.13.32, 22.74.52.60
E-mail: wzismail@kpdnhq.gov.my

ภาพจาก bit.ly/37nl6Qz

กฎหมายว่าด้วยความลับทางการค้า กฎหมายที่ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ กฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) และพระราชบัญญัติแฟรนไชส์ พ.ศ. 2531 (Franchise Act) ความลับทางการค้านั้นย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน และจะได้รับความคุ้มครองตราบที่ยังไม่สูญเสียความเป็นความลับ

ความลับทางการค้า ได้แก่ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นความลับอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลที่เป็นความลับและเปิดเผยต่อผู้รับข้อมูลภายใต้พันธกรณีว่าต้องเก็บไว้เป็นความลับ กรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการนำความลับทางการค้าไปเปิดเผยอันเป็นละเมิดหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับ หรือการนำความลับทางการค้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการใช้ความลับโดยผิดกฎหมาย เจ้าของความลับทางการค้าย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยทางแพ่ง กล่าวคือ ค่าชดเชยต่อการละเมิดสัญญาหรือได้รับการเยียวยาทางศาล โดยเจ้าของความลับทางการค้ามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายและเรียกให้ผู้เปิดเผยหรือนำความลับทางการค้านั้นไปใช้ประโยชน์ชำระราคาได้

สำหรับมาตรการในทางอาญานั้นไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ ผู้ถูกละเมิดสามารถดำเนินคดีทางแพ่งได้เท่านั้น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของความลับทางการค้า คือ การรักษาให้ความลับทางการค้านั้นยังคงเป็นความลับอยู่ โดยวิธีการรักษาสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้าสามารถทำได้โดยการทำข้อตกลงความลับทางการค้า (Confidentiality Agreements) การจำกัดจำนวนผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะผู้ที่จำเป็น

หรือการควบคุมการกระจายข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของผู้รับข้อมูล ลูกจ้างของผู้รับข้อมูลหรือบุคคลภายนอก แม้เจ้าของความลับทางการค้าจะสามารถโอนสิทธิในความลับทางการค้าให้แก่บุคคลอื่นหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิได้ภายใต้กฎหมาย Common Law แต่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ กรณีของความลับทางการค้าที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติแฟรนไชส์นั้น พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ฯ ได้กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตสัญญาเฟรนไชน์ได้ให้หลักประกันเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Guarantee) แก่ผู้ให้อนุญาตว่าตนเองและลูกจ้างของตนจะไม่เปิดเผยความลับทางการค้าต่อบุคคลใดในระหว่างที่สัญญาเฟรนไชน์มีผลบังคับอยู่หรือภายใน 2 ปีหลังจากสัญญาสิ้นสุดลง

หากมีการฝ่าฝืนหลักประกันดังกล่าวจะต้องได้รับโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 50,000 ริงกิตสำหรับการกระทำความผิดครั้งแรก สำหรับการกระทำความผิดครั้งที่สอง จะได้รับโทษปรับไม่น้อยกว่า 10,000 ริงกิต หรือจำคุกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาพจากbit.ly/2RJMsJY

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์ มีเพียง The Law on Commercial Enterprises ที่มีบทบัญญัติบางส่วนครอบคลุมถึงธุรกิจแฟรนไชส์ในลักษณะของการประกอบธุรกิจ ทั่วไปในประเทศกัมพูชา..
113months ago   4,795  5 นาที
ประเทศลาวก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรง ทั้งยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเหมือนดังเช่นประเทศสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ที่มิได้หมายความว่าการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาวจะไม่มีข้อกำหนด กฎเกณฑ์อื่นมาควบคุม กฎหมายท..
111months ago   4,667  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,162
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,428
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,896
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,225
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด