บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
5.2K
4 นาที
14 สิงหาคม 2558
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศสิงคโปร์
 

กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ประเทศสิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรง ทั้งยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศสิงคโปร์ แต่มิได้หมายความว่าการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศสิงคโปร์จะไม่มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์อื่นมาควบคุม

แฟรนไชส์ซอร์ที่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจในประเทศสิงคโปร์จะต้องระมัดระวังในการทำสัญญาแฟรนไชส์ในประเด็นเรื่องการแข่งขันทางการค้า (กล่าวคือ สัญญาแฟรนไชส์ต้องไม่ก่อให้เกิดการจำกัดหรือบิดเบือนการแข่งขันทางการค้า) ข้อกำหนดอันไม่เป็นธรรม (อาทิ การจำกัดความรับผิดหรือข้อยกเว้นความรับผิดในกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่)

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายเครื่องหมายทางการค้าและกฎหมายความลับทางการค้า) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรงแต่ยังมีกฎหมายภายในอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถบังคับใช้ได้โดยมิจำต้องมีกฎหมายเฉพาะเจาะจงโดยตรง สำหรับประเด็นเรื่องกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาแฟรนไชส์นั้น


ภาพจาก bit.ly/2upt4tE

ศาลของประเทศสิงคโปร์เปิดช่องให้อิสระแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย (แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี) ในการเจรจาตกลงที่จะกำหนดว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สัญญาของตน 1) รูปแบบธุรกิจที่สามารถจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์สามารถเลือกที่จะจัดตั้งธุรกิจของตนในรูปแบบต่างๆ ในประเทศสิงคโปร์ได้ ดังนี้
  • ห้างที่มีหุ้นส่วนเพียงรายเดียว (Sole Proprietorship)
  • ห้างหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด (Partnership) ค. ห้างหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด (Limited Liability Partnership) ง. บริษัทจำกัด (Company)
ชาวต่างชาติที่มิได้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศสิงคโปร์แต่ประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศสิงคโปร์จะต้องยื่นขอใบอนุญาตการจ้างงาน (Employment Pass) ตามข้อกำหนดการเข้าเมืองของประเทศสิงคโปร์ก่อนอันดับแรก เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะสามารถนำไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจต่อ Accounting & Corporate Regulatory Authority หรือ ACRA45 ได้


ภาพจาก bit.ly/2tINmhQ
 
กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

กฎหมายภายในสำคัญที่อาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้
  • Business Registration Act, Chapter 32
  • Companies Act, Chapter 50
  • Limited Liability Partnership Act, Chapter 163A
  • Trade Marks Act, Chapter 332
  • Labour/Employment Law
  • Real Estate Law
  • Competition Act, Chapter 50B
กฎหมายภายในที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์
1) กฎหมายนิติกรรมสัญญา


ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงให้กฎหมายประเทศสิงคโปร์บังคับใช้กับสัญญา หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายศาลจะพิจารณาประเด็นแห่งคดีตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ใช้กฎหมายระบบ Common Law ซึ่งแนวคำพิพากษาของศาลสิงคโปร์จะมีผลต่อการพิจารณาคดีในคดีถัดมา หลักสำคัญประการหนึ่งตามแนวคำพิพากษาของศาลสิงคโปร์คือ หากแฟรนไชส์ซอร์ผิดสัญญาในการจัดเตรียมรายละเอียดสำคัญที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์นั้น

แฟรนไชส์ซีมีสิทธิบอกเลิกสัญญา เช่น คดี The Best Source Restaurant v. Wan Chai Capital Holdings Pte Ltd.6 แฟรนไชส์ซอร์ผิดสัญญาไม่จัดเตรียมสูตรปรุงอาหารสำหรับรายการอาหารหลายประเภทที่มีอยู่ในรายการอาหารของร้าน ศาลตัดสินว่า รายละเอียดต่างๆ ของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทนั้นและวิธีการดำเนินธุรกิจที่สมบูรณ์

ภาพจาก bit.ly/2RIIwJl

เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในการเข้าทำความตกลงสัญญาแฟรนไชส์ เช่นนี้ การบอกเลิกสัญญาจึงชอบด้วยกฎหมายและแฟรนไชส์ซอร์ยังต้องชดใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่แฟรนไชส์ซี นอกจากนี้ ตาม Contracts (Rights of Third Parties) Act (Cap 53B) ได้กำหนดให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกในการบังคับสัญญาได้โดยตรง หากเข้าองค์ประกอบของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งส่งผลให้บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาสามารถเข้ามามีสิทธิในสัญญาได้

ในทางปฏิบัติของสัญญาธุรกิจที่กำหนดให้ใช้กฎหมายสิงคโปร์เป็นกฎหมายใช้บังคับแห่งสัญญามักจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าให้ยกเว้นการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากการเข้ามามีสิทธิตามสัญญาของบุคคลภายนอกอาจก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายของสัญญาแฟรนไชส์

2) กฎหมายแข่งขันทางการค้า Competition Act (Cap 50B)

มีเนื้อหาที่เคร่งครัดและส่งผลต่อการกระทำต่างๆ อันเป็นการต่อต้านการแข่งขันทางการค้า การปกป้องการแข่งขันทางการค้าที่มิชอบด้วยกฎหมาย การจำกัดหรือการบิดเบือนการแข่งขันทางการค้า พระราชบัญญัติฉบับนี้ห้ามการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายหลักๆ อยู่สามประการ ได้แก่

ก. ข้อตกลง การตัดสินใจ และการปฏิบัติที่เป็นการต่อต้านการแข่งขันทางการค้า (มาตรา 34) อันก่อให้เกิดการปกป้อง การจำกัด หรือการบิดเบือนการแข่งขันทางการค้าภายในประเทศสิงคโปร์ หากการกระทำดังกล่าวมีลักษณะประการใดประการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. การกระทำดังกล่าวเป็นการกำหนดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งราคาขายหรือราคาซื้อ หรือเงื่อนไขทางการค้าอื่นใด
  2. จำกัดหรือควบคุมการผลิต ตลาด การพัฒนาทางเทคนิค หรือการลงทุน
  3. เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาด หรือแหล่งวัตถุดิบ
  4. กำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกันสำหรับธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับคู่สัญญาทางการค้าอื่นๆ ซึ่งทำให้คู่สัญญาอื่นเหล่านั้นได้รับผลกระทบในการแข่งขันในตลาด หรือ
  5. เข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับข้อผูกพันเพิ่มเติมของคู่สัญญารายอื่นๆ ซึ่งโดยลักษณะหรือตามประโยชน์ทางการค้านั้นมิได้เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของสัญญาดังกล่าวแต่ประการใด
ภาพจาก bit.ly/2NPxyk0

ข. การใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ (มาตรา 47) อันมีลักษณะประการใดประการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. การกระทำที่มีลักษณะขจัดคู่แข่งขันทางการค้ารายอื่น
  2. การจำกัดการผลิต ตลาด หรือการพัฒนาทางเทคนิค ซึ่งกระทบต่อผู้บริโภค
  3. กำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกันสำหรับธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับคู่สัญญาทางการค้าอื่นๆ ซึ่งทำให้คู่สัญญาอื่นเหล่านั้นได้รับผลกระทบในการแข่งขันในตลาด หรือ
  4. เข้าทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับข้อผูกพันเพิ่มเติมของคู่สัญญารายอื่นๆ ซึ่งโดยลักษณะหรือตามประโยชน์ทางการค้านั้นมิได้เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของสัญญาดังกล่าวแต่ประการใด
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ามาตรา 34 และ 47 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 แต่มีผลบังคับย้อนหลัง ค. การควบและรวมกิจการซึ่งส่งผลให้มีการลดการแข่งขันทางการค้าอย่างมาก (มาตรา 54)

3) กฎหมายเครื่องหมายการค้า

กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่
  • Trade Marks Act (Chapter 332)
  • Trade Marks (International Registration) Rules
  • Trade Marks (Border Enforcement Measures) Rules
  • Trade Marks Rules (Chapter 332, Section 108)
  • Application of Section 75 of Trade Marks Act to Commonwealth Countries -
  • Trade Marks (Application of Section 75 to Foreign States) Notification
ระบบการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นระบบจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนดังเช่นประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีสมาชิก World Trade Organization

โดยมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอและสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี การยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องยื่นต่อสำนักทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมาย (เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายร่วม และเครื่องหมายรับรอง) ที่จะได้รับจดทะเบียนนั้นจะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะและไม่เป็นการต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของประเทศอื่นๆ

อาทิ ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ไม่เป็นรูปร่างรูปทรงของวัตถุต้องห้าม ไม่ประกอบด้วยเครื่องหมายหรือสิ่งบ่งชี้ที่กลายเป็นสิ่งสามัญในภาษาปัจจุบัน เป็นต้น ในกรณีที่มีการกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า เจ้าของสิทธิหรือผู้ทรงสิทธิสามารถดำเนินคดีได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ Intellectual Property Office of Singapore (IPOS) 51 Bras Basah Road #04-01 Plaza by the Park, Singapore 189554 Tel: (65) 63.30.27.20 Fax: (65) 63.39.02.52

ภาพจาก bit.ly/2NPCQvS

Website: http://www.ipos.gov.sg

4) กฎหมายความลับทางการค้า

ความลับทางการค้าเป็นข้อมูลอันมีมูลค่าทางการค้าที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและมิได้แพร่หลายเป็นที่รู้จัดของสาธารณชน ในประเทศสิงคโปร์ ความลับทางการค้าได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์

ซึ่งไม่มีระบบการจดทะเบียนและไม่มีกำหนดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครอง หากมีการกระทำละเมิดต่อข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้า คู่ความที่ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกข้อมูลที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นความลับทางการค้า แนวทางของศาลสิงคโปร์ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดเป็นความลับทางการค้าคือ
  • ต้องเป็นข้อมูลที่เป็นความลับของธุรกิจหรือบริษัท
  • หากมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นการทำผิดข้อสัญญาในเรื่องของความลับ และ/หรือ (ค) มีการใช้ข้อมูลนั้นในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอันก่อให้เกิดความเสียหายทางการเงินแก่ธุรกิจหรือบริษัท
ในคดี Swiss Butchery Pte Ltd v Huber Ernst7 วางหลักไว้ว่า การที่จะคุ้มครองธุรกิจจากการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับโดยลูกจ้างเก่า นายจ้างควรระบุข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องไว้ในสัญญาจ้างแรงงานด้วย นอกจากนี้ ศาลสิงคโปร์ในคดี Tang Siew Choy and others v Certact Pte Ltd8

7 Swiss Butchery Pte Ltd v Huber Ernst [2010] SGHC (April 27, 2010) 8 Tang Siew Choy and others v Certact Pte Ltd [1993] SGCA 35, [1993] 1 SLR 835 ตัดสินว่ารายชื่อลูกค้าได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นความลับทางการค้า

5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ Franchising and Licensing Authority หรือ FLA

เป็นหน่วยงานด้านแฟรนไชส์ของประเทศสิงคโปร์แต่มิได้เป็นหน่วยงานราชการ โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อจัดการดูแลและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศ บริษัทต่างๆ สามารถเลือกที่จะเข้าเป็นสมาชิกของ FLA ได้ หากบริษัทใดประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิก บริษัทนั้นจะต้องปฏิบัติตามกฎจริยธรรมขององค์กร (Code of Ethics)

ภาพจาก bit.ly/2TQp7sA

โดยมีคณะกรรมการบริหารของ FLA คอยกำกับดูแล เนื้อหาของกฎจริยธรรมประกอบด้วยบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการทำการตลาดในเชิงหลอกลวง ข้อบังคับการลงทุน การเปิดเผยข้อมูล คำแนะนำทางกฎหมาย สัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ซี ข้อจำกัดการใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น การเลือกแฟรนไชส์ซีอย่างเหมาะสม การฝึกอบรม แนวทางการประกอบธุรกิจ ความสามารถในการเข้าถึงของแฟรนไชส์ซอร์ การโอนธุรกิจแฟรนไชส์ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติ หนังสือแจ้งการผิดสัญญาและระยะเวลาการเยียวยาความเสียหาย การบอกเลิกสัญญาและการระงับข้อพิพาท

ทั้งนี้ หลักสำคัญประการหนึ่งของกฎจริยธรรมคือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลที่ควรจะประกอบด้วยรายละเอียดของการดำเนินการปัจจุบัน การลงทุน บันทึกการปฏิบัติตามสัญญา และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซี เช่น บัญชีงบดุล และรายละเอียดกำไรขาดทุน เป็นต้น

6) วิธีพิจารณาการระงับข้อพิพาท

โดยปกติแล้วการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ในประเทศสิงคโปร์สามารถยื่นได้ต่อศาลแพ่ง ทั้งนี้ การพิจารณาว่าจะยื่นคดีต่อศาลใดจะดูจากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท หากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินกว่า 60,000 เหรียญสิงคโปร์ จะต้องยื่นต่อศาลแขวง (Magistrate Courts) จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่าง 60,000-250,000 เหรียญสิงคโปร์ จะต้องยื่นต่อศาลจังหวัด (District Courts) และจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 250,000 เหรียญสิงคโปร์ จะต้องยื่นต่อศาลสูง (High Court)

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์ มีเพียง The Law on Commercial Enterprises ที่มีบทบัญญัติบางส่วนครอบคลุมถึงธุรกิจแฟรนไชส์ในลักษณะของการประกอบธุรกิจ ทั่วไปในประเทศกัมพูชา..
113months ago   4,800  5 นาที
ประเทศลาวก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรง ทั้งยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเหมือนดังเช่นประเทศสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ที่มิได้หมายความว่าการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาวจะไม่มีข้อกำหนด กฎเกณฑ์อื่นมาควบคุม กฎหมายท..
112months ago   4,679  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด